กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โภชนาการเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านแอแจะ

ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านแอแจะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ร้อยละของผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหารมีความรู้เรื่องโภชนาการเด็ก2.ร้อยละของเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์3.ร้อยละของเด็กมีภาวะโภชนาการสมวัย

 

39.00

หลักการและเหตุผล
โภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพร่างกาย และคุณภาพชีวิตของในวัยต่างๆ การรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมและเพียงพอทำให้ทุกคนมีโภชนาการดีและนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เป็นโรคขาดสารอาหารหรือถ้ากินมากเกินไปก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน มีภาวะโภชนาการไม่สมวัยร่างกายจำเป็นต้องนำสารอาหารที่มีประโยชน์ไปใช้ทำงานในระบบต่าง ๆ ให้มีความสมดุลและมีประสิทธิภาพ อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในทุก ๆ วัย ทั้งวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในวัยเด็กก่อนวัยเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นวัยที่มีการวางรากฐานพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นระยะแรกที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับการดูแลและเลี้ยงดูอย่างดีที่สุด เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเด็ก อาหารและโภชนาการที่ดี จึงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็ก ได้แก่ ภาวะโภชนาการไม่สมวัย มีปัญหาน้ำหนักไม่ตามเกณฑ์ ล้วนมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องทั้งการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ได้แก่ ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม เด็กไม่ชอบรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ประเภท ผัก ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาหารเพื่อสร้างแรงจูงใจให้อาหารน่ารับประทาน ดังนั้นเพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัย ต้องดูแลการบริโภคอาหารของเด็กอย่างเหมาะสมทั้งอยู่ที่บ้านและที่โรงเรียน โครงการนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง เรื่อง การดูแลพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กอย่างเหมาะสม ให้ความรู้เรื่องเทคนิคการประกอบอาหารให้น่ารับประทานให้กับครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบการอาหาร และผู้ปกครองได้เรียนรู้และได้ปฏิบัติจริงในการประกอบอาหาร เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเด็กไดรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแอแจะจึงได้จัดโครงการโภชนาการสมวัย เด็กปฐมวัยสุขภาพดีมีสุขทุกครัวเรือน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหารมีความรู้เรื่องโภชนาการเด็ก 2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 3.เด็กมีภาวะโชนาการสมวัยเพิ่มมากขึ้น

1.ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหารมีความรู้เรื่องโภชนาการเด็ก 2.เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 3.เด็กมีภาวะโชนาการสมวัยเพิ่มมากขึ้น

78.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 39
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง 39
ผู้ประกอบอาหาร 1

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/06/2019

กำหนดเสร็จ : 31/07/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ตรวจคัดกรองภาวะโภนาการเด็กในศพด. 2.จัดทำเอกสารประกอบการอบรม3.จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการ 4.สาธิตวิธีการประกอบอาหารให้น่ารับประทาน

ชื่อกิจกรรม
1.ตรวจคัดกรองภาวะโภนาการเด็กในศพด. 2.จัดทำเอกสารประกอบการอบรม3.จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการ 4.สาธิตวิธีการประกอบอาหารให้น่ารับประทาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการอบรมผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบอาหาร 1.ค่าไวนิลขนาด1x3 เมตรจำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 690 บาท 2.ค่าเอกสารประกอบการอบรมจำนวน 39 ชุดๆละ 20 บาทเป็นเงิน 780 บาท 3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 39 คนๆละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 1,950 บาท 4.ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 39คนๆละ 50 บาทจำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 1950 6.ค่าวิทยากรบรรยาจำนวน 1 คนๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 600บาทเป็นเงิน2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหารมีความรู้เรื่องโภชนาการเด็ก การป้องกันและแก้ไข้ปัญหาพฤติกรรมการกิน 2.เด็กมีภาวะโภชนาการสมวัย และบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ 3.เด็กมีภาวะโชนาการสมวัยเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7770.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสาธิตการทำอาหารให้น่ารับประทาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสาธิตการทำอาหารให้น่ารับประทาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าขนมปังจำนวน 6 ถุงๆละ 33 บาท เป็นเงิน 198 บาท 2.ค่าไข่จำนวน 2 แผงๆละ 90 บาทเป็นเงิน 180 บาท 3.ค่าผัก หอมใหญ่,พริกหวาน,มะเขือเทศ,แตงกวา เป็นเงิน 220 บาท 4.ค่าเนยจำนวน 1 ถุงๆ 50 บาทเป็นเงิน 50 บาท 5.ค่าซอสมะเขื่อเทศจำนวน 1 ถุงๆละ40 บาทเป็นเงิน 40 บาท 6.ค่ามายองเนสจำนวน 1 ถุงๆละ60 บาทเป็นเงิน 60 บาท 7.ค่าเครื่องปรุง เป็นเงิน 50 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหารมีความรู้เรื่องโภชนาการเด็ก 2.เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 3.เด็กมีภาวะโชนาการสมวัยเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
798.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,568.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง ครู ผู้ประกอบการอาหารมีความรู้เรื่องโภชนาการเด็ก การป้องกันและแก้ไข้ปัญหาพฤติกรรมการกิน
2. เด็กมีภาวะโภชนาการสมวัย และบริโภคอาหารที่มีประโยชน์


>