กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ประชุมคณะทำงานระดับเขต12สงขลา(ทีมบริหารโครงการฯ)6 มกราคม 2563
6
มกราคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 6 มกราคม เวลา 13.00 น. ณ สปสช.เขต 12สงขลา คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับเขต และทีมบริหารโครงการ ได้ร่วมสรุปผลการดำเนินงานในงวดที่1 (สค.-ธค.62) โดยมีพี่เลี้ยงเข้าร่วมดังนี้ ภก.สมชาย ละอองพันธุ์ ,ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย ,นายบรรเจต นะแส ,นายวิเชียร มณีรัตนโชติ ,นางสาวยุรี แก้วชูช่วง ,นางสาวอารีย์ สุวรรณชาตรี ,นางสาวคณิชญา แซนโทส จากการรายงานผลการดำเนินงานดังนี้ 1. รายงานผลจากการลงพื้นที่เป็นรายจังหวัด ทั้ง6 จังหวัด เพื่อชี้แจงโครงการฯแรงงานนอกระบบให้กับกองทุนสุขภาพตำบลนำร่อง ทำให้เห็นถึงสมรรถนะของพี่เลี้ยงในแต่ละจังหวัด ดังนี้

1.ผลที่เกิดขึ้นจากการลงพื้นที่ชีแจงกองทุน

1.1.จังหวัดยะลา จังหวัดตรัง ทำให้เห็นจุดของพี่เลี้ยงในการเข้าใจงาน เข้าใจโครงการฯ กระบวนการของเวทีพี่เลี้ยงระดับจังหวัดยังคงไม่สามารถทำกระบวนการได้ คณะทำงานเขตที่ลงไปยังเป็นคนหลักในการจัดการ ดังนั้นจึงได้ปรับวิธีการทำงานโดยมีการลงไปเตรียมในพื้นที่ก่อน ทำความเข้าใจกับพี่เลี้ยงเพื่อวางบทบาทร่วมกัน ถึงแม้จะเสียเวลา และมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นจากแผนเดิม แต่ก็เห็นประโยชน์ คือพี่เลี้ยงเข้าใจเนื้องาน มีการแบ่งบทบาท ความรับผิดชอบในการจัดประชุม
-นายบรรเจต นะแส สะท้อนจากการลงพื้นที่ พื้นที่จังหวัดสงขลา มีกระบวนการ /เนื้องานที่ได้ Input มากกว่ากระบวนการกลุ่มย่อย เนื่องจากห้องประชุมไม่ได้เอื้อในการจัดแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ จังหวัดนราธิวาส มีกระบวนการของกลุ่มย่อย กองทุนนำร่องได้ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์กลุ่มแรงงานในพื้นที่ จากการจัดเวทียังมีจุดอ่อนคือ ตัวของกลุ่มแรงงานนอกระบบที่อยู่ในพื้นที่ได้เข้ามาร่วมวางแผน /หรือออกแบบกิจกรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่กองทุน หรือคณะกรรมการกองทุน
-นายวิเชียร มณีรัตนโชติ สะท้อนจากการลงพื้นที่ จังหวัดพัทลุง พี่เลี้ยงเข้าใจเนื้องาน ดังนั้นในเวทีจะเห็นบทบาทของพี่เลี้ยงที่ช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับกองทุนตำบลนำร่อง ดังนั้นในการทำงานของทีมเขต จะต้องประเมินว่า กลไกจังหวัดขาดอะไร และจะต้องเติมอะไร จึงควรมีการจัดเวทีสรุปบทเรียนในช่วงแรก เพื่อสะท้อนปัญหาอุปสรรค และการวางแผนงานต่อในระดับพื้นที่

2.แนวทางพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง

2.1. สนับสนุนให้เกิดการจัดการข้อมูลในพื้นที่

2.2. การนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผน

2.3. การสรุปข้อมูล

2.4. การทำงานเป็นทีม

2.5. การวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบ/กลุ่มเสี่ยง ก่อนออกแบบโครงการ

2.6. ติดตามอย่างใกล้ชิด

2.7. เร่งรัดชุมชนให้มีแผน ให้ทำข้อมูลเรียนรู้เรื่องข้อมูล อสอช.

3.เกณฑ์ของพื้นที่ต้นแบบ
3.1. มี อสอช. ในพื้นที่

3.2. มีข้อมูล

3.3. มีแผนสุขภาพตำบล

4.หลักสูตร อสอช.(พัฒนาโดยอาจารย์แสงอรุณ) โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่มาเรียนรู้ คือ แกนนำชุมชน /อสม. /ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ที่ตั้งใจทำและพัฒนากลุ่มตนเอง

ดังนั้นกิจกรรมในเดือนถัดไป มค.-กพ.63 จัดให้มีประชุมกลไกจังหวัด เพื่อสรุปงาน/ ทบทวนงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ พื้นที่ที่เป็นตัวจริง (พื้นที่ในใจ) /โครงการฯสนับสนุนกลุ่มเสี่ยง ที่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนตำบล /ตัวตนของกลุ่มแรงงาน คือกลุ่มไหน ใครที่อยู่ในชุมชน / การทลายกรอบของท้องถิ่นที่ยังมองเฉพาะกลุ่มที่มีการขึ้นทะเบี่ยน หรือจดทะเบียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานมีการทบทวนงานที่ทำร่วมกันในระหว่างเดือน สค.-ธค. ทำให้เห็นวิธีการทำงานของทีมที่ลงสนับสนุนพื้นที่ (ซึ่งต้องมีการเตรียมตัวก่อน กิจกรรมแบ่งซอยเป็นกลุ่มกิจกรรมย่อย) และการปรับแผนการทำงาน ทำให้เกิดการเสริมศักยภาพของกลไกจังหวัด กลไกจังหวัดมีการเข้าใจงาน เข้าใจประเด็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น

2.มีการกำหนดแผนงาน การทำงานของทีมเขตในช่วงเดือน มค.-กพ.ในการประชุมติดตามงานของกลไกจังหวัด เพื่อสรุปและทบทวนงานร่วมกัน ให้ได้ผลลัพธ์ คือ ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง,พื้นที่ต้นแบบ35แห่ง,ข้อตกลงร่วมในระดับอำเภอ/จังหวัด ในประเด็นแรงงานนอกระบบ ,บทเรียนโครงการที่ดี

3.จากการติดตามงานในระบบเว้ปไซต์กองทุน ทำให้เห็นข้อมูลของการจัดทำแผนงาน/การพัฒนาข้อเสนอโครงการ ของกองทุนนำร่องทั้ง146 ตำบล กองทุนที่มีการพัฒนาข้อเสนอโครงการ และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนและเป็นโครงการที่ดี ที่มีการออกแบบกิจกรรมครอบคลุมในเนื้อหา ประเด็น มีการจัดตั้งทีม อสอช. และการพัฒนาศักยภาพอสอชในพื้นที่ / การจัดทำข้อมูลกลุ่มเสี่ยง / การจัดบริการสุขภาพกลุ่มเสี่ยง / การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานของกลุ่มเสี่ยง มีจำนวน 4 โครงการ ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย

1.โครงการแรงงานประมงสุขใจ ดูแลสุขภาพได้ ก่อนออกทะเล เทศบาลตำบลหนองจิก (ปีที่ 2 )

2.โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มเกษตรกรในตำบลตุยง ปี 63

3.โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพในกลุ่มเกษตรกรตำบลดอนรัก

4.โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ตำบลนาประดู่