กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ประชุมเตรียมความพร้อมจัดอบรม อสอช.จังหวัด(ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง)8 กรกฎาคม 2563
8
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย คณิชญา แซนโทส
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยแรงงานนอกระบบจังหวัดปัตตานี(เขต)

1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดปัตตานี วันที่ 8 กค. 63 ณ.ห้องประชุมศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา วิทยาลัยกาญจนภิเษก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
3.2.กิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย จังหวัดปัตตานี วันที่ 9 กค.63 ณ.ห้องประชุมศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา วิทยาลัยกาญจนภิเษก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด /พี่เลี้ยงระดับตำบลในการจัดอบรมแกนนำอาสาสมัครอาชีวอนามัย 2.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสอช.ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเว้ปไซต์แรงงาน iw.in.th /การวิเคราะห์JSA /และการออกแบบกิจกรรมลดความเสี่ยงในการทำงาน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 106 คน ประกอบด้วย -คณะทำงานระดับเขต จำนวน 6 คน   -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับจังหวัด จำนวน 7 คน -คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับตำบล จำนวน 13 คน -ตัวแทน พอช.จำนวน 1 คน -ตัวแทนแกนนำ อสอช.จำนวน 79 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อบรมหลักสูตรอาสาสมัครอาชีวอนามัยแรงงานนอกระบบจังหวัดปัตตานี(เขต)

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ) การอบรมอาสาสมัครอาชีวอนามัยจังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ตำบลเข้าร่วม15ตำบลนำร่อง ซึ่งตำบลที่เข้าร่วมได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนตำบลแล้วทั้งหมด ดังนี้

1.ตำบลบ่อทอง กลุ่มทำเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 24 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ทำงานกลางแสงแดด /ด้านเคมี การสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฉีดหญ้า ยากำจัดแมลง ฝุ่นละออง
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : เช่น เกิดผื่นคัน ตุ่มพอง โรคผิวหนัง
  -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน มีการนำสารอินทีย์ทดแทนเคมี การใช้ปุ่ยหมัก 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การสวมใส่ถุงมือ ถุงเท้า รองเท้า 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การให้ความรู้ในการป้องกันสารเคมี และการใช้สารอินทรีย์ การอาบน้ำทันทีหลังเสร็จงาน

2.ตำบลลิปะสะโง กลุ่มทำเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ทำงานกลางแดด / ด้านเคมี มีการใช้ยาฆ่าแมลง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหัว หน้ามืด โรคฉี่หนู
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน โดยปรับเวลาในการทำงานในช่วงเช้าให้เร็วขึ้น ลด เสี่ยงแดดจัดในตอนเที่ยง หรือช่วงที่แดดแรง ลดการใช้สารเคมี มีการใช้สารอินทรีย์ทดแทน 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การดูแลพื้นที่แปลงเกษตรให้มีการโล่งเตียน 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การสวมหมวก ถุงมือ และอุปกรณ์ในการป้องกันทุกครั้งก่อนทำงาน

3.ตำบลดาโต๊ะ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ ท่าทางในกรีดยาง การลุกนั่ง การยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง ตื่นตอนดึกเพื่อไปกรีดยาง /อุบัติเหตุ สัตว์มีพิษ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดเข่า หลัง บ่า ไหล่ เท้า และพักผ่อนไม่เพียงพอ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น มีการพักเป็นระยะในช่วงที่มีการกรีดยาง ในต้นยางที่หน้าต่ำ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น แผ้วถางให้พื้นที่สวนโล่งเตียน ลดสัตว์มีพิษมาอยู่อาศัย 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมรองเท้า ถุงเท้า ป้องกันสัตว์มีพิษ

4.ตำบลยาบี กลุ่มทำนา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น การก้มๆเงยๆ และยืนเป็นเวลานาน ตากแดด ตากฝน -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดศรีษะ ปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดเอว -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น ทำงานในช่วงแดดอ่อน หยุดพักในช่วงที่มีแดดแรง ทำงานในช่วงเช้าให้เร็วขึ้น การใช้อุปกรณ์ในการขนย้ายเช่น รถเข็น การใช้เก้าอี้ในการรองนั่งขณะหยุดพัก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การสวมหมวกป้องกันแสงแดด

5.ตำบลตุยง กลุ่มรับจ้างตัดหญ้า มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 40 ชุด
-ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น แบกเครื่องตัดหญ้าเป็นเวลานาน /ด้านอุบัติเหตุ เช่น มีดตัดหญ้าบาด เศษกิ่งไม้ เศษหิน กระเด็นเข้าบริเวณใบหน้า
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง บ่า ไหล่ /การบาดเจ็บจากเครื่องตัดหญ้า จากเศษกิ่งไม้เศษหิน -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ใช้เครื่องตัดหญ้าที่มีฝาครอบ 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมใส่รองเท้าบู้ท แว่นตา หมวกกันน็อก และการระมัดระวัง การสังเกตพื้นที่ก่อนตัดหญ้า

6.ตำบลบางโกระ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ก้มๆเงยจากการกรีดยางหน้าสูง เอื้อมสุดมือ และยกของหนัก ยกแกลลอนน้ำยาง หิ้วน้ำยาง
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง บ่า ไหล่ และปวดคอ
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2 วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน ในต้นยางที่มีหน้าสูงใช้ไม้ต่อมีดกรีดยางให้ยาวขึ้น เพื่อลดการเอื้อม ในการยกน้ำยางใส่รถ แบ่งน้ำยาง ไม่ใช้ยกทีเดียว 2) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น กายบริหารบริเวณ บ่า ไหล่ และกำลังส่วนขา บริเวณเข่า ผักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีแคลเซี่ยม

7.ตำบลเกาะเปาะ กลุ่มเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 28 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด /ด้านเคมี มีการสัมผัสยาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดบ่า ไหล่ หน้ามืด เป็นลม แสบตา แสบจมูก -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น สวมใส่ชุดมิดชิด ป้องกันสารเคมีระเหยเข้าจมูก เรียนรู้การใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ช่วงที่มีการพ่นสารเคมีทำในช่วงเช้า และไม่พ่นเหนือลม 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น จัดหาเครื่องทุนแรง การใช้เก้าอี่รองนั่งในขณะหยุดพัก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมรองเท้า ถุงเท้า การใช้ผ้า หมวกในการปกบิดบริเวณใบหน้า

8.ตำบลบางเขา กลุ่มเกษตร มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 32 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด การก้มเป็นเวลานาน การยกของ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดบ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ในช่วงที่มีการเพาะปลูกลงแปลงในตอนเช้า เสี่ยงตอนแดดแรง ในช่วงปลูกพืช ควรพักเป็นระยะ ไม่นั่งยองเป็นเวลานาน การใช้รถเข็นในการขนย้ายผลผลิต 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้เก้าอี้รองนั่งในขณะหยุดพัก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น หยุดพักในขณะเกิดการเมื่อยล้า สวมหมวกป้องกันแสงแดด

9.เทศบาลตำบลหนองจิก กลุ่มประมง (คัดปลา) มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 26 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น นั่งเป็นเวลานาน มือเปียกชื้นตลอดเวลา กลิ่นคาวปลา
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : นิ้วเป็นเชื้อรา ปวดหลัง บ่า ไหล่ เข่า
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ในช่วงที่มีการคัดปลา ควรหยุดพักเป็นระยะ 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้โต๊ะ เก้าอี้ 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การออกกำลังกายบริหารในช่วงที่หยุดพัก และมีอาการเมื่อยล้า การสวมแว่นตา สวมหมวก ผ้าปิดจมูก รองเท้าบู้ท ทุกครั้งในการทำงาน

10.ตำบลท่ากำชำ กลุ่มประมง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 20 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ทำงานกลางแดด เสียงเครื่องยนต์เรือ ยกของหนัก(อวนปลา) /ด้านอุบัติเหตุ เรือคว่ำ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 1วิธี 1) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน สวมหมวก แว่นตา ทุกครั้งที่ออกทะเล ในขั้นตอนการยกอวนจัดท่าทางอย่างถูกวิธี

11.ตำบลนาประดู่ กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 29 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกของหนัก ยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง /ด้านอุบัติเหตุ การลื่นล้มมอเตอร์ไซต์
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ คอ
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น เพิ่มจำนวนรอบในการยกน้ำยาง ไม่ยกทีเดียว การใช้ไม้ผูกติดกับมีดกรีดยางให้ด้ามยาวขึ้น ลดการแหงนหน้า คอ ในกรณีตัดยางหน้าสูง 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน จัดหาอุปกรณ์ในการช่วยยกแกลลอนน้ำยาง 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การออกกำลังกายบริหารในช่วงที่หยุดพัก เพิ่มเวลาพักเป็นระยะ การปรับท่ายกของในท่าที่ถูกต้อง

12.ตำบลคอลอตันหยง กลุ่มสวนยางพารา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 30 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ก้มและเงยในการกรีดยาง ยกน้ำยาง หิ้วน้ำยาง การพักผ่อนไม่เพียงพอ
-ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 2วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น เก็บพอประมาณแล้วเทในแกลลอนน้ำยางที่วางบนมอเตอร์ไซต์ไว้แล้ว 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น การใช้เก้าอี้ในยางหน้าต่ำ การตัดหญ้าให้สวนโล่งเตียน

13.ตำบลบางตาวา กลุ่มประมง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 48 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกของหนัก ทำงานวันละหลายชั่วโมง (13ชม./วัน) การใช้แรงเวี่ยงกรณีที่เรือติด เกยตื้น หรือดับกลางทะเล -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่
-การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น จัดทีมสลับทำงานเป็นกะ ตรวจเชคเรื่องมือ เรือ ก่อนออกทะเล ไม่บรรทุกของในเรือเกินกำลัง เช่น ลังน้ำแข็ง 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน สวมใส่แว่นตากันแดด จัดหาเครื่องทุนแรงในการยกอวน 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การออกกำลังกายบริหารในช่วงที่หยุดพัก การปรับท่ายกอวนปลาในท่าที่ถูกต้อง ปรับทัศนคติ

14.ตำบลดอนรัก กลุ่มทำนา มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 29 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านเคมี เช่น การสัมผัสสารฆ่าแมลง สารกำจัดศัตรูพืช ปุ่ยเคมี -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ผื่นคัน เป็นตุ่ม หนอง -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น การใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน เช่น เปิดน้ำในนาให้ไหลสะดวก 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น สวมรองเท้าบู้ท เสร็จจากการทำงาน อาบน้ำชำระร่างกายทันที

15.ตำบลปุโละปุโย กลุ่มประมง มีการสำรวจและคีย์ข้อมูล จำนวน 50 ชุด -ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ : ด้านกายภาพ เช่น ยกของหนัก อวนปลา เสียงเครื่องยนต์เรือ -ผลกระทบต่อสุขภาพ : ปวดหลัง เอว บ่า ไหล่ หูตึง -การวางแผน ทำกิจกรรมลดเสี่ยง : มีการออกแบบ 3วิธี 1) ปรับกระบวนการทำงาน เช่น ตรวจเชคเรื่องมือ เรือก่อนออกทะเล ใช้ภาษามือในการสื่อสาร 2) การปรับสภาพแวดล้อมในงาน สวมใส่แว่นตากันแดด จัดหาเครื่องทุนแรงในการยกอวน การทำหลังคาเรือ 3) การปรับพฤติกรรมคนทำงาน เช่น การปรับท่ายกอวนปลาในท่าที่ถูกต้อง