กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ลงพื้นร่วมถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบระดับกลุ่มจังหวัดสงขลา14 ตุลาคม 2563
14
ตุลาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมประชุมถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบ ตำบลแค “กลุ่มผู้ประกอบอาชีพสวนยางพารา” วันที่ 14ตุลาคม2563 เวลา 13.00-16.00 น. ณ.วิทยาลัยทุ่งโพ ตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา วัตถุประสงค์: 1) เพื่อสรุปบทเรียนและสังเคราะห์ความรู้พื้นที่การขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ (แรงงานนอกระบบ) 2)ร่วมติดตาม ให้คำปรึกษา สนับสนุนการทำงานของทีมนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม(csd) ในกระบวนการถอดบทเรียนในพื้นที่ต้นแบบ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ..30...คน ประกอบด้วย 1.ทีมอสอช. จำนวน8คน 2.กลุ่มอาชีพสวนยางพารา จำนวน17คน 3.บุคลากร รพ.สต. ตำบลแค จำนวน 1คน 4.คณะทำงานโครงการระดับเขต (core team) จำนวน 4คน 5.พี่เลี้ยง csd จากส่วนกลาง จำนวน 1คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) 1.การถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบตำบลแค อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา“กลุ่มอาชีพการทำสวนยางพารา” โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมจำนวน30คน ในกระบวนการ ขั้นตอนการถอดบทเรียน ดำเนินรายการโดย นายอะหมัด หลีขาหรี ซึ่งมีบทบาทในการเป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบลแค และมีบทบาทเป็นคณะทำงานพี่เลี้ยงนักขับเคลื่อนชุมชนและสังคม csd และมีบทบาทเป็นทีมติดตามประเมินผลภายใน เขต12สงขลา การถอดบทเรียนใช้หลักการประเมินตามแนวคิด CIPP Model (CIPP) มีการให้กลุ่มเป้าหมายได้ถ่ายทอดเรื่องราว ร่วมแลกเปลี่ยนจากการดำเนินงานโครงการฯในพื้นที่ ดังนี้ 1.1.การดำเนินโครงการฯ มีความเป็นมาอย่างไร :
-เริ่มจากการเก็บข้อมูลผู้ประกอบอาชีพ สวนยางพาราจำนวน27คน มีการส่งตัวแทนกลุ่มอาชีพจำนวน5คนเข้าร่วมอบรม อสอช.ในระดับเขต และวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการทำงาน -อาจารย์อะหมัด หลีขาหรี เขียนขอทุนกองทุน โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ตำบลแค มีกิจกรรมที่ออกแบบในระดับพื้นที่ เช่น 1)จัดตั้งทีมอสอช.ในพื้นที่ตำบลและอบรม อสอช. 2) สำรวจข้อมูลความเสี่ยงของกลุ่มอาชีพสวนยางพารา 3)การจัดทำข้อตกลงและมาตรการลดเสี่ยงในระดับกลุ่มอาชีพ 4) ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5) ถอดบทเรียนและพัฒนานวัตกรรมกลุ่มอาชีพเสี่ยง
- การทำอาชีพสวนยางพาราเป็นวิถีชีวิต ชุมชนทำอยู่เดิม เมื่อมีการทำโครงการฯทำให้มีความมั่นใจเพราะมีการนำความรู้ทางวิชาการมาใช้ประกอบ รู้วิธีการวิเคราะห์ และวิธีการจัดการจะทำอย่างไร
1.2.การปฎิบัติการ กระบวนการในพื้นที่
-จัดทำมาตการข้อตกลงในระดับกลุ่มอาชีพ สมาชิกกลุ่มร่วมกำหนดแผนลดเสี่ยงจากกทำงาน คือ
1) การตัดหญ้าในสวนยาง เดือนละ1ครั้ง ให้โล่งเตียน 2)สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวมรองเท้าบูท 3)การหิ้วน้ำยาง ลดการหิ้วหนักโดยใช้ถังใบเล็กลง มีการผ่อนน้ำยาง วางถังในระหว่างแถว ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวขะมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน และวาระการประชุมของกลุ่มออมทรัพย์ เป็นต้น 1.3.การยกระดับ การขยายผล : จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย ตำบลแค ที่ผ่านการอบรม จำนวน 20 คน ที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการวิเคราะห์ ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพสวนยางพารา และมีความพร้อมในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพแก่กลุ่มเป้าหมายในกลุ่มอาชีพอื่นในพื้นที่ตำบลแค