กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสรมสุขภาพตำบลบ้านปวงคำ
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายปรเมศร์ ศรีวิชัย 2.เสน่ห์ มะโนจิตต์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 บ้านแวนนาริน ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 - 75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนสำหรับสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดลำพูน ในปี 2562 (ข้อมูล 1 มกราคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2562)มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน 311 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 76.61 ต่อประชากรแสนคน มีเสียชีวิต จำนวน 1 ราย เป็นอัตราตาย 4.95 ต่อประชากรแสนคน อำเภอลี้ มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน 66 ราย พบว่ามีอัตราการป่วย 94.36 ต่อประชากรแสนคน ส่วนในพื้นที่ตำบลลี้ มีจำนวนผู้ป่วย จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 55.77 ต่อประชากรแสนคน มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียวดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่าง ๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด แต่ในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรง และเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปวงคำจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกัน โรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก ๒. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน วัด โรงเรียนและที่สาธารณะ ๓. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
  1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับอัตราป่วยที่คำนวณมาจากค่ามัธยฐานผู้ป่วยย้อนหลัง 5 ปี
    1. ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน House Index น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10
    2. ร้อยละของโรงเรียน วัดและสถานที่ราชการความชุกลูกน้ำยุงลาย Container Index เท่ากับ 0
    3. ร้อยละ80 หมู่บ้าน เกิดโรคไม่เกิดโรคซ้ำ (2nd generation)
    4. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถป้องกันโรคได้อย่างถูกวิธีและเหมาะสม ร้อยละ 80
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,900.00 2 11,900.00
1 ม.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 โครงการ ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก 0 0.00 0.00
1 ม.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 โครงการ ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดโรคไข้เลือดออก 0 11,900.00 11,900.00

๑. ประชุมทีม อสม., สำรวจ วางแผน วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพเพื่อจัดทำโครงการ ๒. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ๓. นำเสนอแผนงานงาน/โครงการ/กิจกรรมให้คณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณา ๔. ดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการ 4.1. ประชุมชี้แจงแนวทางกับแกนนำอสม.ระดับตำบล 4.2. แจ้งผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ 4.3. ประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และ กำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยตนเองสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 4.4. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านโดยอสม./จนท./ผู้นำชุมชน
เดือนๆละ 1 ครั้ง หากเป็นพื้นที่เกิดโรค เดือนละ 2 ครั้ง 4.5. กำหนดแผนการสำรวจแหล่งพันธุ์ลูกน้ำยุงลายแบบไขว้หมู่บ้าน จำนวน2 ครั้ง 63) 4.6. อสม. สำรวจลูกน้ำยุงลาย แบบไขว้หมู่บ้านและรายงานผลการสำรวจให้ อสม.และผู้ชุมชน หมู่บ้านที่ไปสำรวจ ทราบทุกครั้ง 4.7. ประกวดรูปถ่ายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย Unseen ทางไลน์กลุ่ม 4.8. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม 4.9. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปและประเมินผลการดำเนินงาน ๖. ประเมินผลโครงการ ๗. สรุปผลโครงการ ส่งให้กับ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลลี้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี
  2. ชุมชนให้ความร่วมมือการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  3. หมู่บ้านได้รับการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านปลดโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2563 10:19 น.