กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 2 ปี 11 เดือน ตำบลผดุงมาตร ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

รพ.สต.ผดุงมาตร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

 

23.00
2 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)

 

3.00

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 2 ปี 11 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กแรกเกิด – 2 ปี 11 เดือนมีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน จากรายงานผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด-2 ปี 11 เดือน ในทุกหมู่บ้านของตำบลผดุงมาตรปีงบประมาณ 2562 พบว่า เด็กทั้งหมด 247 คน ได้รับการชั่งน้ำหนัก 243 คน คิดเป็นร้อยละ 98.38 น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 23 คน คิดเป็นร้อยละ 9.31 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนด (เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ต้องไม่เกินร้อยละ 8 ) พบพัฒนาการล่าช้า 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.21 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตรได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการและพัฒนาการในเด็กแรกเกิด- 2 ปี 11 เดือน จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 2 ปี 11 เดือน เพื่อเฝ้าระวัง ติดตาม ให้การดูแล รักษา และพื้นฟู ในรายที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ทั้ง 6 หมู่บ้านในเขตตำบลผดุงมาตรเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด –2 ปี 11 เดือน

เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการติดตาม ทุกคน

23.00 21.00
2 เพื่อแก้เด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)

3.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 23
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-2 ปี 11 เดือน ในเขตตำบลผดุงมาตร 2.ชั่งน้ำหนักเด็กอายุ 0-2 ปี 11 เดือนทุกๆ 3 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สำรวจ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ทุกๆ 1 เดือน 2.จ่ายอาหารเสริม(นม) ยาเสริมธาตุเหล็ก และยาเสริมวิตตามินสำหรับเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

งบประมาณ 1.อาหารเสริม(นม) ยาเสริมธาตุเหล็ก และยาเสริมวิตตามิน จำนวน 23 คน x 175 บาท x 6 ถุง เป็นเงิน 24,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการติดตามทุกเดือน ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24150.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.จัดมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

งบประมาณ 1.ค่าชุดส่งเสริมพัฒนาการ 1 ชุด เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ให้เด็กแรกเกิด – 2 ปี 11 เดือน ได้รับการประเมินโภชนาการ และพัฒนาการ คิดเป็นร้อยละ 90
2. ให้เด็กแรกเกิด – 2 ปี 11 เดือน มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 95
3. เด็กแรกเกิด – 2 ปี 11 เดือน ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก


>