กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯ รายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดยะลา5 พฤศจิกายน 2562
5
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการฯ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ให้กับกองทุนสุขภาพตำบลจำนวน 20 พื้นที่ ประกอบด้วย กองทุนแบบนำร่องเข้มข้น และกองทุนแบบทั่วไป ซึ่ง จว.ยะลา ได้เสนอรายชื่อกองทุน ดังนี้ รายชื่อกองทุนสุขภาพตำบลทั่วไป 1 ทต.บุดี อำเภอเมืองยะลา, 2 อบต.พร่อง อำเภอเมืองยะลา,3 ทต.ยุโป อำเภอเมืองยะลา, 4 อบต.ห้วยกระทิง อำเภอกรงปีนัง 5 อบต.สะเอะ อำเภอกรงปีนัง 6 อบต.บุโรง อำเภอกรงปีนัง 7 อบต.กอตอตือระ อำเภอรามัน 8.อบต.บาโงย อำเภอรามัน 9 อบต.วังพญา อำเภอรามัน 10 อบต.ตือโละหาลอ อำเภอรามัน
11 อบต.คีรีเขต อำเภอธารโต 12 อบต.ลำพะยา อำเภอเมือง 13 อบต.อัยเยอร์เวง อำเภอเบตง 14 อบต.บาโระ อำเภอเมือง 15 อบต.บาละ อำเภอกาบัง
รายชื่อกองทุนนำร่องฯ 1 ทม.เบตง อำเภอเบตง 2 อบต.บาลอ อำเภอรามัน 3 อบต.ตาชี อำเภอยะหา 4 อบต.ตาเนาะปูเตะ อำเภอบันนังสตา 5 ทต.โกตาบารู อำเภอรามัน

เวลา 09.00 -16.00 น. ณ ห้องประชุมอรุณสวัสดิ์ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา  นายประพันธ์ สีสุข พี่เลี้ยงผู้ประสานจังหวัดยะลา กล่าวทักทายกองทุนสุขภาพตำบลที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 กองทุน จากเดิมที่วางแผนไว้ 20 กองทุน พร้อมทั้งกล่าวต้อนรับคณะทำงานจาก สปสช.เขต 12 สงขลา และผู้ประสานงานโครงการจากสมาคมวิถีทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SADA) นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ผู้ประสานงานโครงการฯ เขต 12สงขลา ชี้แจงภาพรวม วัตถุประสงค์โครงการฯ พื้นที่กองทุนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ดำเนินงานอยู่ในพื้นที่ เช่น ทม.เบตง ในปี 2561 ได้มีการทำโครงการกับกลุ่มอาชีพจักสานเชือกพลาสติก เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องของนิ้วล็อกจากการทำงาน ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้จากการอบรม และจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อแก้ปัญหานิ้วล็อก ในส่วนพื้นที่กองทุนอื่นๆ ยังต้องทำความเข้าใจกับผู้บริหาร หน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการค้นหาแกนนำ (อสอช) กลุ่มอาชีพเสี่ยงในพื้นที่
เวลา 13.00 น. เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ แนะแนวการจัดทำแผนกลุ่มอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ให้กับกองทุนและพัฒนาร่าง คก. ในระบบเว้ปกองทุนlocalfund.happynetwork.org ซึ่งกองทุนจะต้องไปดำเนินการต่อเพื่อให้ คก.มีความสมบรูณ์ ในส่วนพี่เลี้ยง จว.จะมีการติดตามในระบบเพื่อแนะนำในเรื่องของการออกแบบกิจกรรม คก.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.อปท. จำนวน 15 พท.ที่เข้าร่วมมีความเข้าใจโครงการฯ และจะมีการนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารท้องถิ่น

2.อปท. จำนวน 5 พท. ที่ไม่ได้เข้าร่วม ทางพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จะมีการจัดประชุมทำความเข้าใจเพิ่มเติม

3.จากการลงพื้นที่ คณะทำงานเขต ได้เสนอต่อพื้นที่ในเรื่องของกลไก อสอช.ในพื้นที่ แทบไม่มีบทบาท หรือ พื้นที่หาไม่เจอ ส่งผลให้ยังไม่ค่อยมีข้อมูล/หาข้อมูลไม่เจอ ว่า แรงงานนอกระบบในพื้นที่ เป็นอย่างไร ? ดังนั้นในโครงการที่ขอรับผ่านกองทุนฯ ให้มีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสอช. ข้อมูลการทำแผนในเว็บไซต์localfund.happynetwork.org/ ยังไม่สมบูรณ์ ต้องให้พื้นที่ทำข้อมูล และปรับให้มีแผนที่สมบูรณ์มากขึ้น พี่เลี้ยงติดตามต่อ ประเมินผ่านเว็บไซต์