กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ประชุมคณะทำงานระดับเขต1226 ธันวาคม 2562
26
ธันวาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา 13.00-16.00 น ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 12 สงขลา
ชั้น 3 อาคารสยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย

1.ผศ.แสงอรุณ อิสระมาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2.ภก.สมชาย ละอองพันธ์ สปสช.เขต12สงขลา

3.นส.ยุรี แก้วชูช่วง คณะทำงานโครงการฯ

4.นายวิเชียร มณีรัตนโชติ พี่เลี้ยงระดับเขต 12 สงขลา

5.นางจันทนา เจริญวิริยะภาพ พี่เลี้ยงระดับเขต 12 สงขลา

6.นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี คณะทำงานโครงการฯ

7.นส.คณิชญา แซนโทส คณะทำงานโครงการฯ

เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.

นส.อารีย์ สุวรรณชาตรี รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ในระยะที่1 (สิงหาคม-ธันวาคม2562) ดังนี้ 1.การดำเนินกิจกรรมเพื่อทำความเข้าใจโครงการฯร่วมกับแผนงานกลาง การพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับจังหวัด การลงพื้นที่ จังหวัดเพื่อทำความเข้าใจชี้แจงกองทุน จำนวน 140 กองทุน และการประชุมติดตามงานของคณะทีมบริหารเขต

2.การรายงานกิจกรรม มีการบันทึกกิจกรรมในระบบเว้ปไซต์กองทุนสุขภาพตำบล มีหลักฐานประกอบด้วย ภาพถ่าย รายงานการเงิน

-นส.คณิชญา แซนโทส เอกสารการเงิน มีการดำเนินการจัดเก็บ เช่น บิลค่าใช้จ่าย ใบสำคัญรับเงิน ใบยืม คืน เงินทดลองจ่ายในส่วนที่สนับสนุนจังหวัดละ 20,000 ในงวดที่1

-นส.ยุรี แก้วชูช่วง ในการลงพื้นที่ชี้แจงกองทุน บางจังหวัดยังไม่เห็นศักยภาพของพี่เลี้ยงในกระบวนการเวที เนื่องจากการขาดการประชุมเตรียม ทำให้ดูเหมือนเขตทำเอง ซึ่งยังคงอยากให้ยึดหลักของเวที 8-9ตค.ที่หาดแก้ว เกี่ยวกับการทำความเข้าใจของพี่เลี้ยงที่มาอบรม และหลังจากอบรมต้องกลับไปทำความเข้าใจกับเพื่อนๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วม

-ภก.สมชาย ละอองพันธ์ ในการติดตามงาน เขต12มีกระบวนการทำงานที่ผ่านระบบเว้ปไซต์ กองทุนต้องมีแผน และการพัฒนาโครงการในระบบ ซึ่งพี่เลี้ยงจะได้มีการติดตามงานได้

-อาจารย์แสงอรุณ อิสระมาลัย ในส่วนของการประเมินภายในตอนนี้ได้จัดทำหลักสูตร อสอช. ไว้แล้ว ส่วนการลงพื้นที่จะใช้กลไกเขตในการลงไปทำงาน และการเก็บข้อมูล ในการเก็บข้อมูลกลุ่มอาชีพเสี่ยง พื้นที่เข้มข้นเก็บทุกกลุ่มอาชีพ เก็บ25%

สรุปข้อคิดเห็นจากการแลกเปลี่ยนดังนี้

1.งบประมาณสนับสนุนในงวดที่1 มีการดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จ มีการติดลบค่าใช้จ่ายของพื้นที่สตูลและค่าตอบแทนผู้ประสานงานโครงการฯ

2.เขตต้องทำแผนงวดที่2 ,ส่งเอกสารการเงินให้กับแผนงานกลาง,และสรุปรายงานประจำงวด

3.ให้ทาง นส.อารีย์ ได้ประสานพี่เลี้ยงและคณะทำงานโครงการฯ ประกอบด้วย นายวิเชียร มณีรัตนโชติ,นายบรรเจต นะแส ,นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ในการจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงจังหวัด

4.การสรุปรายงานประจำงวด นส.อารีย์ ดำเนินการเขียนรายงานและให้ทางอาจารย์แสงอรุณ ช่วยดูข้อมูลอีกครั้งเพื่อความสมบรูณ์

5.แผนการดำเนินงานในระยะที่2 (มค-มิย.63) ประกอบด้วย

-เวทีสรุปและทบทวนการทำงานช่วงที่1 ทบทวนและปรับศักยภาพพี่เลี้ยง

-การนำเสนอแผนสุขภาพตำบล (แรงงานนอกระบบ) และร่างโครงการรายจังหวัด

-พัฒนากลไก หลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัย( อสอช.)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดรุปแบบแผนการดำเนินงานในระยะที่2

2.คณะทำงานได้ร่วมการทบทวนการทำงานในระยะที่1 ทำให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็งของการทำงานในระดับพื้นที่