กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนากลไกและนโยบายการส่งเสริมป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพโดยฐานท้องถิ่น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผ่านกลไก กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เขต 12 สงขลา(ส่วนแผนงานกลาง)27 กุมภาพันธ์ 2563
27
กุมภาพันธ์ 2563รายงานจากพื้นที่ โดย อารีย์ สุวรรณชาตรี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงผ่านกลไกกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่เขต12สงขลา เวลา 09.30 -15.30 น ณ ห้องประชุม สปสช.เขต12สงขลา

1.วัตถุประสงค์ 1.1.เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในระยะที่1 (สค.-ธค.62) 1.2.เพื่อทบทวนงานและวางแนวทางในการทำงานในระยะที่2 (มีค.-มิย.63)

2.สาระสำคัญในการดำเนินกิจกรรม/การประชุม 2.1.การจัดตั้งกลไก อสอช.ในระดับพื้นที่ 2.1.1. พื้นที่การทำงานของเขต12สงขลา ยังไม่มี อสอช.ในพื้นที่ / อสอช.ขาดศักยภาพ
2.1.2. ขาดหลักสูตร อสอช. 2.1.3.แนวทางแก้ไข
-กองทุนสุขภาพตำบลนำร่องมีการเพิ่มกิจกรรมจัดตั้งทีม อสอช.และพัฒนาศักยภาพ โดยใช้เงินกองทุนตำบล -หลักสูตร อสอช. ที่มีเนื้อหา 3วัน ใช้เวลามากเกินไปไม่เหมาะกับพื้นที่ จึงให้มีการปรับหลักสูตรอย่างง่ายสามารถนำไปใช้ได้เลย ระยะเวลา 1-2วัน

2.1.4.เป้าหมาย
-อสอช. มีศักยภาพในการเก็บข้อมูลและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลJSA
-อสอช.สามารถสนับสนุนปฎิบัติการในระดับพื้นที่ในการส่งเสริมป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยง/วิธีลดความเสี่ยงจากการทำงาน
-จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ อสอช.ตามที่พื้นที่จังหวัดเป็นคนออกแบบตามบริบทของพื้นที่ เช่น การอบรมรวมในระดับอำเภอ หรือระดับจังหวัด
-อสอช.มีการเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลJSA เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน
-อสอช.สามารถขยายและเปิดโอกาสให้กับกลุ่ม/เครือข่ายที่ขาดโอกาส กลุ่มอาชีพที่มีปัญหา กลุ่มด้อยโอกาสในพื้นที่
-ข้อมูลสามารถวัดได้ (ก่อนและหลัง)เพื่อชี้ให้เห็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง

2.2.แผนสุขภาพประเด็นแรงงานนอกระบบ ให้มีการออกแบบพัฒนาข้อเสนอโครงการ ให้ครอบคลุมในประเด็น คือ -จัดตั้งทีมอสอช. ที่มีองค์ประกอบจากกลุ่ม /เครือข่าย เช่น อสม.,แกนนำกลุ่มอาชีพเสี่ยง,ผู้นำศาสนา,ผู้นำชุมชน ,ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) -มีการวิเคราะห์ข้อมูลJSA -การคืนข้อมูล/การวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มร่วมกัน -การจัดทำกติกา ข้อตกลงร่วม
-พื้นที่กองทุนบางตำบลที่ไม่มีงบประมาณ งบประมาณมีการจัดสรรไปหมดแล้วในปี63 ให้กองทุนมีการทำแผนไว้ในระบบเพื่อรองรับงบประมาณปี64

2.3.กระบวนการประเมินภายใน -ประเมินโดยกูเกิ้ลฟอร์ม ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมิน (ทีมพี่เลี้ยงเขต ประเมินพี่เลี้ยงจังหวัด) ประกอบด้วย นายเจ๊ะอับดุลล่าห์ ,นส.ยุรี ,อาจารย์แสงอรุณ,อาจารย์ไพฑูรย์,อาจารย์เพ็ญ โดยทำการประเมินสมรรถนะพี่เลี้ยงระดับจังหวัด ในเรื่องการจัดการข้อมูล,การจัดการเครือข่าย,การทำงานเป็นทีม,การสนับสนุนทีมในการทำงานร่วมกัน -ประเมิน อสอช. ผู้ทำหน้าที่ประเมิน (พี่เลี้ยงจังหวัด) ประเมินผลลัพธ์ การมีอสอช.เกิดขึ้นหรือไม่ เกิดโดยใช้กลไกอะไร,การประเมินความเสี่ยงด้านการประกอบอาชีพ คว่ามรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย -ประเมินตนเอง (พี่เลี้ยงจังหวัดประเมินตนเอง)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีเกณฑ์คุณสมบัติของ อสอช.ในระดับพื้นที่ ที่ประกอบด้วย

  • มีองค์ประกอบที่มาจากผู้นำ /เครือข่ายที่หลากหลาย เช่น อสม. ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา แกนนำชุมชน แกนนำกลุ่มอาชีพ

  • อสอช. มีศักยภาพในการเก็บข้อมูลและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลJSA

  • รู้จักแก้ปัญหา และปฎิบัติการในพื้นที่ได้

2.มีพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 11 ตำบลๆละ1กลุ่มอาชีพ ดังนี้

-จังหวัดสงขลา กองทุนตำบลแค ,ตำบลท่าหมอไทร

-จังหวัดพัทลุง กองทุนตำบลโคกม่วง

-จังหวัดปัตตานี (จำนวน 2ตำบล ขอกลับไปหารือในระดับพื้นที่ก่อน)

-จังหวัดยะลา กองทุนตำบลบาละ

-จังหวัดนราธิวาส กองทุนตำบลโคกเคียน ,กองทุนตำบลแว้ง

-จังหวัดตรัง กองทุนตำบลเขากอบ

-จังหวัดสตูล กองทุนตำบลปากน้ำ,กองทุนตำบลกำแพง