กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลผดุงมาตร

หมู่ที่ 1 –หมู่ที่ 6 ตำบลผดุงมาตร อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วนของประชากรที่ต้องได้รับการแก้ไขนอกจากโรคติดต่อแล้ว กลุ่มโรคไม่ติดต่อก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและพิการ ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลง และก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ โรคมะเร็ง เป็นที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาทิ เช่น พฤติกรรมการบริโภคพฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียดทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลผดุงมาตรได้ตระหนักเห็นความสำคัญ ประชากรกลุ่มอายุ ตั้งแต่35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง โรคความดันโลหิตเจาะเลือดเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์อัมพาตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้ประชาชนตระหนัก ถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องเหมาะสม และบรรลุเป้าหมายต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและส่งต่อให้แพทย์วินิจฉัยรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสม

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร้อยละ ๖๐

60.00
2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ถูกต้อง

ประชาชนอายุ 35 ปี ได้รับคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวานร้อยละ 90

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.แถบตรวจน้ำตาลในเลือด ราคาชุดละ 520 บาท จำนวน 44 ชุด ( 520 บาท X 44 ชุด) เป็นเงิน 22,880 บาท 2.เข็มสำหรับเจาะเลือด ราคากล่องละ 700 บาท จำนวน 6 กล่อง ( 700X6 กล่อง ) เป็นเงิน 4,200 บาท 3.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 เมตร x 2.5 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 690 บาท 4.ค่าเครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องวัดความดัน จำนวน 4 เครื่อง (4 X 2490) บาท เป็นเงิน 9,960 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37730.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,730.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนตระหนักและใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพหรือวิถีชีวิตที่ก่อหรือเสริมการเป็นโรคได้ถูกต้องเหมาะสม
2.อัตราการป่วยตายด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพาต อัมพฤกษ์ ลดลง
3.อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
4.เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างที่สุขภาพ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่และประชาชนกลุ่มเป้าหวาน
5.ประชาชนมีสุขภาพดีไม่ป่วยและตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้


>