กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

จัดเวทีอบรมพัฒนาศักภาพ อสอช.จังหวัดสตูล1 กรกฎาคม 2563
1
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 การอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.

2.การนำข้อมูลมาใช้จากข้อที่มูลที่เก็บจากกระดาษสู่ระบบ

3.การประเมิน อสอช.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.เป็นรายจังหวัด
กิจกรรมอบรม อสอช. จัดเป็นรายจังหวัด7จังหวัด โดยเนื้อหาหลักสูตร 1½ วัน ในครึ่งวันแรกกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับตำบล (เจ้าหน้าที่กองทุน) เพื่อมาทำความเข้าใจเนื้อหาหลักสูตร และการเตรียมความพร้อมในการเป็น Fa ให้กับแกนนำ อสอช ที่เข้าอบรมในวันที่สอง โดยเนื้อหาการอบรมเพื่อให้ อสอช.ที่เข้าอบรมสามารถดึงข้อมูลที่มีการสำรวจกลุ่มอาชีพและบันทึกในเว้ป iw.in.th นำมาวิเคราะห์ JSA และการออกแบบกระบวนการในการทำงานเพื่อลดความเสี่ยง ใน3ขึ้นตอน คือ 1) ปรับกระบวนการ/วิธีการทำงาน 2) ปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน 3) ปรับพฤติกรรมคนทำงาน
ตัวแทนตำบลที่เข้าร่วมอย่างน้อย5ตำบลนำร่องที่เลือกโดยคณะทำงานพี่เลี้ยงในระดับจังหวัด จึงมีจังหวัดที่จัดอบรมในช่วงเดือนกรกฎาคม ดังนี้

1.กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.จังหวัดสตูล
1.1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดสตูล วันที่ 30 มิย 63 ณ.ศูนย์ประสานงานสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสตูล
1.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดสตูล วันที่ 1กค.63 ณ ห้องประชุมอบต.ปากน้ำ อ.ละงู  จ.สตูล
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 48 คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 5 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 12 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 31 คน สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) พื้นที่จังหวัดสตูลใน 5ตำบลนำร่อง ประกอบด้วย ตำบลนาทอน,ตำบลกำแพง,ตำบลละงู,ตำบลปากน้ำและตำบลบ้านควน ซึ่งตัวแทนแกนนำอสอช.และคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด พี่เลี้ยงระดับตำบล ได้ร่วมวิเคราะห์ JSA และออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงจากการทำงาน ดังนี้

1.ตำบลนาทอน กลุ่มอาชีพจักสานจากต้นคลุ้ม มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 15 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : เสี่ยงในด้านกายภาพ ที่เกิดจากท่าทางในการทำงาน เช่น การนั่งเป็นเวลานาน นั่งราบกับพื้น และก้มๆเงยๆ /ความเสี่ยงในเรื่องอุบัติเหตุ เช่น การลื่นล้มในการจัดหาวัตถุดิบ มีดบาดนิ้วมือในช่วงที่เลาหรือการทำซี่ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขน บ่าไหล่ และสายตาพร่ามัว
-การออกแบบกิจกรรมลดตวามเสี่ยง : มีการออกแบบ 2 วิธี 1) จัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น การใช้โต๊ะ เก้าอี้ เพื่อลดไม่ให้นั่งราบกับพื้น 2) การปรับพฤติกรรม เช่น ท่านั่งในการทำงาน จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มในการจัดท่านั่งอย่างถูกวิธี การออกกำลังกาย การหยุดพักยืดเหยียดกล้ามเนื่อ เช่น การบิดแขน บิดหลัง และบิดเอว เป็นระยะ เพื่อลดการนั่งทำงานในท่าเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน

2.ตำบลปากน้ำ กลุ่มอาชีพจักสานจากก้านจาก มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 10 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : เสี่ยงในด้านกายภาพ เช่น ฝุ่นละอองจากก้านจาก ท่าทางในการนั่งทำงาน /ความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมี เช่น ทินเนอร์ น้ำมันสน เลคเกอร์
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง บ่า ไหล่ และอาการนิ้วล็อก อาการมึนเวียนศรีษะ ปวดหัว และแสบจมูก -การออกแบบกิจกรรมลดตวามเสี่ยง: มีการออกแบบ 3 วิธี 1) การปรับกระบวนการในการทำงาน เช่น การใช้เครื่องจักรในขั้นตอนการเลาซี่  2) จัดสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การทำงานอยู่ในที่โล่ง อากาศท่ายเท เพื่อลดฝุ่นละออง 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การกำหนดเวลา การจัดทำข้อตกลงของกลุ่ม การบริหารร่างกาย

3.ตำบลกำแพง กลุ่มอาชีพก่อสร้าง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 19 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด ฝุ่นละออง เสียงดีงของเครื่องยนต์ / ด้านอุบัติเหตุ เช่น ตกจากที่สูง ของมีคมบาด เช่น ตะปู เหล็ก / ด้านเคมี เช่น สีทาบ้าน
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น เป็นหวัด ภูมิแพ้ อาการหน้ามือ เป็นลม และปวดหลัง บ่า ไหล่ เข่า -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ2วิธี 1) การปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น การใช้มาตรการ5ส. 2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การใช้แมสป้องกันฝุ่น การยกของ หิ้วของ ใช้ท่าลุกนั่งที่ถูกวิธี
4.ตำบลละงู กลุ่มอาชีพประมง กลุ่มอาชีพก่อสร้าง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 15 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด เสียงดังของเครื่องยนต์ ยกของหนัก(ลากอวนปลา) การผักผ่อนไม่เพียงพอ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหัว ปวดเอว ปวดบ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) กระบวนการในการทำงาน เช่น หลับให้เพียงพอก่อนออกเรือ การให้ความรู้นอนอย่างไรให้มีคุณภาพ การใช้ภาษามือในการสื่อสารขณะขับเรือ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การปรับเรื่องที่นอน (เบาะ) การทำหลังคาเรือเพื่อลดแสงแดด 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การสวมหมวก หรือจัดหาอุปกรณ์ในการป้องกันแดด การหาอุปกรณ์ในการปิดหูขณะวิ่งเรือ 5.ตำบลบ้านควน กลุ่มอาชีพสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 40 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ท่าทางในการทำงาน การกรียดยาง หน้ายางต่ำ หน้ายางสูง /ด้านอุบัติเหตุ เช่น สัตว์มีพิษ มีดกรีดยาง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ เข่า ศรีษะ การบาดเจ็บจากสัตว์มีพิษกัด ต่อย -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) กระบวนการในการทำงาน เช่น การหลับให้เพียงพอ (หลับแต่หัวค่ำ) ก่อนไปกรีดยาง การสวมใส่ถุงมือ รองเท้าบูธ ป้องกันสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ การใช้ถังไบเล็กเก็บน้ำยาง และถังใบใหญ่วางระหว่างแถว เพื่อถ่ายเทน้ำยาง 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น พื้นที่สวนยางไม่ปล่อยให้รก ให้พื้นที่โล่งเตียน และพื้นที่สวนใกล้เคียง 3) มีความระมัดระวัง ไม่ประมาท การผักผ่อนให้เพียงพอ