กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ลงพี้นที่ร่วมเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดตรัง30 ตุลาคม 2563
30
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง “กลุ่มอาชีพสวนยางพารา” วันที่30ตุลาคม2563 เวลา13.00-16.00น. ณ ห้องประชุมอบต.ห้วยยอด
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อสรุปบทเรียนและสังเคราะห์ความรู้พื้นที่การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) 2)ร่วมติดตาม ให้คำปรึกษา สนับสนุนการทำงานของทีมนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม(csd) ในกระบวนการถอดบทเรียนในพื้นที่ต้นแบบ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ..22...คน ประกอบด้วย 1.อสอช.,อสม. จำนวน 8 คน 2.กลุ่มอาชีพสวนยางพารา จำนวน 7คน 3.คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดตรัง จำนวน 4คน 4.คณะทำงานโครงการระดับเขต (core team) จำนวน 3คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ)
1.คณะทำงานพี่เลี้ยงcsd จังหวัดตรัง ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย ได้ร่วมซักถามแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินโครงการฯกลุ่มอาชีพสวนยางพารา จากการสรุปกระบวนการถอดบทเรียนดังนี้
1.1.ที่มาของโครงการฯ มีการดำเนินโครงการโดยรองปลัดสุภารัตน์ เขียนโครงการขอทุน มีการให้ตัวแทน อสม.เก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพสวนยางพารา ประมาณ 200คน จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบจากการกรีดยาง พบว่า ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีการออกแบบกิจกรรมในโครงการฯ เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาโดยการอบรมโยคะให้กับแกนนำ อสม. (ครูก.) ซึ่ง อสม.ที่เข้าร่วมโครงการก็เป็นผู้ประกอบอาชีพทำสวนยาง กรีดยาง อยู่แล้ว การออกกำลังกายแบบโยคะ เพื่อให้แกนนำมีการทำกับตนเองก่อน และนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่และทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มอาชีพสมาชิกในชุมชนตนเอง มีสมาชิกที่ทำต่อเนื่อง จำนวน 20คน และมีการปรับใช้ท่าโยคะ มาใช้ในการยืดเหยียด คลายการปวดเมื่อยใน3ท่า คือท่างู ท่าแมวและท่าเต่า จากเดิมที่วิทยากรอบรมไว้ 10ท่าในการออกกำลังกาย 1.2.ปัจจัยเอื้อที่ทำให้โครงการฯมีความสำเร็จ เกิดจากอสม.ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ท้องถิ่นให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญในงานอาชีวอนามัย การป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงแรงงานนอกระบบที่เป็นกลุ่มกรีดยาง
1.3.ปัจจัยที่เป็นผลกระทบเชิงลบ ขาดการมีส่วนร่วมของ รพ.สต.ในพื้นที่ 1.4โอกาสการพัฒนา
1. การเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล และทีมอสอช.
2.สร้างทีมทำงาน ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย ทีมเก็บข้อมูล ทีมประเมินผล ทีมวิทยากรสอนโยคะ และทีมประชาสัมพันธ์
3.ปฎิบัติการ ร่วมกับการประเมินผล สร้างคณะทำงานในระดับพื้นที่ที่พร้อมเป็นแกนนำในด้านการประเมินผล การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวน 3คน (คุณนิตยา คุณฉันทกาและคุณอติกานต์) และการเป็นวิทยากรสอนโยคะและการนวดแผนไทย จำนวน4คน (คุณสมศรี คุณสุนีย์ คุณอาภรณ์และคุณปวีณา) 4.การขยายคน จากเดิมกลุ่มอาชีพ 200คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ มีสมาชิกประมาณ20คนที่เข้ามาทำกิจกรรมโยคะอย่างต่อเนื่อง คาดหวังในการดำเนินโครงการในเฟสต่อไปในการขยายคนอีก 160คนที่ไม่ได้เข้าร่วม มีการเข้าร่วมเพิ่มขึ้น