กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คูหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบูรณาการคัดกรองภาวะเสี่ยงในผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คูหา

พื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทัพหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 456
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วิธีดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
วิธีดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำข้อมูลผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการคัดกรอง
2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีความรู้และทักษะในการใช้แบบประเมินหรือแอพพิเคชั่นโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) วิธีการคัดกรองตาต้อกระจกด้วยการนับนิ้วมือระยะ 10 ฟุตและการใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2Q/9Q
3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขดำเนินการตรวจคัดกรองผู้สูงอายุร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข โดย -เจ้าหน้าที่ สธตรวจคลำชีพจรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาผู้ที่มีชีพจรเต้นผิดจังหวะ เพื่อส่งต่อไปรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ รพ. -เจ้าหน้าที่ สธ คัดกรองโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเฉพาะผู้สูงอายุที่ยังไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดอายุ 60-70 ปี ด้วยแบบประเมินหรือแอพพิเคชั่นThai CV Risk scoreโดยบันทึกข้อมูลที่จำเป็น เช่น เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง รอบเอว เป็นต้น กรณีมีความเสี่ยงสูง จะส่งต่อไปรพ.พบแพทย์ และทุกระดับความเสี่ยงจะให้คำปรึกษาแนะนำการออกกำลังกาย การกินผักผลไม้มากขึ้น การลดและควบคุมน้ำหนัก -อสม.ช่วยตรวจวัดสายตาคัดกรองตาต้อกระจก โดยทดสอบการนับนิ้วมือที่ระยะ10ฟุต หากผู้สูงอายุนับผิด 3 ครั้งจาก 5 ครั้ง แสดงว่าผิดปกติ ส่งให้เจ้าหน้าที่สธ ตรวจกรองซ้ำด้วยการวัด VA ใช้แผ่น Snellen chart หรือ E chart หาก VAต่ำกว่า 20/๑๐๐  จะส่งต่อ รพ เพื่อตรวจและวินิจฉัยต่อไป -อสม.คัดกรองภาวะซึมเศร้า โดยใช้แบบคัดกรอง 2Q หากมีข้อใดข้อหนึ่ง ให้สอบถามต่อด้วยแบบประเมิน 9Q หากคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 7 เจ้าหน้าที่ สธ จะตรวจประเมินซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันหากใช่สอบถามด้วยแบบประเมิน 8Q ถ้าคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 17 แจ้งผู้ใกล้ชิดทราบและส่งต่อ รพ. -บันทึกการตรวจและผลคัดกรองในทะเบียนหรือฐานข้อมูลของหน่วยบริการ พร้อมบันทึกในแบบรายงานส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔.จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในกลุ่มติดสังคมในพื้นที่ เรื่อง ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า  กินข้าวอร่อย จำนวน ๔๗๗คน เพื่อกระตุ้นให้ดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น ๕. อาสาสมัครสาธารณสุขออกเยี่ยมบ้านทุก 3 เดือนเพื่อติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองด้วยการออกกำลังกาย การกินผักผลไม้มากขึ้น การลดและควบคุมน้ำหนัก ๖. ประสานและติดตามข้อมูลรายที่ส่งต่อไปยัง รพ และออกเยี่ยมให้คำปรึกษา
๗. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ค่าอาหารว่าง เครื่องดื่มในการอบรมเชิงปฏิบัติแก่ อสม.จำนวน 48 คนๆละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน  2400 บาท -ค่าอาหารกลางวัน ในการอบรมเชิงปฏิบัติแก่ อสม.จำนวน 48 คนๆ ละ 50บาท/มื้อ จำนวน 1มื้อ เป็นเงิน 2400 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ อสม. จำนวน ๗ชั่วโมงๆละ 300 บาท  เป็นเงิน 2100 บาท - ค่าแบบสำรวจจำนวน  459  ชุดx 6บาท                                    เป็นเงิน 2754  บาท - จ้างเหมาจัดเก็บแบะบันทึกข้อมูลชุดละ 15บาท x 456 ชุด        เป็นเงิน  6,840  บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16494.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,494.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุที่มีผลคัดกรองผิดปกติได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลต่อเนื่อง
2.ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น


>