กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ประชุมคณะทำงานระดับเขต (ทีมบริหารโครงการฯ)4 กันยายน 2563
4
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.กิจกรรมประชุมคณะทำงานโครงการระดับเขต (core team) วันที่ 4กันยายน2563 เวลา 13.00-16.00น.ห้องประชุม สปสช.เขต12สงขลา
วัตถุประสงค์: เพื่อติดตามและวางแผนการดำเนินงานโครงการ
จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ..5...คน ประกอบด้วย
-นายสมชาย ละอองพันธุ์ -นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน -ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย -นายอะหมัด หลีขาหรี -นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี -นส.คณิชญา แซนโทส

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) 1.ประเด็นการคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบในการถอดบทเรียน จากเดิม 11พื้นที่ ได้ปรับลดลงมาคงเหลืออยู่ 7 จังหวัด 7พื้นที่ต้นแบบ ประกอบด้วย
1.1.จังหวัดนราธิวาส จากเดิมได้เลือกพื้นที่ตำบลแว้ง แต่กิจกรรมภายใต้โครงการฯที่ใช้งบกองทุนตำบล กิจกรรมมีเพียง การเจาะเลือดให้กับเกษตรกรที่เป็นกลุ่มทำนา เพื่อหาสารเคมีตกค้างในเลือด ซึ่งยังไม่ครอบคลุมที่จะนำไปสู่การถอดบทเรียนความสำเร็จได้ ทางคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดจึงได้มีการเสนอ
คัดเลือกพื้นที่ตำบลโคกเคียนในการถอดบทเรียน กลุ่มอาชีพจักสานกระจูด
1.2.จังหวัดยะลา ได้คัดเลือกพื้นที่ตำบลบาละ กลุ่มอาชีพสวนยางพารา 1.3.จังหวัดปัตตานี ได้คัดเลือกพื้นที่ เทศบาลตำบลหนองจิก กลุ่มอาชีพประมง 1.4.จังหวัดสงขลา ได้คัดเลือกพื้นที่ ตำบลแค กลุ่มอาชีพสวนยางพารา 1.5.จังหวัดพัทลุง ได้คัดเลือกพื้นที่ เทศบาลเมืองพัทลุง กลุ่มขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง 1.6.จังหวัดตรัง ได้คัดเลือกพื้นที่ตำบลห้วยยอด กลุ่มอาชีพสวนยางพารา 1.7.จังหวัดสตูล ได้คัดเลือกพื้นที่ตำบลนาทอน กลุ่มจักสานจากต้นคลุ้ม 2.ประเด็นกลไก ทีมในการถอดบทเรียน ส่วนกลางได้มีการสนับสนุนทีมลงมาช่วยสังเคราะห์เนื้อหาในการถอดบทเรียน และการให้คำชี้แนะ หนุนเสริมทีมปฎิบัติการในพื้นที่ (csd) ในระดับเขต คือ นางสาวยุวศรี อวะภาค (อาจารย์ขวัญ) ในจำนวน 2พื้นที่ จากมติที่ประชุมได้เลือกพื้นที่ ทม.พัทลุง จังหวัดพัทลุงและพื้นที่ตำบลแค จังหวัดสงขลา 3.ประเด็นความก้าวหน้าในการถอดบทเรียนในระดับจังหวัด ไม่มีความคืบหน้า พี่เลี้ยงมีการนำส่งผลงานให้เพียง 2 จังหวัด คือ จังหวัดยะลา และสงขลา ส่วนพื้นอีก5จังหวัดไม่มีการนำส่งผลงานในการถอดบทเรียน ในการทำงานของ csd พบว่ายังมีข้อจำกัดความรู้ความเข้าใจ และความมั่นใจในการถอดบทเรียนของพี่เลี้ยง(csd) จากการเข้าร่วมประชุมที่ส่วนกลางได้มีการจัดอบรมไปแล้วไม่น้อยกว่า3ครั้ง ยังไม่สามารถทำให้พี่เลี้ยงได้เรียนรู้เครื่องมือ การทำงานในระดับพื้นที่ได้ จากมติที่ประชุมจึงให้ทางโครงการระดับเขตได้ดำเนินการจัดเวทีถอดบทเรียน สอนการใช้เครื่องมือ เพื่อให้พี่เลี้ยงได้เรียนรู้ สามารถสังเคราะห์ความสำเร็จจากการดำเนินโครงการฯ โดยทาง ผศ.ดร.แสงอรุณ จะมีการออกแบบเครื่องมือในการถอดบทเรียน ซึ่งจะมีการนัดหมายกับทางอาจารย์ขวัญ และอาจารย์อะหมัด ในการทำความเข้าใจเครื่องมือร่วมกัน ในวันที่23สิงหาคม2563 ณ อาคารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4.ประเด็นการจัดทำเวทีถอดบทเรียน ได้มีการกำหนดวันที่24เดือนกันยายน 2563 ณ.รร.บูมฟอร์เรท อ.หาดใหญ่ งบประมาณในการจัดจะใช้งบจากโครงการฯเขตส่วนหนึ่ง และงบประมาณจากโครงการฯ(csd) ในระดับพื้นที่ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้รับผิดชอบโครงการ ,พี่เลี้ยงcsd ,คณะทำงานโครงการระดับเขต โดยเวทีดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทีมพี่เลี้ยง(csd) และกลุ่มเป้าหมายคก. สามารถสังเคราะห์กระบวนการทำงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ และเพื่อเสริมพลังเครือข่ายในการทำงานประเด็นแรงงานนอกระบบในพื้นที่