กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

การประชุมทีมผู้รับผิดชอบโครงการในการวางแผนงานและติดตามการดำเนินโครงการฯ :ประชุมวางแผนผู้ประสานงานโครงการและคณะทำงานจากแผนงานกลาง22 กรกฎาคม 2562
22
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 เวลา 09.00-15.00 น. ณ.ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต12 สงขลา อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ชั้น 3 ถนนเพชรเกษม ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประชุมโครงการกลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับแรงงานนอกระบบ เพื่อหารือและกำหนดแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่นสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ และการนำเสนอโครงการฯ กรอบคิดและกลไกการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ โดยอาจารย์อรพิน วิมลภูษิต ได้กล่าวว่า คุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบนั้น ต้องมีปัจจัยและหน่วยงานต่างๆเข้าบูรณางานร่วมกัน ดังนี้

1.ด้านการคุ้มครองแรงงานและการมีหลักประกันทางสังคมตามมาตรา 40 , กอช.และสวัสดิการชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้องโดยมีกระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตร กระทรวงการคลัง อปท.และพม.เข้ามาร่วมด้วย

2.ด้านสุขภาพและความปลอดภัย ต้องมีหน่วยงานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น กรมควบคุมโรค ,สปสช. ,สสส.,กรมสวัสดิการและสังคม กระทรวงแรงงาน ,อปท. กระทรวงมหาดไทย

3.ด้านองค์กรแรงงาน ผู้นำ เครือข่ายแรงงาน จำเป็นต้องมี สภาองค์กรชุมชนเข้ามาร่วมด้วย สภาเกษตรกร องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง มารีวมกันขับเคลื่อน

4.ด้านสัมมาชีพ ต้องมีหน่วยงาน พช. หรือ กศน.เข้ามาร่วมอีกทั้งต้องมีกลุ่มภาคเกษตรกร แรงงาน พานิชย์ อุตสาหกรรม และภาคเอกชน นอกจากนี้ สถาบันการศึกษา นักวิชาการ และ กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไร(NGOs)ในระดับภูมิภาคหรือระดับจังหวัดเข้ามาร่วมด้วย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลือนแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ร่วมกันซึ่งหากจะเกิดกลไกการ  ขับเคลือนแผนยุทธศาสตร์จังหวัดได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมี กลไกสำคัญคือ กลไกการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ คือ ่ระดับชุมชน ระดับตำบล และระดับอำเภอ ที่เข้าถึงและเข้มแข็ง ซึ่งเป็นผลกระทบเชิงบวกที่ดีของการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนั่นเอง จากเป้าหมายการส่งเสริมการป้องกันโรคกลุ่มแรงงานนอกระบบ โครงการในปีที่ผ่านมานี้เป็นเป้าหมายระยะสั้นที่จัดทำขึ่นในเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม 2561ได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางได้ด้วยดีและ สำเร็จได้ทันเวลา ท่านอาจารย์อรพินได้ กล่าวชื่นชมการทำงานของเขต 12 สงขลา ที่ได้ทำโครงการพัฒนากลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ(อาชีวะอนามัย)ในพื้นที่เขต12 และได้ดำเนินการต่อในปี 2562-2563 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการส่งเสริมป้องกันโรคกลุ่มแรงงานนอกระบบ ของสสส. ที่มุ่งเน้นการจัดการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อหรือส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น หน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิและกลุ่มหรือเครือข่ายแรงงานนอกระบบในพื้นที่เป้าหมาย

เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ได้สรุปทบทวนผลการดำเนินโครงการพัฒนากลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ(อาชีวะอนามัย)ในเขตพื้นที่ 12 สงขลาให้ที่ประชุมทราบดังนี้ โครงการมีกระบวนการสำคัญ 3 ขั้นตอน ได้แก่

  1. การประชุมกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบระดับพื้นที่ เขต 12 สงขลา

  2. พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอาชีวะอนามัยในระดับชุมชนท้องถิ่น

3.พัฒนาแผนแรงงานนอกระบบ (กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง)โครงการเข้าสู่กองทุนสุขภาพท้องถิ่น ซึ่งผลลัทธ์จากทำแผนแรงงานนอกระบบใน 7 จังหวัด ของเขต12 ได้ โครงการที่เข้าสู่กองทุนท้องถิ่น จำนวน 21 โครงการ เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ยังกล่าวถึง สถานการณ์ทางการเงินคงเหลือสะสม ของทั้ง 7 จังหวัด สามารถกล่าวได้ว่าเงินพร้อมกับการทำงานอย่างยิ่ง นอกจากนี้ได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนากองทุนสุขภาพตำบลเขต 12 สงขลา ที่เป็นจุดแข็งของการทำงานคือ 1. )การมีพี่เลี้ยงประจำกองทุนตำบล ซึ่งพี่เลี้ยงมีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษากองทุนที่รับผิดชอบ เช่น การปรับแผน การปรับโครงการ 2.) มีระบบโปรแกรมบริหารกองทุนสุขภาพตำบลภาคใต้ www.localfund.happynetwork.org เพื่อให้การสื่อสารและการรายงานผล ในการดำเนินโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานนอกระบบโดยกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่(สปสช.) กลไกสุขภาพภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โดย คณะบุคคลพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบเขต 12 เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบ โดยมีวัตถุประสงค์
1.พัฒนาศักยภาพทีมกลไกคณะทำงานพี่เลี้ยง อาสาสมัครอาชีวะอนามัยในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในระดับพื้นที่

2.การนำร่องพื้นที่ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตัวชีวัด ผลผลิต ผลลัพธ์ของโครงการ 1. ด้านการจัดการความรู้ นวัตกรรม และสื่อรณรงค์ 2 ได้คู่มือการพัฒนา และติดตามโครงการ อย่างน้อย 2 ชุด 3.ได้เอกสารชุดการสังเคราะห์ความรู้และประสบการณ์การบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ แรงงานนอกระบบ ระดับพื้นที่ 4.เกิดชุดสื่อรณรงค์เพื่อการสื่อสารสาธารณะที่เป็น Mass idea อย่างน้อย 1 เรื่อง 5.เกิดการสื่อสารเรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานสู่สังคมวงกว้างเพื่อสร้างความตระหนักต่อการสร้างเสริมสุขภาวะตนเอง 6.ได้ข้อเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานของรระบบ สสส., สปสช.,และ สธ.โดยเป็นโครงการที่มีคุณภาพร้อยละ 80 7.ได้ระบบสารสรเทศ Online ที่ใช้ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินโครงการสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานนอกรระบบระดับพื้นที่ 8. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเกิดความรอบรู้มีขีดความสามารถด้านสุขภาวะ 9.ทีมพี่เลี้ยง นักวิชาการ และผู้เสนอโครงการร้อยละ 100 ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพและมีทักษะในการใช้ระบบติดตามและประเมินผลและนำความรู้ไปปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพ 10.เกิดข้อเสนอโครงการ 140 โครงการในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในพื้นที่ 14 อำเภอของ 7 จังหวัด 11.เกิดพื้นที่สุขภาวะต้นแบบในการบูรณาการทำงานร่วมของสสส. สปสช. และ สธ.ที่สามารถนำไปขยายผลในเชิงพื้นที่ และนโยบาย 12.เกิดพื้นที่สุขภาพวะต้นแบบ 1 พื้นที่ 13.เกิดพื้นที่ต้นแบบนำร่องในการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานนอกระบบรับดับ่พื้นที่อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง 14.อาสาสมัครอาชีวะอนามัยชุมชนอย่างน้อยตำบลละ 5 คน ที่มีความรู้ในการวิเคราะห์จัดการความเสี่ยงจากการทำงานด้วยตนเองและกลุ่ม 15.เกิดนโยบายสาธารณะทั้งระดับชาติ ระดับพื้นที่ ระดับหน่วยงาน 16.เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายในระบบบริการสุขภาพ ในการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะแรงงานนอกระบบระดับพื้นที่ 17.กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีแผนและโครงการการสร้างเสริมสุขภาวะ ประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบที่เกี่ยวข้องตามบริบทของพื้นที่ประมาณ 140 กองทุน

แนวทางการทำงาน เขต 12

1.ทีมงานระดับเขต 12 (7-8 คน)

2.ตัวแทนจังหวัด เลือกกองทุนตำบล 20 แห่ง ต่อ จังหวัด

3.เลือกทีมระดับจังหวัด 10 คนต่อจังหวัด

4.เน้นกระบวนการพัฒนาแผน และ โครงการ อนุมัติโครงการ

5.จัดถอดบทเรียน ผลงาน ประเมินคุณค่าโครงการ และแสดงข้อมูลบนเว็บไซต์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานโครงการจากแผนงานกลาง และคณะทำงานโครงการ เขต 12 จำนวน....12.....คน ทำความเข้าใจโครงการฯ ร่วมกัน