กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลี้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลี้

โรงพยาบาลส่งเสรมสุขภาพตำบลบ้านปวงคำ

1.เสน่ห์มะโนจิตต์
2.นายปรเมศร์ศรีวิชัย

วัดพวงคำ หมู่ที่ 9ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 - 75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนสำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดลำพูน ในปี 2562 (ข้อมูล 1 มกราคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2562)มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน 311 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 76.61 ต่อประชากรแสนคน มีเสียชีวิต จำนวน 1 ราย เป็นอัตราตาย 4.95 ต่อประชากรแสนคน อำเภอลี้ มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน 66 ราย พบว่ามีอัตราการป่วย 94.36 ต่อประชากรแสนคน ส่วนในพื้นที่ตำบลลี้ มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 55.77 ต่อประชากรแสนคน มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียวดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่าง ๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด แต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรง และเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปวงคำจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกัน โรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก ๒. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน วัด โรงเรียนและที่สาธารณะ ๓. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
  1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับอัตราป่วยที่คำนวณมาจากค่ามัธยฐานผู้ป่วยย้อนหลัง 5 ปี
    1. ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน House Index น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10
    2. ร้อยละของโรงเรียน วัดและสถานที่ราชการความชุกลูกน้ำยุงลาย Container Index เท่ากับ 0
    3. ร้อยละ80 หมู่บ้าน เกิดโรคไม่เกิดโรคซ้ำ (2nd generation)
    4. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถป้องกันโรคได้อย่างถูกวิธีและเหมาะสม ร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการ ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
โครงการ ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

08.00 - 08.30 น.        ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 08.30 – 09.00 น.    ทำแบบทดสอบและประเมินตนเอง 09.00 – 10.30 น    บรรยายความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก 10.30 - 12.00 น.    บรรยายความรู้เรื่องวงจรชีวิตยุงลายและการพ่นหมอกควัน 12.00 – 13.00 น.    พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.30 น.    บรรยายความรู้เรื่องการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 14.30 – 15.30 น.    ฝึกปฏิบัติการสำรวจลูกน้ำยุงลาย หมายเหตุ     พักรับประทานเบรกเช้า 10.30 น.     พักรับประทานเบรกบ่าย    14.30 น.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี
  2. ชุมชนให้ความร่วมมือการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  3. หมู่บ้านได้รับการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านปลดโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 โครงการ ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
โครงการ ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลี้ จำนวน 11,900 บาท รายละเอียดดังนี้ 1.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม การประชุมชี้แจง อสม. และแกนนำชุมชน จำนวน 80 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 2.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ อสม. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ไขว้หมู่บ้าน จำนวน 54 คน คน ละ 25 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,700 บาท 3.  ค่าไวนิลรณรงค์ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 2 ผืน/หมู่บ้าน รวม จำนวน 12  ผืนๆ ละ450 บาท
รวมเป็นเงิน 5,400 บาท (ป้ายรณรงค์ปฏิบัติทำลายแหล่ง) 4.  ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์ม ในการดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลาย  จำนวน 1,800 แผ่น
แผ่น ละ 0.50 บาทเป็นเงิน  900 บาท 5.  ค่าใบประกาศเกียรติคุณคัดเลือกรูปถ่ายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย Unseen พร้อมกรอบจำนวน 6 ชุด ชุด ละ 150 บาท เป็นเงิน 900 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,900 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี
  2. ชุมชนให้ความร่วมมือการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  3. หมู่บ้านได้รับการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านปลดโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี
2. ชุมชนให้ความร่วมมือการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
3. หมู่บ้านได้รับการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านปลดโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน


>