กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกำจัดเหาในเด็กนักเรียนตำบลผดุงมาตรด้วยสมุนไพรท้องถิ่น ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ผดุงมาตร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร

โรงเรียนเขตตำบลผดุงมาตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กนักเรียนมีเหาร้อยละ

 

90.38

เหา หรือที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pediculus humanus เป็นแมลงในกลุ่มปรสิต อาศัยอยู่บนร่างกายคนและดำรงชีวิตด้วยการกินขี้ไคลบนหนังศีรษะของคนเรา เหามีมากกว่า 3,000 ชนิด ซึ่งบางส่วนเป็นปรสิตที่อยู่ในสัตว์ แต่ที่เป็นชนิดที่อยู่ในคนนั้นมีเพียงแค่ 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่อยู่บนศีรษะเหาที่เกาะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเหาที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือ โลน โดยเหาแต่ละชนิดจะอาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย อาทิเช่น บนศีรษะ บนร่างกาย และบริเวณอวัยวะเพศ เหาสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยการอยู่ใกล้ชิดและคลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคเหา จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคเหานั้นก็มักจะถูกสังคมรังเกียจ ซึ่งอาการที่มักจะพบได้จากคนที่เป็นเหาก็คืออาการคันและเป็นแผลติดเชื้อบนหนังศีรษะ อันเนื่องมาจากการระคายเคือง นอกจากนี้เหายังชอบวางไข่เอาไว้ตามเส้นผมของเราจนทำให้เห็นเป็นจุดขาว ๆ ตามเส้นผม แถมยังเกาะแน่นอีกด้วย โดยจะไม่หลุดไปถึงแม้ว่าจะหายเป็นเหาแล้วก็ตาม
โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากใน กลุ่ม นักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาโดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80-90 % ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศีรษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำโดย ใช้ยาเพื่อฆ่าเหาซึ่งยามีทั้งในรูปครีม เจล หรือโลชั่น ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน
ดังนั้น งานการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผดุงมาตร จึงเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เป็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อกำจัดเหานักเรียนตำบลผดุงมาตร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดเหาสำหรับนักเรียนตำบลผดุงมาตร

ลดการเป็นเหาในเด็กนักเรียน

771.00 60.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น

เด็กมีสามธิในการเรียนมากขึ้น

771.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 771
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายนักเรียน 2.ตรวจสุขภาพเด็กนักเรียน 3.อบรมให้ความรู้เรื่องสุขอนามัยที่ดีและสมุนไพรกำจัดเหา นักเรียนก่อนวัยเรียน(อายุ 3 ปี) และเด็กประถมศึกษา (7-12 ปี)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนมีความรู้เรื่องกำจัดเหา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กำจัดเหาในเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กำจัดเหาในเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 2.จัดซื้อวัตถุดิบสมุนไพร และอุปกรณ์กำจัดเหา 3.ประสานงานขอความร่วมมือจากโรงเรียนทุกแห่งในตำบลผดุงมาตรและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบ 4.กำจัดเหาให้นักเรียนโดยติดต่อกันจำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์
5.แจกยากำจัดเหาให้ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อให้การกำจัดเหาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 6.ประเมินโครงการ งบประมาณ ค่าสมุนไพรและวัสดุอุปกรณ์ 1) ผิวมะกรูด จำนวน 4 กก.x 50 บาท เป็นเงิน 200 บาท 2) ใบน้อยหน่า จำนวน 8 กก.x 30 บาท เป็นเงิน 240 บาท 3) Alcohol 70% จำนวน 5 ลิตร x 60 บาท เป็นเงิน 300 บาท 4) หมวกคลุมผม จำนวน 771 คน x 20 บาท เป็นเงิน 15,420 บาท ๕) ขวดโหล ขนาด 1 ลิตร จำนวน 155 บาท x 5 ขวด เป็นเงิน 775บาท ๖) ขวดสเปรย์ ขนาด 100 ml จำนวน 5 ขวด x 40 บาท เป็นเงิน 200 บาท ๗) น้ำมันมะพร้าว จำนวน 1 ลิตร จำนวน 1 ขวด x 780 บาท เป็นเงิน 780 บาท ๘) หวีเสนียด จำนวน 30 อัน x 10 บาท เป็นเงิน 300 บาท ๙) แชมพูขนาด 600 ml จำนวน 6 ขวด x 175 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนได้รับการกำจัดเหา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19265.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,265.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 นักเรียนโรงเรียนในตำบลผดุงมาตรได้รับการกำจัดเหา
2 นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น
3 นักเรียนมีบุคลิกภาพดีขึ้น


>