กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2563 - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหมื่นศรี

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหมื่นศรี
ประจำปีงบประมาณ 2563

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

1.จำนวนหมู่บ้านประชากร และจำนวนครัวเรือน ในตำบลนาหมื่นศรี ตำบลนาหมื่นศรีมีหมู่บ้านจำนวน8หมู่บ้านมีจำนวนประชากร 6,227คน และจำนวนครัวเรือน1,774ครัวเรือน
2.ข้อมูลด้านสุขภาพ -จำนวนผู้สูงอายุ 1}139 คน -จำนวนผู้พิการ 203คน -จำนวนผู้ป่วยเอดส์รวม 5 คน ข้อมูลอื่นๆ 1. ทางวัฒนธรรม
ประชาชนในพื้นที่นับถือศาสนาพุทธ100เปอร์เซ็นต์มีวัด 2 แห่ง คือวัดควนสวรรค์ (หมู่ที่ 8) วัดหัวเขา (หมู่ที่ 6) งานประเพณีที่ปฏิบัติกันเป็นประจำทุกปีคือ งานลูกลมชมถ้ำเขาช้างหายงานเดือนสิบประเพณีลากพระลอยกระทงและประเพณีสงกรานต์
2. ทางการศึกษา 2.1โรงเรียนประถมศึกษา2 แห่ง
2.1.1 โรงเรียนบ้านควนสวรรค์ (โรงเรียนขยายโอกาส) มีนักเรียนรวม291 คน 2.1.2 โรงเรียนบ้านไทรงาม มีนักเรียนรวม 90คน 2.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก1แห่ง
2.2.1ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรีมีนักเรียนรวม 85 คน 2.3 ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน8แห่ง 3. ทางสาธารณสุข 3.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1แห่ง 3.2 ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 1แห่ง 3.3 อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ100 4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.1 ที่ทำการตำรวจชุมชน 1แห่ง 4.2 ที่พักสายตรวจ 1แห่ง 4.3 ชุดรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน (ชรบ.) 4.4 อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน133คน 4.5 กองหนุนเพื่อความมั่นคง จำนวน200คน 4.6 ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน460คน 5. ข้อมูลด้านแหล่งน้ำ การมีน้ำดื่ม น้ำใช้ 5.1 แหล่งน้ำธรรมชาติ
5.1.1ลำห้วย 2 สาย 5.1.2หนองน้ำ 18 แห่ง 5.1.3ลำคลอง 2 สาย
5.2 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
5.2.1ฝาย 8 แห่ง 5.2.2บ่อน้ำตื้น 1,049บ่อ 5.2.3ประปา 18แห่ง 5.2.4บ่อโยก 1 แห่ง 5.2.5สระน้ำ 3แห่ง การใช้น้ำประปาจำนวนครัวเรือนที่น้ำประปาใช้ 1,143ครัวเรือน สถานการณ์น้ำ ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือน มิถุนายน - พฤศจิกายน ฝนตกน้อยที่สุดระหว่างเดือน มกราคม - มีนาคม สาเหตุที่นำไปสู่การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และอาการที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ในร่างกาย โดยสรุปมีดังนี้ 1. อาหาร เนื่องจากพบว่าคนไทยในสังคมปัจจุบันมีความเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารกันเป็นส่วนมาก
เชื่อมโยงไปสู่อวัยวะต่าง ๆ อย่างมากมายอันมีสาเหตุมาจากการ บริโภคอาหาร ที่ไม่ถูกต้อง จากค่านำยมที่ผิด ๆ และสาเหตุอื่น ๆ อีกมากมาย การทดลองซึ่งเป็นงานวิจัยของ ต่างชาติแต่นำมาใช้กับคนไทย ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไม่ว่าจะเป็นถิ่นกำเนิน, สายพันธุ์, ภูมิประเทศ, ภูมิอากาศ, การบริโภคและอื่น ๆ อีกมากมาย ถ้าให้ข้อมูลด้านโภชนาการที่มีอยู่ถูกนำมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ร่ายกายได้รับสารอาหารที่ฟื้นฟูตัวเองในทุกระบบแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ดูดซึมทันที ทำให้ร่างกาย นำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ขับถ่ายง่ายไม่เหลือของเสียตกค้าง ใช้ได้กับผู้ป่วยทุกประเภทและคนปกติอย่างมีข้อจำกัดน้อยที่สุด ปลอดภัยและมีราคาต่ำ ที่สำคัญทุกคนปฏิบัติเองได้ เช่น น้ำผักผลไม้ปั่น
2. อารมณ์ อารมณ์ตึงเครียดจะส่งผลทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน ( ฮอร์โมนแห่งความทุกข์) หลั่งมาจากต่อมหมวกไต ทำให้ภาวะความเป็นกรดในเลือดสูงขึ้น เลือดข้นขึ้น ความดันโลหิตสูง ขบวนการเคมีเกิดขึ้นมากมายแต่ไม่สมดุลเกิดเซลตายจำนวนมากมาย และในขณะที่เครียด ถุงน้ำดีจะปิดการย่อยไขมันที่จะเปลี่ยนรูป เป็นพลังงาน แก่ร่างกายและเป็น ส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย ถ้าขบวนการเผาพลาญอาหารมาเป็นพลังงานในการสร้างเซลใหม่และกำจัดของเสียเกิดไม่ทัน จะเกิดการสะสมเซลตายซึ่งเป็นสาเหตุของอาการและโรคจำนวนมาก ดังต่อไปนี้เช่น อาการสารพัดปวด, เนื้องอก, มะเร็ง, ภูมิแพ้, ท้องอืด, ท้องเฟ้อ, ท้องผูก, โรคกระเพาะ,โรคลำไส้, โรคไต, ผมหงอกก่อนวัย, กระดูกผุ, ปวดประจำเดือน, ความดันโลหิตสูง, อัมพฤกษ์, อัมพาต, ต้อเนื้อ, ต้อกระจก, ต้อลม, ตาพร่า ฯลฯ 3. อากาศ เราจะพบว่าคนไทยส่วนมากโดยเฉพาะในสังคมเมืองหลวงหายใจสั้นและเร็ว ทำให้การหายใจแต่ละครั้งได้ปริมาณ O2 น้อย และเอา CO2 ออกได้น้อยเช่นกัน ปอดทั้งสองข้างจะทำงานไม่ได้เต็มที่ เมื่อปล่อยให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้เกิดความเสื่อม ไปถึงความผิดปกติยังระบบอื่น ๆ
4. อุจจาระ การขับถ่ายของคนเราโดยเฉพาะอุจจาระนั้น ควรทำให้เป็นปกติทุกวันก่อน 7 โมงเช้า ควรขับของเสียออกให้หมด และเตรียมรับอาหารมื้อเช้า คนที่ไม่พยายามขับถ่าย ให้เป็นปกติ ปล่อยให้ท้องผูกเป็นประจำจะเป็นการปล่อยให้ร่างกายดูดซึมของเสียไปเลี้ยงร่างกายเนื่องจากปกติอาหารที่เรากินกันอยู่ส่วนมาก ภายใน 12 ชั่วโมง ก็เริ่มบูดเน่า คนที่ท้องผูกเป็นระยะเวลานาน ๆ จะเป็นสาเหตุอันนำไปสู่อาการและโรคจำนวนมากมายหลายโรค เช่น สมองเสื่อม หลงลืม ปวดทั้งหลาย ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เนื้องอก มะเร็ง อัมพฤกษ์ อัมพาต หอบหืด นอนไม่หลับ ฯลฯ 5. การออกกำลังกาย ควรเลือกวิธีการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง เวลาที่เหมาะสม กับการออกกำลังกายควรเป็นช่วง 05.00-07.00 น. ในตอนเช้า เพราะจะเป็นการช่วยให้ลำไส้ใหญ่ และไตขับของเสียออกให้หมด และพร้อมที่จะขับถ่าย และรับอาหารใหม่ในตอนเช้า 6. การนอน เวลาที่ควรให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนก็คือ ช่วงเวลา 3 ทุ่มถึงตี 3 (จะตื่นหลังตี 3 ก็ได้) แต่ไม่ควรเข้านอนเกิน 3 ทุ่ม การนอนดึกหรือการพักผ่อน ไม่เพียงพอจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานหนักและทำให้เสื่อมเร็ว การนอนดึกจะส่งผลไปยังความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ในทุกระบบ เนื่องจากทุกอวัยวะต้องได้รับสารอาหารจากการไหลเวียนตลอดเวลา มีของเสียตกค้างระดับเซล ทำให้มีอาการทางผิวหนังแพ้ง่าย เป็นฝ้า กระ แผลพุพองจากการติดเชื้อ โรคผิวหนังต่าง ๆ และเกิดอาการปวดบริเวณหลังส่วนบนของร่ายกาย ได้แก่ ไหล่ ศีรษะ
ไมแกรน ความจำเสื่อม สมองฝ่อ ขี้ลืม ฯลฯ สาเหตุปัญหาด้านสาธารณสุขที่พบในพื้นที่ตำบลนาหมื่นศรี 1. ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมหรือมีวิถีในการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้อง 2. การตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดภาวะเสี่ยง 3. สุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ 4. สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปีไม่ได้รับการตรวจสุขภาพและตรวจหาโรค 5. แพร่กระจายของเชื้อและการติดต่อระหว่างกัน 6. เด็กมีภูมิต้านทานโรคต่ำ 7. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ได้รับอาหารเช้าตามหลักโภชนาการ 8. เด็กไม่ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย 9. การมีเพศสัมพันธ์อันควรของวัยรุ่น 10. บุคลากรที่ปฏิบัติงานขาดความรู้และทักษะในงานด้านสาธารณะสุข 11. ประชาชนขาดการออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพอ่อนแอและประสบปัญหาการเจ็บป่วย แนวทางแก้ไขปัญหาสาธารณสุข 1. จัดอบรมให้ความรู้
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
3. จัดอาหารถูกหลักโภชนาการ 4. สนับสนุนเครื่องเครื่องเล่นและเครื่องออกกำลังกาย 5. ส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพโดยคนในท้องถิ่น 6. ส่งเสริมการออกกำลัยกาย 7. พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุข สถานการณ์ปัญหาสาธารณสุขจังหวัดตรัง กลุ่มเป้าหมาย/งาน ตัวชี้วัดที่เป็นปัญหา เกณฑ์ ผลงาน 1.กลุ่มแม่และเด็ก 1.ร้อยละทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม 2. อัตราทารกขาดออกซิเจนขณะคลอด 3. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง 4.ร้อยละของการดูแลก่อนคลอดครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์ 5. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ 6. หญิงตั้งครรภ์มีบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี < ร้อยละ 7 2.กลุ่มเด็กปฐมวัย(3-5 ปี) 1.อัตราเด็กฟันน้ำนมผุ < ร้อยละ 50 53.5 3.กลุ่มเด็กวัยเรียน 1.อัตราฟันผุในเด็กชั้นประถม < ร้อยละ 45 45.10 4.กลุ่มวัยแรงงาน 1.ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ 2.ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันได้ 3.ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรอง -ภาวะแทรกซ้อนทางตา -ภาวะแทรกซ้อนเท้า 4. ร้อยละของผู้เข้าบำบัดยาเสพติดจำหน่ายครบเกณฑ์ที่กำหนด >ร้อยละ 50 5.ผู้สูงอายุ 1.ร้อยละของการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุที่ฟันคู่ใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 4 คู่ > = 5 2.74 6.หมู่บ้านจัดการสุขภาพ 1.ร้อยละหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ > 40 50 7. งานควบคุมโรคติดต่อ 1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2.โรคมือเท้าปาก 3.การเฝ้าระวังโคโรน่าไวรัส 4.อัตราตายด้วยวัณโรค 5.อัตราการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเยาวชน ร้อยละ 14

stars
ข้อมูลกองทุน

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรังได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ให้ดำเนินการได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 ตามหนังสือแจ้งของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต12สงขลาที่ สปสช.33/ว 028 ลงวันที่ 23พฤศจิกายน2553 กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรีมีคณะกรรมการบริหารกองทุน ดังนี้
1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี เป็นประธานกรรมการ 2. นายสุเทพ นงค์นวล ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ 3. นายสนอง หนูวงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ 4. นางกมลทิพย์ รุ่งเรือง ส.อบต. ม.5 เป็นกรรมการ 5. นายรัฐพงค์ แสงแก้ว ส.อบต. ม.8 เป็นกรรมการ 6. ผู้อำนวยการ รพสต.นาหมื่นศรี เป็นกรรมการ 7. นางสาวสมจิตร โพธิ์แก้ว ประธาน อสม.ตำบลนาหมื่นศรี เป็นกรรมการ 8. นางอารีย์ ปั้นทอง อสม. ตำบลนาหมื่นศรี เป็นกรรมการ 9. นายสารคร อ่อนช่วย ตัวแทน ม.3 เป็นกรรมการ 10. นายนิคม นาศรี ตัวแทน ม.4 เป็นกรรมการ 11. นางพิมลนาฎ เสนีย์ ตัวแทน ม.5 เป็นกรรมการ 12. นางอนงค์ ภิรมย์ทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 เป็นกรรมการ 13. นายเจริญ ศรนรายณ์ กำนันตำบลนาหมื่นศรี เป็นกรรมการ 14. นายไพโรจน์ เพชรขาว ผู้แทนศูนย์ประสานงาน สปสข. เป็นกรรมการ 15. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นกรรมการและเลขานุการ 16. หัวหน้าสำนักงานปลัด เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 17. ผู้อำนวยการกองคลัง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...