กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงโครงการฯรายจังหวัด การทำแผนสุขภาพ พัฒนาโครงการ จังหวัดตรัง18 พฤศจิกายน 2562
18
พฤศจิกายน 2562รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 18 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุมวิทยาลัยสารพัดช่างตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง คณะทำงานพี่เลี้ยงจังหวัดตรังจัดประชุมชี้แจงแนวทางโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ) ให้กับกองทุน จำนวน 20 กองทุน โดยมีกองทุนเข้าร่วม 17 กองทุน จากอำเภอห้วยยอด อำเภอรัษฎา อำเภอเมืองสิเกา อำเภอนาโยง และอำเภอวังวิเศษ ผู้เข้าร่วมชมวิดีทัศน์เกี่ยวกับประเด็นแรงงานอกระบบ และทำความเข้าใจภาพรวมขอโครงการฯ และการดำเนินงานกองทุนในประเด็นแรงงานนอกระบบโดย เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ผู้ประสานงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา
คณะทำงานระดับเขตนายวิเชียร มณีรัตนโชติและ นางสาวยุรี แก้วชูช่วง แบ่งกลุ่มให้กองทุนวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานนอกระบบในพื้นที่ จำนวน 2 กลุ่ม กองทุนร่วมวิเคราะห์และนำเสนอกลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 กองทุนในพื้นที่อำเภอห้วยยอด
-ช่างซ่อมรถ -ช่างเสริมสวย /ช่างตัดผม -คนงานโรงน้ำแข็ง -ผู้ประกอบการร้านอาหาร -กลุ่มผลไม้ (ฝรั่ง มะละกอ ) -แรงงานแบกไม้ยาง -รับจ้างพายเรือ -กลุ่มรับซื้อน้ำยางสด -คนงานเก็บขยะ -รับจ้างฉีดหญ้า -อาชีพเผาถ่าน -ผู้ประกอบการกลุ่มเลี้ยงสัตว์ -กลุ่มรับจ้างด้านเกษตรกรรม -ผู้ประกอบการอาบอบนวด -กลุ่มประมงน้ำจืด -แรงงานก่อสร้าง -พ่อค้า แม่ค้า -ช่างตัดเย็บเสื้อ -กลุ่มแกะสลักไม้เทพธาโร -กลุ่มรับซื้อของเก่า

ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ ดังนี้-สารเคมี สารตะกั่ว มลพิษทางเสียง -สารเคมีที่ใช้ทำสีผม ยืดผม -สารฟอมาลีน -ควันไฟ กลิ่น สารปนเปื้อน -สารเคมีกำจัดศัตรูพืช -ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ -สารเคมีสำหรับเติมน้ำยาง -สารเคมี เชื้อโรค -ควัน ฝุ่นละออง -กลิ่น เชื้อโรคจากสัตว์ -อุบัติเหตุ -โรคทางผิวหนัง -โรคฉี่หนู โรคหวัด -โรคทางสายตา -โรคจากยุง และแมลง

กลุ่มที่ 2 กองทุนในพื้นที่ อำเภอรัษฏา /อำเภอเมือง /อำเภอสิเกา /อำเภอนาโยง และอำเภอวังวิเศษ
-แม่ค้า -ช่างเสริมสวย -ช่างเชื่อม -คนแบกไม้ -แรงงานก่อสร้าง -ลูกจ้างทั่วไป -จ้างเหมาบริการ เก็บขยะ (อปท.) -ลูกจ้างฟาร์มเลี้ยงสัตว์ -ลูกจ้างโรงรมน้ำยางสด ยางแผ่น -รับจ้างตัดหญ้า ฉีดหญ้า -คนกรีดยาง -คนย่างหมู -อู่ซ่อมรถ -ลูกจ้างตัดปาล์ม -พนักงานขับรถสิบล้อ -ลูกจ้างรายวันปั้มน้ำมัน ,ปั้มแก๊ส -เด็กบริการล้างรถ

ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ 1.มีสิทธิ์การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน แต่ไม่มีสิทธิ์การรักษาพยาบาลด้านแรงงาน 2.ปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมไม่ถูกต้องของแต่ละกลุ่มอาชีพ เช่น แม่ค้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ,
ช่างทาสี ช่างเชื่อม มีปัญหาทางด้านทางเดินหายใจ สายตา คนกรีดยาง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จากการได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไปและพฤติกรรมเสี่ยงโรคเรื้อรัง 3.กลุ่มอาชีพแรงงานนอกระบบไม่มีหลักประกันสุขภาพที่มั่นคง ยกเว้นกลุ่มที่มีรายได้สูงสามารถซื้อสิทธิ์ประกัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-กองทุนเข้าร่วม จำนวน 17 กองทุน มีความเข้าใจการดำเนินงานของกองทุนตำบล และสามารถใช้ใช้เครื่องมือแอบพลิเคชั่น application แรงงานนอกระบบ หรือ informallabor หรือที่เว้ปไซต์ http://iw.in.th/app เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลอาชีวอนามัยของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง (แรงงานนอกระบบ )

-คณะทำงานเขตสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ของกองทุนที่เข้าร่วม และการทำงานของพี่เลี้ยงระดับจังหวัด เพื่อได้ปรับปรุงการหนุนเสริมของเขตในกิจกรรมต่อไป

นายวิเชียร มณีรัตนโขติ คณะทำงานระดับเขตได้ให้ความเห็นความเห็นตรงของพื้นที่จังหวัดตรัง ดังนี้

1.ยังเห็นการรับผิดชอบของทีมทำงานไม่ชัดเจนและยังไม่เห็นทิศทางที่จะเดินไปข้างหน้าเหตุเพราะทางส่วนกลางมอบโจทย์ไม่ชัด หรือต้องการที่จะลงไปทำแทนให้กับทีมจังหวัด ถ้าลักษณะหลัง ทีมจังหวัดจะไม่โตและทำงานไม่เป็น

2.การวิเคราะห์ปัญหาที่จะนำมาสู่การเขียนโครงของพื้นที่ยังไม่ลึกพอ ดังนั้นต้องเน้นทีมจังหวัดให้มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่และค้นหากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเพื่อจะไม่ต้องเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายใหม่

3.ทีมเขตหรือทีมเจ้าหน้าที่ต้องวางบทตัวเองให้ชัด ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำงานที่ทับเส้นกัน และก่อนเปิดเวทีต้องมีการมีการคุยกันก่อนในทีมทั้งหมดไม่ว่า เขต/จังหวัด/เจ้าหน้าที่

4.การมอบโจทย์สุดท้ายเพื่อมอบหมายงานให้กับทีมตำบลยังไม่ชัด หมายเหตุ โดยภาพรวมอย่างอื่นดี เช่น สถานที่จัด /ผู้เข้าร่วม/