กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ลงพื้นที่ร่วมถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดสตูล29 ตุลาคม 2563
29
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล “กลุ่มผู้ประกอบอาชีพจักสานต้นคลุ้ม” วันที่ 29 ตุลาคม 2563 เวลา 13.00-16.00 น. ณ.ศูนย์เรียนรู้กลุ่มจักสานต้นคลุ้ม
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อสรุปบทเรียนและสังเคราะห์ความรู้พื้นที่การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) 2)ร่วมติดตาม ให้คำปรึกษา สนับสนุนการทำงานของทีมนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม(csd) ในกระบวนการถอดบทเรียนในพื้นที่ต้นแบบ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ..13...คน ประกอบด้วย 1.กลุ่มจักสานต้นคลุ้ม จำนวน 7 คน 2. คณะทำงานพี่เลี้ยง csd จำนวน 1คน 3. คณะทำงานโครงการระดับเขต (core team) จำนวน 4คน 4. พี่เลี้ยง csd จากส่วนกลาง จำนวน 1คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) 1.คณะทำงานพี่เลี้ยงcsd จังหวัดสตูล ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย และนส.ยุวศรี อวะภาค ได้ร่วมซักถามแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินโครงการฯกลุ่มจักสานต้นคลุ้ม โดยมีกลุ่มอาชีพเป้าหมายเข้าร่วม 7คน จากการสรุปกระบวนการถอดบทเรียนดังนี้
1.1.บทบาท และหน้าที่ของสมาชิกกลุ่ม กลุ่มมีสมาชิกจำนวน 63คน มีการแบ่งทีมและฝ่ายต่างๆในการรับผิดชอบงานตามความถนัด โดยนางอรุณี (หนุ่ย) ประธานกลุ่ม มีหน้าที่ในการจัดการตลาด การออกบูทจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ ส่วนสมาชิกคนอื่นๆ ก็จะแบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายจัดหาวัตถุดิบต้นคลุ้ม ฝ่ายเหลาเส้น ทำเส้น ฝ่ายประสานงาน ประชาสันพันธ์
1.2.หน่วยงานในพื้นที่ ภาคีความร่วมมือที่เข้ามาสนับสนุนกลุ่ม ประกอบด้วย 1)หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่45 (นพค.) สนับสนุนสร้างโรงเรือนให้กับกลุ่มในที่ดินของประธานกลุ่มที่ได้บริจาคเป็นที่ทำการกลุ่ม 2)ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ 3) สสส., สช ส่งเสริมเรื่องสุขภาพ
1.3.กระบวนการ ที่มาของโครงการฯ
-เก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพ/สมาชิกกลุ่ม จำนวน10คน ปลัดดนัย คณะทำงานพี่เลี้ยงจังหวัดคีย์ข้อมูลในระบบเว้ปไซต์แรงงานนอกระบบ จากการสังเคราะห์ข้อมูลในระบบ พบว่า มีอาการปวดเอว ปวดหลัง จึงค้นหาเหตุของการเจ็บป่วยพบว่า ในขั้นตอนสานชิ้นงาน มีการนั่งพื้นประมาณ 1-3ชั่วโมง จึงมีการจัดทำแผนลดเสี่ยง โดยการสลับเปลี่ยนท่าเพื่อให้หายปวดโดยการลุกไปทำงานอื่น เช่น ซักผ้า ปลูกผัก หรือนอนพัก -คัดเลือกตัวแทนกลุ่มเข้าอบรม อสอช.จำนวน3คนในระดับเขต ร่วมวิเคราะห์ผลกระทบจากงานในขั้นตอน 1) การตัดต้นคลุ้ม : สาเหตุจากต้นคลุ้มเป็นพืชที่อยู่ในป่า ต้องเข้าป่าไปตัด มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เช่น ลื่นหกล้ม เสี่ยงสัตว์มีพิษ เช่น งู และแมลงกัดต่อย ส่วนใหญ่จะเป็นแตน ที่อาศัยในพุ่มต้นคลุ้ม ต่อยตามบริเวณใบหน้า แขน 2) การบาดเจ็บจากคมมีด หรือเศษไม้ ทิ่มแทงบริเวณมือและนิ้ว และ3)ขั้นตอนในการจักสานประกอบชิ้นงาน ในช่วงที่มีออเดอร์จำนวนมาก ต้องทำในช่วงกลางคืน ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าสายตา ปวดตา และพร่ามัว และการปวดหลัง ปวดเอว มีการจัดทำแผนลดเสี่ยง ดังนี้ -ก่อนตัดต้นคลุ้ม มีการลนไฟ เขย่าต้น หรือใช้ไม้ทุบป่าหญ้า เพื่อไล่ตัวแตน หรือสัตว์มีพิษ ที่อาจหลบอยู่บริเวณต้นคลุ้ม -การป้องกันลื่นหกล้ม เนื่องจากเป็นที่ลาดชัน ควน สวมใส่รองเท้าบูท -ปรับพฤติกรรมใส่ถุงมือในการป้องกันมีดบาด หรือเศษไม้
-การพกพายาลม ยาหม่อง ยาใส่แผล ป้องกันกรณีเกิดอุบัติหตุ หรือเป็นลม หมดสติ 1.4.ความสำเร็จ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
-ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ต่อยอดในการส่งเสริมความรู้ รูปแบบผลิตภัณฑ์ -โครงการออกกำลังกาย เต้นแอโรบิคเบาๆ โดยเสนอโครงการขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบลนาทอน และหาความรู้เพิ่มเติมในยูทูป จากเดิมที่วิทยากรอบรมให้ประมาณ10ท่าในการเต้นแอโรบิค สมาชิกกลุ่มนำมาปรับใช้ ประมาณ3ท่าในการออกกำลังกาย เพื่อยืดเหยียดร่างกาย คลายการปวดเอว ปวดหลัง -ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานฯเสนอโครงเหล็กตั้ง เพื่อจักสานฝาชี จำนวน4ตัว ๆละ1,000บาท ใช้งานมา3เดือน ปรับจากการนั่งพื้นมานั่งเก้าอี้ (ก่อนหน้านั้นเคยทำที่ขูดสายคลุ้ม แต่ไม่ได้ผล) -การใช้ยีนส์เก่ามารองที่ขา ในขั้นตอนการทำซี่ หรือการใช้ช้อนโต๊ะเจาะรู
-กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถุงมือ
1.5.ปัจจัยเอื้อ -การคุยร่วมกัน ผ่านไลน์ การพบปะทุกวัน จากการมานั่งทำงานจักสานที่ทำการกลุ่ม ประมาณ20คน(แม่หม้าย) จากสมาชิกทั้งหมด 63คน และสมาชิกต่างชุมชนที่ส่งวัตถุดิบให้กับกลุ่ม
-การพึ่งพาในด้านการเงิน
-ปรับพื้นที่บ้านของประธานกลุ่มในการเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะ ศูนย์รวมให้สมาชิกกลุ่มได้มานั่งทำงานร่วมกัน -ใช้งบส่วนตัวให้กับสมาชิกในการเบิกใช้จ่ายก่อน ในกรณีฉุกเฉินและมีความจำป็น -มีโรงเรือน ที่ส่วนรวมในหมู่บ้าน “สิ่งที่อยากได้ เครื่องมือในการเหลาเส้นคลุ้ม แต่สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ คือใช้เครือข่ายหมู่บ้านใกล้เคียงทำเส้นส่งให้ แต่ยังเจอปัญหาขนาดของเส้น -ประธานกลุ่มเป็นนักประสานงาน ทำให้เกิดเครือข่ายชุมชนใกล้เคียง 1.6.โอกาสการพัฒนา
-ปรับสภาพแวดล้อมที่ทำการกลุ่มในเรื่องแสงสว่าง ติดหลอดไฟเพิ่มขึ้นและปรับบริเวณรอบๆบ้านทั้งที่เป็นจุดวางชิ้นงาน จุดขายผลิตภัณฑ์  และนั่งทำชิ้นงาน
-กลุ่มจัดการตนเอง มีการปลูกผัก เลี้ยงไก่ไข่ ส่งเสริมด้านโภชนาการ ความปลอดภัย ความั่นคงทางอาหารให้กับสมาชิกกลุ่ม
ปัญหา :ขาดความชัดเจนในการเข้าร่วม อสอช.
:การประสานงานคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดกับกลุ่มไม่มีความต่อเนื่อง