กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

การประชุมปฏิบัติการ การ Coaching การทำแผนกองทุน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ การใช้เว็บ ไซด์เพื่อการพัฒนาโครงการ (ประชุมทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ )8 ตุลาคม 2562
8
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 8-9 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 09.00 – 16.00 น. ประชุมปฎิบัติการ Coaching ทำแผนสุขภาพและพัฒนาข้อเสนอโครงการแก้ปัญหาสุขภาวะชีวิตผู้ประกอบอาชีพ ที่มีความเสี่ยงผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ณ ห้องประชุมศาลาเสียงสน โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

วันที่ 8 ตุลาคม 2562
วิทยากรกระบวนการ นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการฯ ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมแนะนําตัว /เขียนความคาดหวังจากการเข้าร่วมประชุม และบอกเล่าเกี่ยวกับงานที่ทำอยู่ในองค์กร และความสำเร็จ ความภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำอยู่ ซึ่งผุ้ที่เข้าร่วมประชุม เช่น คณะกรรมการกองทุน ,เจ้าหน้าที่กองทุน และพี่เลี้ยงกองทุน(สปสช)  สิ่งที่สะท้อนถึงความสำเร็จของงานส่งเสริมสุขภาพของคนในพื้นที่ คือ มีโครงการฯของกองทุนตำบลที่ทำเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง และประเด็นแรงงานฯ ในช่วงปีแรก (2561) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี คนในชุมชนเข้าถึงบริการสุขภาพ มีการคัดกรองโรค และการตรวจเลือดในกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มประมง ที่ทำงานเกี่ยวกับการซ่อมสร้างเรือ เงื่อนไขที่ทำให้สำเร็จ คณะกรรมการกองทุนในบางพื้นที่มีความเข้าใจ และการมีกลไกพี่เลี้ยงหนุนเสริมในพื้นที่

แบ่งกลุ่มตามจังหวัด 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส ,ยะลา,ปัตตานี,สงขลา,พัทลุง,สตูลและตรัง ในการให้แต่ละพื้นที่ได้วิเคราะห์สถานการณ์กลุ่ม /หรือผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง และประสบการณ์ส่งเสริมป้องกันโรค นางจันทนา เจริญวิริยะภาพ สรุปจากการวิเคราห์และนำเสนอในแต่ละกลุ่มจังหวัด ชี้ให้เห็นสถานการณ์แรงงานนอกระบบ ดังนี้

1.)จังหวัดนราธิวาส บริบทของพื้นที่ โซนภูเขา อาชีพทำสวนผลไม้ สวนยางพารา โซนเมือง มอเตอร์ไซต์รับจ้าง และโซนทะเล อาชีพประมงพื้นบ้าน และแปรรูปอาหารทะเล

2.)จังหวัดสตูล บริบทพื้นที่ โซนบก โซนทะเล มีอาชีพ เช่น ทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประมง

3.)จังหวัดตรัง การประกอบอาชีพ สวนยางพารา ,ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป

4.)จังหวัดสงขลา บริบทพื้นที่ ประกอบด้วยเขตเมือง/ เขตชนบท ( ภูเขา ,ทะเล ) การประกอบอาชีพในเขตเมือง เช่น แม่ค้า ซาเล้ง จ้างเหมาบริการ ,เก็บขยะ รับซื้อของเก่า
การประกอบอาชีพในเขตชนบท เช่น สวนยางพารา ขึ้นมะพร้าว เลี้ยงสัตว์ เกษตรกร งานฝีมือ หัตถกรรม การประกอบอาชีพในเขตชายฝั่ง เช่น ทำประมง ปอกกุ้ง ปอกหัวปลา ลูกจ้างแพปลา

5.)จังหวัดพัทลุง บริบทพื้นที่ประกอบด้วยเขตเมือง/ เขตชนบท และเขตชายฝั่ง
การประกอบอาชีพ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถเมล์เล็ก กระจูด ประมง และช่างเสริมสวย

6.)จังหวัดปัตตานี บริบทพื้นที่ประกอบด้วยเขตเมือง ชนบทและชายฝั่ง
การประกอบอาชีพ ทำประมง ,รับจ้าง ปลอกหัวหอม กระเทียม เย็บอวน แกะหัวปลา คัดปลา เก็บขยะ ,ตัดเย็บเสื้อผ้า,ขายผ้ามือ๒.,ช่างซ่อม,ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้

ปัญหาสถานการณ์เสี่ยงของกลุ่มแรงงานนอกระบบ

1.โรคทางเดินหายใจ

2.ด้านสายตา

3.โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

4.สารเคมี(ย่าฆ่าหญ้า,สารตะกั่ว)

5.สภาพแวดล้อม

6.อิริยาบถจากการทำงาน, สุขภาพจิต, สภาพที่อยู่อาศัยของคนกรีดยางไม่เหมาะสม

7.อุบัติเหตุจากอาชีพ

แนวทางการทำงานต่อ

1.สร้างข้อมูล(ผลกระทบในข้อมูลเข้างาน)

2.ตรวจสุขภาพในพื้นที่(ใกล้บ้าน)

3.การป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ

4.ทำทะเบียนผู้ประกอบการ

5.สร้างชุดความรู้จากอาชีพ(การป้องกัน, การติดตามการประเมินผล)

6.มาตราการทางกฎหมาย

7.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

8.สร้างทีมงานเครือข่าย

9.ทำให้กลุ่มเสี่ยงได้ร็และเข้าถึงสิทธิ

10.ประสานความร่วมมือจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง

นางสาวฟาอีซ๊ะ โตะโยะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา และผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย ร่วมด้วยอ.กนกวรรณ หวนศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บรรยายให้ความรู้ผลกะทบ หรือสิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายจากการทำงาน/สถานที่ทำงาน และการจัดบริการอาชีวอนามัยในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง


วันที่9 ตุลาคม 2562 เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ บรรยายเกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ :นโยบายและแนวทางสนับสนุนการสร้างเสริมอาชีวอนามัยในวัยทำงานกลุ่มเสี่ยงในชุมชน และการจัดทำแผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบ ในระบบเว้ปไซต์กองทุนฯ (www.localfund.happynetwork.org) และแบ่งกลุ่มพี่เลี้ยงตามจังหวัดในการจัดทำแผนการทำงานลงพื้นที่สนับสนุนงานกองทุนฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่ม/ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ในแต่ละพื้นที่ ทำให้เห็นอาชีพที่หลากหลาย เช่น เกษตรกรรม ,รับจ้าง ,ประมง และกลุ่มหัตถกรรมงานฝีมือ ซึ่งแต่ละอาชีพมีความเสี่ยง เช่น สารเคมี ,ท่าทางในการนั่งทำงาน และการเจ็บป่วย ปวดข้อ ปวดเมื่อย เป็นต้น

2.เกิดแผนการทำงานในแต่ละจังหวัด และพี่เลี้ยงได้ทบทวนพื้นที่กองทุนนำร่องฯ

3.การดำเนินงานต่อหลังจากเวที พี่เลี้ยงทีมระดับจังหวัดต้องมีการจัดประชุมทำความเข้าใจโครงการฯ กับพื้นที่และพี่เลี้ยงในจังหวัดตนเอง เพื่อวางแผนในการทำงานร่วมกัน