กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2562 - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างให้ตก

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ช้างให้ตก
ประจำปีงบประมาณ 2562

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

คำว่า ช้างให้ตก หรือ ช้างให้ เมื่อตอนที่กำลังก่อสร้าง วัดช้างให้ หรือ วัดบันลือคชาวาส ได้มีช้างตัวหนึ่ง ได้ใช้งาเอาแกนไม้หนึ่งต้นมามอบให้แก่ช่างที่กำลังก่อสร้างวัดกันอยู่ ชาวบ้านก็เลยเรียกว่า วัดช้างให้ จนมาเป็นชื่อของหมู่บ้าน และเป็นชื่อของตำบลต่อมา แต่ที่มีคำว่าตกนั้น ชื่อจะได้ไม่ซ้ำซ้อนกันกับวัดช้างให้ออก วัดช้างให้ตก หรือวัดบันลือคชาวาส และมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าได้ นำศพของสมเด็จหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดมาจากเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย มาพักศพที่บริเวณที่ตั้งวัดปัจจุบัน ตามที่เล่าสืบต่อกันมา ชื่อตำบลช้างให้ตกเป็นชื่อของหมู่ที่ ๓ บ้านช้างให้ตก เพราะหมู่ที่ ๓ เป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบของทุกหมู่บ้านของตำบล และเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคม การสัญจรไปมาสะดวก เชื่อมโยงได้ทุกหมู่บ้าน และยังเป็นศูนย์กลางของส่วนราชการ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลช้างให้ตก (สถานีอนามัย) โรงเรียนประจำตำบล เป็นที่ตั้งของหน่วยราชการ ทหาร ตำรวจ และยังเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจร้านค้า ทางด้านพืชผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ เพราะมีตลาดนัดประจำตำบล ตำบลช้างให้ตกเป็นตำบลหนึ่งใน ๑๒ ตำบล ของอำเภอโคกโพธิ์ ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น ๕ หมู่บ้านและได้ยกฐานะจากสภาตำบลช้างให้ตกเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ (ลำดับที่ ๑๔๒๗) ๑.๑ ที่ตั้งและขนาด
ตำบลช้างให้ตกเป็นตำบลหนึ่ง ใน ๑๒ ตำบลของอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ ระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑๐,๔๑๐ ไร่ หรือ ๑๖.๕๖ ตารางกิโลเมตร ( ๑ ตร.กม. เท่ากับ ๖๒๕ ไร่ ) หมู่ที่ ๑ บ้านสวนนอก มีเนื้อที่โดยประมาณ ๙๘๑ ไร่ พื้นที่การเกษตร ๖๒๔ ไร่ อื่นๆ ๓๕๗ ไร่ หมู่ที่ ๒ บ้านมะปรางมัน มีเนื้อที่โดยประมาณ ๒,๐๔๙ ไร่พื้นที่การเกษตร ๑,๕๓๔ ไร่อื่นๆ ๕๑๕ ไร่ หมู่ที่ ๓ บ้านช้างให้ตก มีเนื้อที่โดยประมาณ ๒,๗๒๗ ไร่พื้นที่การเกษตร ๒,๑๓๔ ไร่อื่นๆ ๕๓๙ ไร่ หมู่ที่ ๔ บ้านปุหรน  มีเนื้อที่โดยประมาณ ๒,๖๕๑ ไร่พื้นที่การเกษตร ๒,๐๒๖ ไร่อื่นๆ ๖๒๕ ไร่ หมู่ที่ ๕ บ้านป่าลาม  มีเนื้อที่โดยประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่พื้นที่การเกษตร ๑,๑๗๐ ไร่อื่นๆ ๘๓๒ ไร่ หมายเหตุ เนื้อที่อื่นๆ หมายถึง เนื้อที่ที่เป็นถนน ลำคลองแม่น้ำที่สาธารณะ ป่าและภูเขา ที่อยู่อาศัย พื้นที่แบ่งตามสภาพการใช้งาน แบ่งเป็น พื้นที่ทำการเกษตร ๗,๒๘๘ ไร่ แบ่งเป็น ๑.๒ สภาพภูมิประเทศ ลักษณะทั่วไปเป็นที่ พื้นที่ราบ และเนินสูง อาณาเขตติดต่อ
  ทิศเหนือ  จดตำบลป่าบอน,โคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์   ทิศใต้ จดตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย   ทิศตะวันตก จดตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา   ทิศตะวันออก จดตำบลทรายขาว  อำเภอโคกโพธิ์ เขตทำการปกครอง ๑. นายมะแอ  มะและ    ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ ๒. นายสุเมธ ทองไกรแก้ว  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒ ๓. นายอมรชัย  เพชรนุ้ย    ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ ๔. นายอภิสิทธิ์  สุกศรีทอง    ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔ ๕. นายมูฮัมหมัด  หวังถึก  กำนันตำบลช้างให้ตก ๑.๓ ด้านสาธารณสุข     - สถานีอนามัยตำบล  จำนวน ๑ แห่ง
    -ศูนย์บริการสาธารณสุขมูลฐาน จำนวน ๕ แห่ง   -อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐ ด้านเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือ ทำนา ทำสวนยางพารา
ทำสวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์/ค้าขาย รับราชการ/รับจ้าง
หน่วยธุรกิจในชุมชน ดังนี้ ร้านค้าชุมชน จำนวน ๒๘ แห่ง โรงผลิตปุ๋ยชีวภาพ จำนวน ๓ แห่ง โรงสี จำนวน ๕ แห่ง ปั๊มน้ำมันหลอด จำนวน ๒ แห่ง ตลาดนัดชุมชน จำนวน ๒ แห่ง สหกรณ์ยางบ้านมะปรางมัน จำนวน ๑ แห่ง กลุ่มส่งเสริมอาชีพ จำนวน ๑๔ กลุ่ม ปั๊มน้ำมันหัว จำนวน ๓ แห่ง การรวมกลุ่มและองค์กรในชุมชน ดังนี้ กลุ่มอาชีพ  จำนวน ๑๔ กลุ่ม องค์กรชุมชน จำนวน ๑๐ กลุ่ม องค์กรเครือข่ายระดับตำบล  จำนวน ๑ องค์กร ศูนย์ประสานงานองค์กรระดับตำบล จำนวน ๑ องค์กร
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี  จำนวน ๑ ศูนย์ การศึกษา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก มีสถานศึกษาทั้งหมด จำนวน ๑ แห่ง และที่อ่านหนังสือพิมพ์หมู่บ้าน จำนวน ๕ แห่ง ดังนี้
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา  จำนวน - แห่ง โรงเรียนตาดีกา  จำนวน ๑ แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน ๒ แห่ง ที่อ่านหนังสือพิมพ์  จำนวน ๕ แห่ง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  จำนวน ๑ แห่ง ห้องสมุดประชาชน  จำนวน ๑ แห่ง สถาบันและองค์กรทางศาสนา ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก ทั้งหมดเป็นชาวไทยพุทธและมุสลิม มีสถานที่ประกอบศาสนกิจ มีดังนี้ - วัด จำนวน ๓ แห่ง   วัดมะปรางมัน ตั้งอยู่พื้นที่หมู่ที่ ๒ วัดช้างให้ตก ตั้งอยู่พื้นที่หมู่ที่ ๓ วัดปุหรน ตั้งอยู่พื้นที่หมู่ที่ ๔ - มัสยิด จำนวน ๑ แห่ง มัสยิดมิลดาฮุลอิบาด๊ะ ตั้งอยู่พื้นที่หมู่ที่ ๑ - บาราเสาะ จำนวน ๑ แห่ง บาราเสาะ ตั้งอยู่พื้นที่หมู่ที่ ๕ ด้านสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน ๑ แห่ง
- ศูนย์บริการสาธารณสุขมูลฐาน จำนวน ๕ แห่ง - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคม - ถนนดินลูกรัง จำนวน ๘ สาย - ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน  ๒๒ สาย - ถนนลาดยาง จำนวน  ๔ สาย - ถนนหินคลุก จำนวน ๖๓ สาย
ไฟฟ้า - มีไฟฟ้าใช้แล้วทุกหมู่บ้าน มีไฟฟ้าสาธารณะภายในหมู่บ้านแต่ละหมู่ประมาณ ๑๕ ดวง การประปา - ประปาหมู่บ้าน จำนวน ๕ หมู่บ้าน
เทคโนโลยีการสื่อสาร มีโทรศัพท์สาธารณะใช้แล้วทุกหมู่บ้าน ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตกได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เนื่องจากการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้โดยแต่ละหมู่บ้านได้จัดให้มี ชรบ. อรบ. และกองพันหญิงเหล็ก ทุกหมู่บ้านอยู่เวรยามและออกตรวจตราความสงบเรียบร้อยของชุมชนมีหน่วยทหาร ๓ หน่วย สถานีตำรวจ ๑ แห่ง

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำคลอง  จำนวน ๔ สาย ห้วย  จำนวน ๔ สาย บึง หนอง และอื่น จำนวน ๕ แห่ง เขื่อนขนาดเล็ก จำนวน ๑ เขื่อน แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น จำนวน ๑ แห่ง บ่อโยก จำนวน ๑ บ่อ ประปา จำนวน ๖ แห่ง ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธ์ จังหวัดปัตตานี ๑) การบริหารจัดการภายในกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก
อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
(1) จัดทำข้อมูลและแผนดำเนินงาน/แผนพัฒนาสุขภาพที่เกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุขกลุ่มเป้าหมาย และหน่วยบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) ดำเนินการให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในความรับผิดชอบสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้าน ในหมู่บ้าน/ชุมชน หรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
(3) บริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และจัดทำสรุปผลการดำเนินงานหรืองบดุล เมื่อสิ้นปีงบประมาณเพื่อนำเสนอสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี (4) รับผิดชอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดทำบัญชีเงิน หรือ ทรัพย์สินในระบบหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามรูปแบบที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12
สงขลากำหนด (ให้เป็นไปตามรูปแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก กำหนดหรือตามรูปแบบที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา กำหนด) (5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามความจำเป็นหรือตามที่ได้รับมอบหมาย

stars
ข้อมูลกองทุน

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ เขต ๑๒ สงขลา ให้ดำเนินการได้ตั้งแต่ปี งบประมาณ ๒๕๕๔ ตามหนังสือแจ้งของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒ สงขลา
กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก มีคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ จำนวน ๑๕ คน ตามคำสั่งที่ 1/๒๕๖๒ ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๒ ดังนี้
ท้องถิ่นอำเภอโคกโพธิ์  เป็นที่ปรึกษา 1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก ประธานกรรมการ 2. นางกนกวรรณ ยอดเพ็ชร ผู้ทรงคุณวุฒิคนที่ 1 รองประธานกรรมการ 3. นางสุเพียร ถาวรศรี ผู้ทรงคุณวุฒิคนที่ 2 รองประธานกรรมการ 4. นางสำเริง ทองไกรแก้ว ประธานสภา อบต กรรมการ 5. นางจุฬารัตน์ โกศลกาญจน์ ส.อบต.หมู่ที่ 3 กรรมการ 6. นายสันติพงษ์ สืบสม ผอ.รพ.สต.ป่าบอน กรรมการ 7. นายวรากร แก้วพุด อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 กรรมการ 8. นางฮาลีเมาะ ลาเต๊ะ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 กรรมการ 9. นายมะแอ  มะและ ผู้แทนชุมชน หมู่ที่ 1 กรรมการ 10. นางสุภาพ ยอดไกร ผู้แทนชุมชน หมู่ที่ 2 กรรมการ 11. นายอมรชัย เพชรนุ้ย ผู้แทนชุมชน หมู่ที่ 3 กรรมการ 12. นางฐติมา แก้วยะรัตน์ ผู้แทนชุมชน หมู่ที่ 4 กรรมการ 13. นายมูฮัมหมัด หวังถึก ผู้แทนชุมชน หมู่ที่ 5 กรรมการ 14. นางสาวชีวาพร แก้วรงค์ ปลัด อบต.ช้างให้ตก กรรมการและเลขานุการ 15. นางสาวธนิษฐา ณ สงขลา รองปลัด อบต.ช้างให้ตก กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 16. นางสาวธัญญรัตน์ คณานุรักษ์ ผอ.กองคลัง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตกได้จัดทำข้อตกลงการดำเนินงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ การรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น โดยมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้วยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง โดยส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วงไป ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ จึงต้องมีระบบการจัดทำข้อมูล มีการจัดทำแผนงาน/โครงการที่ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาสุขภาพ (1) เพื่อสนับสนุนการจัดบริการของหน่วยบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่นรวมทั้งสถานบริการทางเลือกในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก ให้เข้าถึงบริการได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีคุณภาพมาตรฐาน (2) เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพอย่างน้อยตามประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี กำหนด   (3) เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเอง และร่วมบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่   (4) เพื่อให้ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   (5) เพื่อสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพ ประโยชน์ของแผนพัฒนาสุขภาพ การวางแผนพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้านที่ผสมผสานกัน โดยการบริหารจัดการกองทุนฯ จึงจำเป็นจะต้องมีแผนพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลช้างให้ตก เป็นเครื่องมือ/กรอบในการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้านสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข และสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลสูงสุด

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...