กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

โครงการสนับสนุนพี่เลี้ยงแรงงานนอกระบบ จังหวัดปัตตานี 2563 : ประชุมกองทุนชี้แจงทำความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง(แรงงานนอกระบบ)16 ตุลาคม 2562
16
ตุลาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00-13.00น. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกองทุนฯแผนแรงงานนอกระบบ ณ. สสอ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ร่วมกับเทศบาลตำบลหนองจิกและทีมพี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล พูดคุยทำความเข้าใจการจัดทำแผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบ โดยมีพื้นที่นำร่อง.๓อำเภอของจังหวัดปัตตานี คือ อำเภอแม่ลาน อำเภอโคกโพธิ์ และอำเภอหนองจิกเข้าร่วม
นายแพทย์ ยงยศ ธรรมวุฒิ ตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอหนองจิก เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมกล่าวต้อนรับคณะทำงาน เขต 12 สงขลา (สปสช) ,คณะทำงานโครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่นสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ และกองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง จำนวน 20 กองทุน
นายมะรอกี เวาะเลง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขเทศบาลตำบลหนองจิก ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม และทบทวนพื้นที่กองทุนนำร่องแนะนำพี่เลี้ยงทีมจังหวัดให้กองทุนได้รู้จัก นางสาวยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการฯ ระดมความคิดเห็นสถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ กองทุนที่เข้าร่วมได้เสนอและวิเคราะห์กลุ่มอาชีพเสี่ยงและโรคที่เกิดจากการทำงาน ดังนี้

1.องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก มีสถานการณ์แรงงาน คือ อาชีพประมง ร้อยละ80 ความเสี่ยงของอาชีพประมง เช่น อุบัติเหตุ ,ประชาชนในพื้นที่ขาดความรอบรู้เรื่องความเสี่ยงของอาชีพ

2.เทศบาลตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก การประกอบอาชีพเกษตรกร มีความเสี่ยงเรื่องสารเคมีตกค้าง เช่น ยาฆ่าหญ้า มีความสนใจการทำเกษตรปลอดสารพิษ

3.องค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโยอำเภอหนองจิก การประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยาง,ทำไร่,ทำนา ,ประมง เกษตรกรเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี และประมง เสี่ยงเกี่ยวกับการปวดข้อ ปวดเข่า ปวดเมื่อย

4.องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี อำเภอหนองจิก ร้อยละ90 ประกอบอาชีพทำเกษตร เช่น ทำสวนปาล์ม ทำนา สวนยางพารา ,เลี้ยงสัตว์( วัว,แพะ) ความเสี่ยง มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ปลูกติดกับที่อยู่อาศัย อาจทำให้เป็นพาหนะโรคมาสู่คน ,สารเคมีปนเปื้อนจากการทำเกษตร

5.องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก ประกอบอาชีพทำเกษตร สวนยางพารา ,เลี้ยงสัตว์ ,ก่อสร้าง มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ สัตว์นำโรคสู่คน เนื่องจากโรงเรือนปลูกติดกับที่อยู่อาศัย การสัมผัสสารเคมี

6.องค์การบริหารส่วนตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก ประกอบอาชีพเกษตร เช่น ปลูกข้าว สวนยางพารา ปลูกผักสวนครัว ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปวดเมื่อย ,สัมผัสสารเคมี

7.องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน อำเภอโคกโพธิ์ ประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยาง ,ทำนา ความเสี่ยง การปวดเมื่อย ,สัมผัสสารเคมี

8.องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก การประกอบเกษตร เช่น ทำนา ,สวนยางพารา ,รับจ้างก่อสร้าง ,เลี้ยงสัตว์ (นกเขา ,นกกรง ,ไก่ดำ ,เลี้ยงวัว) กลุ่มแม่บ้าน ทำกาละแม ,ฉีกปลาจิ้งจัง ,ประมง ออกเรือ มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ สัตว์นำโรคสู่คน เพราะมีโรงเรือนใกล้ที่อยู่อาศัย และ อุบัติเหตุ /การจมน้ำ ,การสัมผัสสารเคมี, การปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว

9.องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ การประกอบอาชีพเกษตร เช่น สวนยางพารา สวนผลไม้ ทุเรียน เงาะ มีความเสี่ยง การปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ,สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ ,การสัมผัสสารเคมี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เจ้าหน้าที่กองทุนฯนำร่อง จำนวน 20กองทุน ได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่และความเสี่ยงจากการทำงานของกลุ่มอาชีพในพื้นที่

2.มีข้อมูลสถานการณ์กลุ่มอาชีพเสี่ยง ประกอบด้วย ทำนา สวนผลไม้ทุเรียน เงาะ ลองกอง ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป เช่น ก่อสร้าง รับจ้างฉีกปลาจิ้งจัง ,การทำอาชีพประมง ออกเรือ และการรวมกลุ่มแม่บ้านทำขนมกาละแม