กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ประชุมวางแผนผู้ประสานงานโครงการและคณะทำงานจากแผนงานกลาง30 สิงหาคม 2562
30
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 30 สิงหาคม 2562 เวลา 09.00 น. ประชุมวางแผนผู้ประสานงานโครงการฯและคณะทำงานจากแผนงานกลาง ณ ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 12 สงขลา อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ชั้น 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

อาจารย์ อรพิน วิมลภูษิต ได้กล่าวถึงกรอบการแลกเปลี่ยนและหารือการทำงานร่วมกัน ในโครงการ โดยการนำเสนอผ่านไดอะแกรม ดังนี้ 1.ทบทวนเป้าหมาย กระบวนการ และตัวชี้วัด สู่ความเข้าใจกรอบคิด ขอบเขตและนิยามที่ตรงกัน โดยมีสาระสำคัญดังนี้ เป้าหมายปลายทาง คือ ความเสี่ยงลดลง ร้อยละ 10 จากการได้รับบริการเชิงรุกและมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อ - ขอบเขตของข้อมูลและองค์ความรู้ - ความหมาย และ กรอบการพัฒนาศักภาพ ใครบ้าง และ ระดับไหน - การบูรณาการในความเข้าใจและความหมายที่ตรงกัน
ตัวชี้วัด
มีความชัดเจนเรื่องความหมายและความเข้าใจที่ตรงกัน equirements ระดับไหน ขั้นต่ำ /สูงสุด
การประเมินผลและเสริมศักยภาพ กลไกและวิธีการ ด้านการบริหารจัดการ
- คนทำงานคือ ใครบ้าง มีบทบาทอย่างไร - วิชาการ / นโยบาย - การจัดการ ปฏิบัติการ - ใครคือคนหมุน - ใคร คือ คนกำกับหลัก ใครสนับสนุนอย่างไร
- งบประมาณ การดำเนินงานและการบริหาร - การจัดการข้อมูลและการรายงาน

  1. กระบวนการทำงาน
    กิจกรรมหลัก และกลยุทธ Requirements , How to and Mechanisms มี priority และจุดเน้น
    output แผนปฏิบัติการ Q1 และงวดแรก แบบ Action plan - Mobilizing , Monitoring การวิเคราะห์/สังเคราะห์ ประเมินผล และ สรุปบทเรียน และรายงาน ระดับกิจกรรมหลัก กิจกรรมย่อย ให้เห็น How to นอกจากนี้ อาจารย์อรพิน ได้กล่าวถึงเรื่องการจัดการข้อมูลความเสี่ยงจากอาชีพและสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ ความมีข้อมูลดังนี้

1.ระดับความเสี่ยง

2.โปรแกรมการจัดการสุขภาพ (การส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน)

3.ฐานข้อมูล อันประกอบด้วย 1.กลุ่มอาชีพ ซึ่งได้มาจาก อปท

4.ข้อมูลสิ่งคุกคามได้ข้อมูลจาก อสอช/ อสร./อสม.

5.ข้อมูลพฤติกรรม ได้ข้อมูลจาก อสอช/อสร./อสม.

6.ข้อมูลความเจ็บป่วย ได้ข้อมูลจาก รพสต./รพช

7.ข้อมูลความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้ข้อมูลจาก รพสต./รพช.

หลังจากได้ข้อมูลมาแล้ว ต้องประเมินความถูกต้องและครอบคลุม โดยคณะทำงานหรือกลไกระดับพื้นที่(จังหวัด ,อำเภอ,ตำบล)(พี่เลี้ยง) ส่งกลับข้อมูลมายังกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สู่สปสช ระดับเขต ต่อไป พิจารณา

หลังจากนั้น เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ได้นำเสนอข้อมูลโครงการในที่ประชุม โดยได้ยกเรื่องการแจ้งผลการพิจารณาเพื่อปรับแก้ไขข้อเสนอโครงการ เขต 12จากบันทึกข้อความเลขที่ อชว.004/2562 ทางเภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ และทีมงานได้ร่วมแก้วัตถุประสงค์ดังนี้

1.พัฒนาศักยภาพทีมกลไกคณะทำงานพี่เลี้ยง อาสาสมัครอาชีวอนามัย คณะกรรมการกองทุนในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในระดับพื้นที่

2.การนำร่องพื้นที่ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โครงการดังกล่าวจะเป็นการเสริมพลังการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.การพัฒนาระบบข้อมูลและสู่การยกระดับเป็นนโยบายสาธารณะด้านคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบในระดับพื้นที่

จากนั้นได้กล่าว ถึง การเข้าไปรายงานผ่านwebsite:localfund.happynetwork.org โดยมีความง่ายและสะดวกต่อคณะทำงานที่จะรายงานกิจกรรมของโครงการและพี่เลี้ยงระดับพี้นที่จังหวัด อำเภอ และตำบลสามารถเข้าไปใช้เว็ปไซต์ในการพัฒนา โครงการ และ รายงาย สื่อสารข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีห้องเรียนออนไลน์ ที่สะดวกในการสื่อสาร และ ประชุม กับพื้นที่อย่างสะดวกมากขึ้น อีกทั้ง ระบบยังเอื้อต่อการลดการทำข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ลดการใช้กระดาษ ย่อระยะเวลาในการติดตามผลจากพี่เลี้ยง และแต่ละโครงการสามารถ บันทึกข้อมูลต่างๆ และพิมพ์ออกมาได้อีกด้วย

จากนั้นที่ประชุมจึงได้แลกเปลี่ยนกันถึงเรื่องการจัดตั้งคณะตรวจประเมิน ภายใน และเสริมศักยภาพการทำงาน โดยผ่านงบประมาณจากส่วนกลาง ทีมประเมินภายในจะเข้ามาหนุนเสริมการทำงานระบบฐานข้อมูล เครื่องมือในการทำงาน เสริมศักยภาพการทำงานของทีมทำงานและเครือข่ายพี่เลี้ยง

การบริหารจัดการของคณะทำงานโดย ส่วนกลางจะจ่ายค่าตอบแทนนักวิชาการ (ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย) ค่าตอบแทนผูรับผิดชอบด้านงานวิชาการ(นางสาวยุรี แก้วชูช่วง) ที่ปรึกษาโครงการ(นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานโครงการฯ เขต 12 มีความเข้าใจการดำเนินโครงการเพิ่มมากขึ้น

2.มีการปรับวัตถุประสงค์โครงการให้มีความสอดคล้องกับโครงการในประเด็นแรงงานนอกระบบ และการจัดการอาชีวอนามัยในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง