กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ลงพื้นที่ร่วมเวทีถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดปัตตานี30 ตุลาคม 2563
30
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบเทศบาลตำบลหนองจิก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี “กลุ่มอาชีพประมง”
วันที่30ตุลาคม2563 เวลา13.00-16.00น. ณ ชุมชนกลูแป ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี วัตถุประสงค์: 1) เพื่อสรุปบทเรียนและสังเคราะห์ความรู้พื้นที่การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) 2)ร่วมติดตาม ให้คำปรึกษา สนับสนุนการทำงานของทีมนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม(csd) ในกระบวนการถอดบทเรียนในพื้นที่ต้นแบบ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ..21..คน ประกอบด้วย 1.พี่เลี้ยง csd จากส่วนกลาง จำนวน 1คน
2.พี่เลี้ยง csd ระดับเขต12 จำนวน 2คน
3.พี่เลี้ยงระดับจังหวัดปัตตานี จำนวน 1คน 4.พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 1คน 5.พชอ.หนองจิก จำนวน 2คน
6.อสอช จำนวน 5คน 7.กลุ่มอาชีพคัดปลา จำนวน 9คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ)
1.คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดปัตตานีนายมะรอกี เวาะเลง กล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรมการถอดบทเรียน นางพรศิริ ขันติกุลานนท์ พี่เลี้ยง csd ได้เริ่มกระบวนการโดยการกล่าวทักทายกลุ่มอาชีพและทบทวนกิจกรรมต่างๆที่กลุ่มอาชีพได้ดำเนินการภายใต้โครงการแรงงานนอกระบบ โดยมีนางสาวซำซียะ ดือราแม คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัดปัตตานี และเจ้าหน้าที่กองทุนสุขภาพตำบลเป็นผู้บันทึกโน้ตลงกระดานและเป็นผู้ร่วมกระบวนการในภาษามาลายู จากการสรุปกระบวนการถอดบทเรียนดังนี้
1.1.ที่มาของโครงการฯ เริ่มจากการเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพคัดปลา มีการส่งตัวแทนกลุ่มอาชีพ และอสม.อบรม อสอช.ในระดับเขตและกิจกรรมการอบรมอสอช. ในระดับพื้นที่ อสม.มีการตรวจคัดกรองจัดบริการด้านสุขภาพวัดความดันให้กับกลุ่มอาชีพก่อนการทำงาน กองสาธารณสุขฯ โดยนายมะรอกี เวาะเลง เขียนโครงการขอทุน มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องอาชีวอนามัยและความเสี่ยงของกลุ่มอาชีพคัดปลา โดยเชิญคุณหมอจากรพ.สต. ในพื้นที่เข้ามาอบรม ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มคัดปลาเป็นกลุ่มหญิง จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการทำงาน พบว่า - ปวดเมื่อยบ่าไหล และส่วนข้อขา เนื่องจากการนั่งยอง เกร็ง เป็นเวลานาน -การใช้สายตาในการเพ่ง มอง ในกระบวนการแกะปลาจากแหหรือ อวน
-การถูกเศษไม้หรือกระเบื้องตำเท้า เมื่อต้องล้างปลาอยู่ในน้ำ
- มือและเล็บ เปื่อย เนื่องจากโดนก้างปลาตำและขั้นตอนการขอดเกล็ดปลา -การลื่นล้มระหว่างการขนย้าย 1.2. มาตรการข้อตกลง ลดความเสี่ยง ดังนี้ -ปรับพฤติกรรมในการสวมถุงมือ ถุงเท้า รองเท้าบูท เพื่อสร้างความปลอดภัยในการทำงาน -ปรับท่าทางในการนั่งทำงานขั้นตอนการคัดปลา จากเดิมที่มีการนั่งยอง นั่งกับพื้น มาปรับใช้เก้าอี้รองนั่ง และใช้แคร่หรือโต๊ะในการวางวัตถุดิบ -การจัดบริการสุขภาพมีการตรวจวัดความดันโดยกลุ่มอสม. เป็นประจำทำให้ทราบถึงสภาวะของผู้ทำงานว่ามีความพร้อมในการทำงานหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการช่วยเตือนเพื่อนสมาชิกในการใส่เครื่องป้องกัน และการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ่อยครั้ง 1.3.ความสำเร็จ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น -ผู้บริหารเห็นความสำคัญ -ทีมอสม.อสอช.มีความเข็มแข็ง -การมีส่วนร่วมของ พชอ. -กลุ่มอาชีพมีความเข้าใจในปัญหาและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จากการสื่อสารทั้งภาษาที่ใช้และการอ่านออกเขียนได้ของกลุ่มเป้าหมาย (ไทย-มลายู) ในเรื่องอาชีวอนามัยและมิติในเรื่องของความศรัทธาตามหลักศาสนา อิสลาม ในเรื่องความสะอาดของร่างกายก่อนการละหมาด