กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ฟันสวย ยิ้มใส เพื่อเสริมทันตสุขภาพให้เด็กก่อนวัยเรียน ประจำปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลกะรุบี องค์การบริหารส่วนตำบลกะรุบี

1…นายอับดุลเลาะการี
2…นายกริชอุปวงษ์
3…นางอาอีเสาะอาแซ
4…นายฮัมดานยูโซะ
5…นางดารูณีนิยะ

ตำบลกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศชาติ ในการที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง เด็กทุกคนควรได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัวชุมชนและรัฐเพื่อส่งเสริมให้เด็กๆเหล่านั้นได้รับการศึกษา ที่รัฐจัดให้ ได้รับการพัฒนาในด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด ด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีความทันสมัยทำให้เด็กในยุคนี้เป็นเด็กที่ติดกับการบริโภคนิยมทั้งทางด้านวัตถุ สิ่งของ อาหารเด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์เช่นขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กทานอาหารเหล่านี้เข้าไปจะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงอนุบาลและปฐมวัยเป็นส่วนมาก การที่จะปลูกฝังให้เด็กรักการแปรงฟันนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ปัญหาฟันผุลดน้อยลง การที่เด็กจะปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอนั้นต้องมีแรงจูงใจหรือการกระทำร่วมกันเป็นกลุ่ม และผู้ปกครองควรมีความรู้ความเข้าในการดูแลสุขภาพฟัน ตลอดมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพฟัน ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆจะเป็นการส่งเสริมให้เด็กรู้จักดูแลสุขภาพของตัวเอง
ประกอบกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 66 และ 67 (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16(10) และมาตรา 17(27)กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งสอดคล้องกับการจัดบริการสาธารณะสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะรุบี ส่วนงานด้านกลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
ในการนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลกะรุบีได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการฟันสวย ยิ้มใส เพื่อเสริมทันตสุขภาพให้เด็กก่อนวัยเรียน ประจำปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อเพื่อสร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดช่องปากให้แก่เด็กปฐมวัยตลอดจนกระตุ้นให้ผู้ปกครองมีความรู้และใส่ใจต่อสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดช่องปากให้แก่เด็กปฐมวัย

กลุ่มเป้าหมายได้รับสร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดช่องปาก ร้อยละ 80 ขึ้นไป

60.00 80.00
2 เพื่อให้ความรู้และสร้างความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการส่งเสริมทันตสุขภาพให้แก่เด็กปฐมวัย

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสร้างความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการส่งเสริมทันตสุขภาพ ร้อยละ 80 ขึ้นไป

60.00 80.00
3 เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เด็กและผู้ปกครองหันมาสนใจในการดูแลสุขภาพฟันเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้นโดยการค้นหาหนูน้อยฟันสวยมาเป็นต้นแบบให้ครอบครัวอื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายหันมาสนใจในการดูแลสุขภาพฟันเด็กโดยมีหนูน้อยฟันสวยมาเป็นต้นแบบให้ครอบครัวอื่นๆ ร้อยละ 80 ขึ้นไป

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 87
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/08/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย.............อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพฟันเด็กปฐมวัย             1.2 กิจกรรมย่อย...........ฝึกปฏิบัติทักษะการดูแลความสะอาดช่องปากให้แก่เด็กปฐมวัย - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน   คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  = 2,400  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 87 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ = 4,350           บาท - ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 87 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ = 4,350 บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ผืน = 700 บาท - ค่าจัดซื้อแปรงสีฟัน จำนวน 87 อันๆละ30 บาท = 2,610 บาท - ค่ายาสีฟัน  จำนวน 87 กล่องๆละ 25 บาท  = 2,175 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดช่องปากให้แก่เด็กปฐมวัย
  2. ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยมีความรู้ในการส่งเสริมทันตสุขภาพ ตลอดจนทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16585.00

กิจกรรมที่ 2 ประกวดหนูน้อย ฟันสวย

ชื่อกิจกรรม
ประกวดหนูน้อย ฟันสวย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่ารางวัลที่มอบให้แก่ผู้ชนะ จำนวน 4 รางวัล  = 1,600 บาท รายละเอียดตามเอกสารแนบท้าย
  • ค่าป้ายไวนิลแสดงความยินดีแก่ผู้ชนะ จำนวน 1 ผืน = 1,050 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 สิงหาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กและผู้ปกครองหันมาสนใจในการดูแลสุขภาพฟันเด็กมากขึ้นโดยมีหนูน้อย ฟันสวยเป็นต้นแบบ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,235.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สร้างสุขนิสัยและฝึกทักษะการดูแลความสะอาดช่องปากให้แก่เด็กปฐมวัย
2. ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยมีความรู้ในการส่งเสริมทันตสุขภาพ ตลอดจนทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
3. เด็กและผู้ปกครองหันมาสนใจในการดูแลสุขภาพฟันเด็กมากขึ้นโดยมีหนูน้อย ฟันสวยเป็นต้นแบบ


>