กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2565 - กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

แผนการดำเนินงาน กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง
ประจำปีงบประมาณ 2565

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน (1) ด้านกายภาพ 1) ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือตำบล (แผนที่ประกอบ) ตำบลตะบิ้งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอสายบุรี ประมาณ 5 กิโลเมตร โดยมีระยะห่างจากอำเภอเมืองปัตตานี ประมาณ 46 กิโลเมตร ตำบลตะบิ้งมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลปะเสยะวอและตำบลบือเระ  อำเภอสายบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลมะนังดาลำและตำบลตะลุบัน  อำเภอสายบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลเตราะบอน  อำเภอสายบุรี ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลกะดุนง  อำเภอสายบุรี


ภาพที่ 1.1 แผนที่อำเภอสายบุรี

ตำบลตะบิ้ง ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้ง 6 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1  บ้านตะบิ้ง “ตะบิ้ง” มาจากคำภาษามลายูว่า “ตือบิง” ความหมายในภาษาไทย หมายถึง ตลิ่ง ซึ่งมีความชันสูงมาก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายบุรี ในสมัยก่อน การคมนาคมอาศัยทางเรือเป็นหลัก ประชาชนที่เดินทางไปมาอำเภอสายบุรีไปนราธิวาสต้องขึ้นแพที่ตะบิ้ง บริเวณแม่น้ำสายบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ มีต้นน้ำอยู่ในเทือกเขาสันการาคีรี ระหว่างเขากุลาคาโอกับเขาตาโบ้ในอำเภอสุคีริน จังหวัดนราธิวาส ไหลขึ้นทางเหนือในเขตอำเภอรามัน จังหวัดยะลา จนกระทั่งออกสู่ทะเล ผ่านตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (แผนชุมชน บ้านตะบิ้ง หมู่ที่ 1 : 2554) หมู่ที่ 1 บ้านตะบิ้ง มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลตะบิ้ง    อำเภอสายบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลมะนังดาลำ    อำเภอสายบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี


ภาพที่ 1.2 หมู่ที่ 1 บ้านตะบิ้ง

หมู่ที่ 2  บ้านกูแบบาเดาะ บ้านกูแบบาเดาะ แปลว่า “หนองแรด” หลายร้อยปีที่ผ่านมา หมู่บ้านแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ และสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะ แรด และมีสถานที่ที่ใกล้เคียงกัน ชื่อ “ลาคอ” แปลว่า ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่เป็นสมุนไพร ใช้ทำเป็นยา สามารถคุมกำเนิดได้ ชาวบ้านกูแบบาเดาะและชาวบ้านลาคอเป็นพี่น้องตระกูลเดียวกัน แต่งงานกัน จนทำให้ทั้ง 2 หมู่บ้านรวมเป็นชุมชนเดียวกัน คือ บ้านกูแบบาเดาะ (แผนชุมชน บ้านกูแบบาเดาะ หมู่ที่ 2 : 2554) หมู่ที่ 2 บ้านกูแบบาเดาะ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลตะบิ้ง    อำเภอสายบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลมะนังดาลำ    อำเภอสายบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี


ภาพที่ 1.3 หมู่ที่ 2 บ้านกูแบบาเดาะ

หมู่ที่ 3  บ้านเจาะกือแย บ้านเจาะกือแย เป็นคำภาษามาลายู หมายถึง “ลานต้นหว้า” ในอดีตถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ มีการค้าขายทั้งภายในตำบลและเขตใกล้เคียง พ่อค้าแม่ค้าต่างแดนนั่งเรือล่องมาตามแม่น้ำสายบุรี เพื่อนำสินค้ามาขายที่ตลาดนัดบริเวณลานกือแย ต่อมาจาก “จาเราะกือแย” เรียกเป็น “เจาะกือแย” (แผนชุมชน บ้านเจาะกือแย หมู่ที่ 3 : 2554) หมู่ที่ 3 บ้านเจาะกือแย มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลบือเระ อำเภอสายบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 6 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี


ภาพที่ 1.4 หมู่ที่ 3 บ้านเจาะกือแย

หมูที่ 4  บ้านแซะโมะ บ้านแซะโมะ แปลมาจากคำว่า “เสร็จหมด” ในอดีตมีความทุรกันดาร ห่างไกลจากหมู่บ้านอื่น แต่ประชากรภายในหมู่บ้านมีความรัก สามัคคี การพัฒนาต่าง ๆ ของหมู่บ้านเป็นผลสำเร็จ เสร็จหมด ต่อมาจาก “เสร็จหมด” เรียกเป็น “แซะโมะ” (แผนชุมชน บ้านแซะโมะ หมู่ที่ 4 : 2554) หมู่ที่ 4 บ้านแซะโมะ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลมะนังดาลำ  อำเภอสายบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 ตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี

ภาพที่ 1.5 หมู่ที่ 4 บ้านแซะโมะ

หมู่ที่ 5  บ้านลานช้าง บ้านลานช้าง ตามประวัติเล่ากันว่า คนที่เลี้ยงช้างได้ต้องมีฐานะร่ำรวย และในสมัยนั้นก็คือ ผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจากตอนนั้นมีผู้ใหญ่จากทางเหนือมาหาผู้ใหญ่บ้านซึ่งโดยสารมากับช้าง แล้วมาล่ามช้างไว้ที่นี่หลายวัน ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านลานช้าง” (แผนชุมชน บ้านลานช้าง หมู่ที่ 4 : 2554) หมู่ที่ 5 บ้านลานช้าง มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลตะบิ้ง    อำเภอสายบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านละอาร์ อำเภอสายบุรี

ภาพที่ 1.6 หมู่ที่ 5 บ้านลานช้าง

หมู่ที่ 6 บ้านาเยาะมาตี บ้านกาเยาะมาตี เดิมเรียกว่า “ปละคู” แปลว่า ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารักษาโรคน้ำกัดเท้าได้ และอีก 60 ปีต่อมา คำว่า “กาเยาะมาตี” แปลว่า “ช้างตาย” ซึ่งมีตำนานเล่าว่า ช้างเผือกเชือกหนึ่ง เจ้าของได้บรรทุกมาขายที่ตลาดเจาะกือแย ปรากฏว่าช้างเผือกเชือกนั้นตาย ชาวบ้านจึงช่วยกันลากศพมาฝังไว้ที่ป่าช้า ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า “กาเยาะมาตี” หมู่ที่ 6 บ้านกาเยาะมาตี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลตะบิ้ง    อำเภอสายบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 6 ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี


ภาพที่ 1.7 หมู่ที่ 6 บ้านกาเยาะมาตี

2) ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลตะบิ้งมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ทางตะวันตกของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำสายบุรีไหลผ่านจากทางทิศใต้ไปยังทิศเหนือ นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ คลองปิโก และคลองจ่ากอง และมีบึงใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตำบล

3) ลักษณะภูมิอากาศ 3.1) ปริมาณน้ำฝน ตำบลตะบิ้ง ตั้งอยู่ในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกชุกกว่าในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เพราะอยู่ทางด้านตะวันออกไม่มีภูเขาสูงใดกั้น จึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมนี้เต็มที่ ทำให้มีฝนตกชุกโดยเฉพาะช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ส่วนในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีฝนตกน้อยกว่าฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะภูมิประเทศมีแนวเทือกเขาตะนาวศรีปิดกั้น ทำให้ได้รับกระแสลมจากมรสุมนี้ไม่เต็มที่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของจังหวัดปัตตานีอยู่ในเกณฑ์ดี แต่หากเปรียบเทียบภายในภาคมีฝนอยู่เกณฑ์ปานกลาง (แผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2561 – 2565 : 2562) 3.2) อุณหภูมิ ตำบลตะบิ้ง ตั้งอยู่ในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นจังหวัดตั้งอยู่ในคาบสมุทรที่เป็นแหลมที่ยื่นออกไปในทะเลจึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมเต็มที่ คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดียและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดผ่านอ่าวไทย ทำให้ได้รับไอน้ำและความชุ่มชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยจึงไม่สูงมากและอากาศไม่ร้อนจัดในฤดูร้อนและจะมีอากาศเย็นได้บางครั้ง (แผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2561 – 2565 : 2562)
4) ลักษณะของดิน ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียว พื้นที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว

(2) ด้านการเมือง/การปกครอง 1) เขตการปกครอง ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ 1.1) หมู่ที่ 1  บ้านตะบิ้ง 1.4) หมู่ที่ 4  บ้านแซะโมะ 1.2) หมู่ที่ 2  บ้านกูแบบาเดาะ 1.5) หมู่ที่ 5  บ้านลานช้าง 1.3) หมู่ที่ 3  บ้านเจาะกือแย 1.6) หมู่ที่ 6  บ้านกาเยาะมาตี โดยพื้นที่หมู่บ้านทั้ง 6 หมู่บ้าน อยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

ตารางที่ 1.1 ข้อมูลรายชื่อผู้ใหญ่บ้าน และ/หรือผู้รับผิดชอบในแต่ละหมู่บ้าน ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ผู้รับผิดชอบ หมายเหตุ 1 บ้านตะบิ้ง นายมะกะตา  มาหะมะ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 2 บ้านกูแบบาเดาะ นายอาหะมะ  สาแม็ง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 3 บ้านเจาะกือแย นายเจษฎา  แวอีซอ กำนันตำบลตะบิ้ง 4 บ้านแซะโมะ นายธานาฟี  รูปายี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 5 บ้านลานช้าง นายอับดุลมาน๊ะ  อามิง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 6 บ้านกาเยาะมาตี นายดอรอนิง  หะยีดอเล๊าะ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 ที่มา : กองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2562)

2) การเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง แบ่งการปกครองออกเป็น 7 เขตการเลือกตั้ง ดังนี้ 2.1) เขตเลือกตั้งที่ 1  ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านตะบิ้ง 2.2) เขตเลือกตั้งที่ 2  ประกอบด้วย หมู่ที่ 2 บ้านกูแบบาเดาะ 2.3) เขตเลือกตั้งที่ 3  ประกอบด้วย หมู่ที่ 3 บ้านเจาะกือแย 2.4) เขตเลือกตั้งที่ 4  ประกอบด้วย หมู่ที่ 3 บ้านเจาะกือแย 2.5) เขตเลือกตั้งที่ 5  ประกอบด้วย หมู่ที่ 4 บ้านแซะโมะ 2.6) เขตเลือกตั้งที่ 6  ประกอบด้วย หมู่ที่ 5 บ้านลานช้าง 2.7) เขตเลือกตั้งที่ 7  ประกอบด้วย หมู่ที่ 6 บ้านกาเยาะมาตี

การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งตำบลตะบิ้งมีหมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้าน หากมีการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะมีผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน 1 คน และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละ 2 คน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

      (3) ประชากร 1) ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีจำนวนประชากรทั้งหมด 6,733 คน แบ่งเป็นเพศชายทั้งหมด 3,316 คน และเพศหญิงทั้งหมด 3,417 คน ดังตารางที่ 1.2

ตารางที่ 1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

หมู่ที่ ชื่อ หมู่บ้าน ประชากร (คน) ทั้งหมด (คน) ครัวเรือน (หลังคาเรือน) ชาย หญิง
1 บ้านตะบิ้ง 759 754 1,513 322 2 บ้านกูแบบาเดาะ 476 449 925 198 3 บ้านเจาะกือแย 794 833 1,627 409 4 บ้านแซะโมะ 289 295 584 139 5 บ้านลานช้าง 437 461 898 214 6 บ้านกาเยาะมาตี 561 625 1,186 313 รวม 3,316 3,417 6,733 1,595 ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2564)

จากตารางที่ 1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี พบว่า ตำบลตะบิ้งมีจำนวนประชากรทั้งหมด 6,733 คน แบ่งเป็นประชากรชายรวม 3,316 คน และประชากรหญิงรวม 3,417 คน และมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,595 หลังคาเรือน โดยหมู่ที่ 3 บ้านเจาะกือแย มีจำนวนประชากรมากที่สุดทั้งหมด 1,627 คน และหมู่ที่ 4 บ้านแซะโมะ มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด ทั้งหมด 584 คน (แสดงแผนภูมิ)


ภาพที่ 1.8 จำนวนประชากรตำบลตะบิ้ง ณ เดือนมีนาคม 2564

ข้อมูลสถิติประชากรจากทะเบียนบ้านของตำบลตะบิ้งในห้วงเวลา 3 ปี ตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 – เดือนเมษายน 2563 พบว่า ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถแสดงโดยใช้แผนภูมิแท่ง ดังนี้

ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
2) ช่วงอายุและจำนวนประชากร

ตารางที่ 1.3 สถิติประชากรแยกตามช่วงอายุ (เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย) ทั้ง 6 หมู่บ้าน ของตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ช่วงอายุ ประชากร ชาย รวม หญิง รวม ทั้งหมด ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 ชาย ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 หญิง
0 - 4 48 59 86 22 38 49 302  60 37 58 24 32 67  278  580 5 – 9 72 40 64 25 40 72 313 67 39 72 24 50 62 314  627 10 - 14  78 34 80 25 48 64 329  66 42 72 15 42 62 299  628 15 – 19  70 32 73 21 37 54 287  59 29 67 26 39 59 279  566 20 – 24  55 37 68 32 41 33 266  67 32 81 16 31 57 284  550 25 – 29  67 41 69 27 43 56 303  56 34 52 18 33 45 238  541 30 - 34 68 41 62 23 20 34 248 51 44 73 26 38 59 291  539 35 – 39 57 31 41 22 30 36 217 51 33 52 20 30 40 226  443 40 – 44 48 30 35 16 17 32 178 55 25 45 20 25 30 200  378 45 – 49 43 25 54 21 18 33 194 43 25 61 20 25 31 205  399 50 – 54 44 17 32 15 24 26 158 34 24 58 16 30 26 188  346 55 - 59 30 20 38 7 28 13 136 35 18 37 16 17 25 148  284 60 - 64 23 20 26 6 12 15 102 25 16 31 20 19 19 130  232

ตารางที่ 1.3 (ต่อ) ช่วงอายุ ประชากร ชาย รวม หญิง รวม ทั้งหมด ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 ชาย ม.1 ม.2 ม.3 ม.4 ม.5 ม.6 หญิง
65 – 69 22 6 29 9 5 17 88 19 14 30 10 11 18 102 190 70 – 74 9 14 23 9 12 13 80 21 18 13 6 15 13 86 166 75 – 79 9 9 6 1 8 6 39 10 6 8 2 9 3 38 77 80 – 84 7 7 3 1 9 1 28 14 9 10 3 3 4 43 71 85 – 89 8 5 1 4 3 5 26 8 1 10 8 7 1 35 61 90 – 94 4 5 2 1 2 2 16 8 2 3 3 3 1 20 36 95 - 99 0 0 1 3 1 0 5 2 1 1 1 1 1 7 12 100 ปี ขึ้นไป 0 1 0 1 0 0 2 0 0 0 0 1 0 1 3 รวม 762 474 793 291 436 561 3,317 751 449 834 294 461 623 3,412 6,729 ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี, เดือนมีนาคม 2564
จากตารางที่ 1.3 สถิติประชากรแยกตามช่วงอายุ (เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย) ทั้ง 6 หมู่บ้าน ของตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ของเดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบว่า มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 6,729 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 3,317 คน และประชากรหญิง 3,412 คน โดยสามารถสรุปประชากรตามช่วงอายุ ดังนี้


- ช่วงอายุ 0 – 4 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 580 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 302 คน และประชากรหญิง 278 คน - ช่วงอายุ 5 – 9 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 627 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 313 คน และประชากรหญิง 314 คน - ช่วงอายุ 10 – 14 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 628 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 329 คน และประชากรหญิง 299 คน - ช่วงอายุ 15 – 19 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 566 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 287 คน และประชากรหญิง 279 คน - ช่วงอายุ 20 – 24 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 550 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 266 คน และประชากรหญิง 284 คน - ช่วงอายุ 25 – 29 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 541 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 303 คน และประชากรหญิง 238 คน - ช่วงอายุ 30 – 34 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 539 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 248 คน และประชากรหญิง 291 คน - ช่วงอายุ 35 – 39 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 443 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 217 คน และประชากรหญิง 226 คน - ช่วงอายุ 40 – 44 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 378 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 178 คน และประชากรหญิง 200 คน - ช่วงอายุ 45 – 49 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 399 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 194 คน และประชากรหญิง 205 คน - ช่วงอายุ 50 – 54 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 346 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 158 คน และประชากรหญิง 188 คน - ช่วงอายุ 55 – 59 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 284 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 136 คน และประชากรหญิง 148 คน - ช่วงอายุ 60 – 64 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 232 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 102 คน และประชากรหญิง 130 คน - ช่วงอายุ 65 – 69 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 190 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 88 คน และประชากรหญิง 102 คน - ช่วงอายุ 70 – 74 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 166 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 80 คน และประชากรหญิง 86 คน - ช่วงอายุ 75 – 79 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 77 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 39 คน และประชากรหญิง 38 คน - ช่วงอายุ 80 – 84 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 71 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 28 คน และประชากรหญิง 43 คน - ช่วงอายุ 85 – 89 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 61 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 26 คน และประชากรหญิง 35 คน - ช่วงอายุ 90 – 94 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 36 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 16 คน และประชากรหญิง 20 คน - ช่วงอายุ 95 – 99 ปี มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 12 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 5 คน และประชากรหญิง 7 คน - ช่วงอายุ 100 ปีขึ้นไป มีประชากรใน 6 หมู่บ้านทั้งหมด 3 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 2 คน และประชากรหญิง 1 คน (4) สภาพทางสังคม 1) การศึกษา ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วยสถานศึกษา ดังนี้ 1.1) โรงเรียนระดับประถมศึกษาทั้งหมด  4  แห่ง ได้แก่ (1) โรงเรียนบ้านตะบิ้ง    จำนวนนักเรียนประมาณ 212 คน (2) โรงเรียนบ้านเจาะกือแย  จำนวนนักเรียนประมาณ 424 คน (3) โรงเรียนบ้านแซะโมะ  จำนวนนักเรียนประมาณ  56 คน (4) โรงเรียนบ้านลานช้าง  จำนวนนักเรียนประมาณ 125 คน (เริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) ที่มา : ข้อมูลจากกองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2563) 1.2) โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาทั้งหมด  4  แห่ง ได้แก่ (1) โรงเรียนราษฎร์ประชานุเคราะห์  จำนวนนักเรียนประมาณ 450 คน (เริ่มตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6) (2) โรงเรียนศาสนศึกษา      จำนวนนักเรียนประมาณ 1,813 คน (เริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6) (3) โรงเรียนบำรุงมุสลีมีน จำนวนนักเรียนประมาณ 468 คน (เริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6) (4) โรงเรียนสามารถดีวิทยา    จำนวนนักเรียนประมาณ 1,016 คน (เริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6) ที่มา : ข้อมูลจากกองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2564) 1.3) สถาบันปอเนาะ  5  แห่ง 1.4) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน  3  แห่ง ได้แก่ (1) ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดกูแบบาเดาะ
จำนวนนักเรียนประมาณ 31 คน (2) ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดดารุลอิฮซาน
จำนวนนักเรียนประมาณ 35 คน (3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลานช้าง
จำนวนนักเรียนประมาณ 40 คน ที่มา : ข้อมูลจากกองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ( ณ เดือนธันวาคม 2563) 1.5) การศึกษานอกระบบ (กศน.ตะบิ้ง)  1  แห่ง การศึกษานอกระบบ (กศน.ตะบิ้ง) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านแซะโมะ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

2) สาธารณสุข 2.1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง  1  แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านเจาะกือแย ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
2.2) ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน  6  แห่ง ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน ทั้ง 6 แห่ง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 6 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

3) อาชญากรรม ไม่มี

4) ยาเสพติด มีผู้เสพยาเสพติดจากตำบลตะบิ้งที่เข้าร่วมค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด Camp 35 ประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 11 ราย สำหรับปีงบประมาณ 2564 ไม่มีข้อมูลผู้ติดยาเสพติดจากตำบลตะบิ้ง
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอำเภอสายบุรี (ศป.ปส.อ.สายบุรี) (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2564)

5) การสังคมสงเคราะห์ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้ 5.1) จ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ 5.2) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 5.3) ประสานการทำบัตรผู้พิการ

ตารางที่ 1.4 การให้การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนชรา คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ประเภท จำนวนผู้ได้รับการช่วยเหลือ
(ราย) จำนวนเงิน (บาท) เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 678 452,600 เงินเบี้ยยังชีพคนพิการ 174 142,800 เงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ 1 500 รวม 853 595,900 ที่มา : กองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2564)

จากตารางที่ 1.4 การให้การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพคนชรา คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 พบว่า มีผู้สูงอายุทั้งหมด 678 ราย ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทั้งหมด 452,600 บาท มีคนพิการทั้งหมด 174 คน ได้รับเงินเบี้ยยังชีพคนพิการทั้งหมด 142,800 บาท และมีผู้ป่วยเอดส์ทั้งหมด 1 ราย ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ทั้งหมด 500 บาท

(5) ระบบบริการพื้นฐาน 1) การคมนาคมขนส่ง (ทางบก, ทางน้ำ, ทางราง ฯลฯ) ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีการคมนาคมทางบก ประกอบด้วย ถนนลาดยางแอสฟัลท์ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนหินคลุก และถนนลูกรัง (แสดงดังตารางที่ 1.5)

ตารางที่ 1.5  ข้อมูลเกี่ยวกับถนนลาดยางแอสฟัลท์ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนหินคลุก ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี หมู่ที่ ขื่อหมู่บ้าน จำนวนสาย ทางรวม (สาย) ถนนลาดยาง แอสฟัลท์ติก (สาย) ถนนคอนกรีต เสริมเหล็ก (สาย) ถนนหินคลุก (สาย) ถนนลูกรัง (สาย) หมายเหตุ 1 บ้านตะบิ้ง 7 - 6 1 -
2 บ้านกูแบบาเดาะ 8 1 3 2 2
3 บ้านเจาะกือแย 6 - 4 2 -
4 บ้านแซะโมะ 2 - 1 1 -
5 บ้านลานช้าง 5 1 3 1 -
6 บ้านกาเยาะมาตี 6 - 4 2 -
รวม 34 2 21 9 2
ที่มา : ข้อมูลลงทะเบียนทางหลวงท้องถิ่นของ อบต.ตะบิ้ง (ณ เดือน มีนาคม 2564)

จากตารางที่ 1.5 ข้อมูลเกี่ยวกับถนนลาดยางแอสฟัลท์ ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนหินคลุก และถนนลูกรัง ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี พบว่า ตำบลตะบิ้ง มีถนนทั้งหมด 34 สาย แบ่งเป็น ถนนลาดยางแอสฟัลท์ติก 2 สาย, ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 21 สาย ถนนหินคลุก 9 สาย และถนนลูกรัง 2 สาย


2) การไฟฟ้า ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีระบบไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน แต่บางพื้นที่ภายในหมู่บ้านยังไม่ทั่วถึง 3) การประปา ระบบประปาบาดาลหมู่บ้านที่สามารถใช้งานได้ จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 3 บ้านเจาะกือแย และหมู่ที่ 6 บ้านกาเยาะมาตี

4) โทรศัพท์ ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่

5) ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) หรือการขนส่ง ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ที่ทำการไปรษณีย์สายบุรี ตั้งอยู่ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประมาณ 5 กิโลเมตร (6) ระบบเศรษฐกิจ 1) การเกษตร ระบบข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการเกษตร ปี 2562
ตารางที่ 1.6 ระบบข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการเกษตร ปี 2562 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี หมู่ที่ พ.ท.ถือครองเพื่อการเกษตร (ไร่) พ.ท.ทำการเกษตร (ไร่) จำนวนครัวเรือนเกษตรกร (ครัวเรือน) แรงงานเพื่อการเกษตร
(คน) การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร
(ไร่) ชาย หญิง รวม พ.ท.ทำนา
(ไร่) พ.ท. ปลูกไม้ผล
(ไร่) พ.ท.ปลูก ไม้ยืนต้น
(ไร่) พ.ท.ปลูก พืชไร่
(ไร่) พ.ท. ปลูกพืชผัก (ไร่) พ.ท.ปลูก ไม้ดอก
ไม้ประดับ (ไร่) พ.ท.รกร้างว่างเปล่า
(ไร่) พ.ท.อื่น ๆ (ไร่) 1 1,346 1,204 231 274 320 594 - 207 756 22 15 - 142 - 2 1,396 1,311 140 206 220 426 - 134 987 20 13 - 85 - 3 724 704 229 327 360 687 - 175 448 10 8 - 20 - 4 1,643 1,323 102 131 160 291 - 126 888 30 10 - 320 - 5 1,663 1,483 157 226 245 471 - 244 749 25 22 - 180 - 6 724 710 181 270 285 555 - 88 388 7 15 - 14 -                               รวม 7,496 6,735 1,040 1,434 1,590 3,024 - 974 4,216 114 83 - 761 - ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2564)

จากตารางที่ 1.6 ระบบข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการเกษตร ปี 2562 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี พบว่า ในปี 2562 ตำบลตะบิ้งมีพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรทั้งหมด 7,496 ไร่ มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด 1,040 ครัวเรือน การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่นำไปใช้สำหรับการปลูกไม้ยืนต้นมากที่สุด ทั้งหมด 4,216 ไร่ รองลงมา ได้แก่ การปลูกไม้ผล ทั้งหมด 974 ไร่ และเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ทั้งหมด 761 ไร่ ตามลำดับ

ระบบข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืช ปี 2562 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (1) ข้าวนาปี จำนวน  35 ไร่ (2) ยางพารา จำนวน 4,216 ไร่ (3) มะพร้าวแก่ จำนวน  237 ไร่
(4) ลองกอง จำนวน 1,390 ไร่ (5) ทุเรียนพันธุ์ดี จำนวน  172 ไร่ (6) เงาะพันธุ์ดี จำนวน  111 ไร่ (7) มังคุด จำนวน  343 ไร่
(8) กล้วยน้ำว้า จำนวน  215 ไร่ (9) ปาล์มน้ำมัน จำนวน    6 ไร่ (10) ลำไย จำนวน    6 ไร่ (11) ถั่วลิสง จำนวน  27 ไร่
(12) ข้าวโพดรับประทานพร้อมฝัก จำนวน  31 ไร่ (13) มันเทศ จำนวน  10 ไร่ (14) แตงโม จำนวน  44 ไร่ (15) แตงกวา จำนวน  24 ไร่ (16) ถั่วฝักยาว จำนวน  43 ไร่ (17) ผักบุ้งจีน จำนวน  26 ไร่ (18) บวบ จำนวน  16 ไร่ ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2564) หมายเหตุ : สามารถดูข้อมูลรายละเอียดประกอบในภาคผนวก
2)การประมง ระบบข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปี 2563 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (1) ปลากดเหลือง จำนวน 212 กระชัง (2) ปลาทับทิม จำนวน  65 กระชัง (3) ปลากะพง จำนวน  12 กระชัง
โดยมีข้อมูลผู้ลงทะเบียนของตำบลตะบิ้งทั้งสิ้น 46 ราย
ที่มา : สำนักงานประมงอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2564) หมายเหตุ : สามารถดูข้อมูลรายละเอียดประกอบในภาคผนวก


3)การปศุสัตว์ ระบบข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการปศุสัตว์ ปี 2563 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
(1) โคเนื้อ จำนวน  384 ตัว (2) ไก่พื้นเมือง จำนวน 5,766 ตัว (3) เป็ด จำนวน 1,849 ตัว (4) แพะ จำนวน  387 ตัว (5) แกะ จำนวน  10 ตัว (6) นกกระทา จำนวน  20 ตัว (7) สัตว์อื่น ๆ จำนวน  165 ตัว โดยมีเกษตรกรขึ้นทะเทียนผู้เลี้ยงสัตว์ไว้ทั้งสิ้น 295 ราย
ที่มา : สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2564) หมายเหตุ : สามารถดูข้อมูลรายละเอียดประกอบในภาคผนวก

4) การบริการ มีบริการนวดแผนโบราณ ในพื้นที่ตำบลตะบิ้งเพื่อเป็นการรักษา

5) การท่องเที่ยว มีสระน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ 1 แห่ง คือ สระน้ำตะบิ้ง (พรุนาฆอ) ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 บ้านตะบิ้ง สามารถปรับปรุงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ได้

6)อุตสาหกรรม ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่

7)การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย 6.7.1 กลุ่มออมทรัพย์ 6 กลุ่ม 6.7.2 กลุ่มเกษตร 3 กลุ่ม 6.7.3 ศูนย์ดินปุ๋ยชุมชน หมู่ที่ 2 1 กลุ่ม 6.7.4 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรฮุแตปาเซ 1 กลุ่ม


8)แรงงาน จากโครงสร้างประชากรที่จำแนกประเภทตามช่วงอายุประชากร ตำบลตะบิ้งมีโครงสร้างประชากรวัยทำงาน ช่วงอายุ 15 – 59 ปี ทั้งหมด 4,046 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 1,987 คน และแบ่งเป็นประชากรหญิง 2,059 คน คิดเป็นร้อยละ 60.13 ของประชากรทั้งหมด (รายละเอียดดังตารางที่ 1.3) โดยส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานภาคการเกษตร

(7) ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 1) การนับถือศาสนา ประชาชน หมู่ที่ 1 – 6 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 100 ของประชากรทั้งหมด
7.1  มัสยิดในเขตตำบลตะบิ้ง จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ (1) มัสยิดนูรุลมุตตากีน ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 1 ตำบลตะบิ้ง (2) มัสยิดนูรูลฟาละห์ ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 2 ตำบลตะบิ้ง (3) มัสยิดนูรูลวัฮดะห์ลาคอ ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 2 ตำบลตะบิ้ง (4) มัสยิดดารุลนาอีม ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 2 ตำบลตะบิ้ง (5) มัสยิดดารุลอิฮซาน ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 3 ตำบลตะบิ้ง (6) มัสยิดมิฟตาฮูลยันนะห์ ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 3 ตำบลตะบิ้ง (7) มัสยิดแซะโมะ ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 4 ตำบลตะบิ้ง (8) มัสยิดอีบาดุเราะห์มาน ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 5 ตำบลตะบิ้ง (9) มัสยิดกาเนะ ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 5 ตำบลตะบิ้ง (10) มัสยิดดารุลอีมาม ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 6 ตำบลตะบิ้ง 7.1.2 สุเหร่าในเขตตำบลตะบิ้ง จำนวน 10 แห่ง ได้แก่ (1) สุเหร่าจือแร ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 1 ตำบลตะบิ้ง (2) สุเหร่าปาแดบอลา ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 3 ตำบลตะบิ้ง (3) สุเหร่าบำรุงมุสลีมีน ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 3 ตำบลตะบิ้ง (4) สุเหร่าบาโงกือยิ ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 3 ตำบลตะบิ้ง (5) สุเหร่าซายะ ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 3 ตำบลตะบิ้ง (6) สุเหร่าดูกู ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 4 ตำบลตะบิ้ง (7) สุเหร่าบือแนแตยอ ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 5 ตำบลตะบิ้ง (8) สุเหร่าบือแนยามู ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 5 ตำบลตะบิ้ง (9) สุเหร่าบือแนกูแจ ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 6 ตำบลตะบิ้ง (10) สุเหร่าบาโงอาลี ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 6 ตำบลตะบิ้ง

2) ประเพณีและงานประจำปี 7.2.1 การถือศีลอด เป็นหลักปฏิบัติที่ชาวมุสลิมจำเป็นต้องปฏิบัติ (การถือศีลอด) ในเดือนรอมฎอนตลอดระยะเวลา 1 เดือน มุสลิมที่มีอายุเข้าเกณฑ์ศาสนบัญญัติ จะต้องงด การกิน การดื่ม การร่วมประเวณี ตลอดจนทุกอย่างที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตกดิน คนที่ถือศีลอดจึงต้องสำรวมทั้งกาย วาจา และใจ เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีเกียรติยิ่งของศาสนาอิสลาม 7.2.2 วันตรุษอิดิลฟิตรี หรือที่นิยมเรียกว่า “วันรายอออกบวช” เพราะหลังจากที่ชาวมุสลิมถือศีลอดมาตลอดในเดือนรอมฎอน ก็จะถึงวันออกบวช ตอนเช้าจะมีการทำละหมาดร่วมกันที่มัสยิด ทุกคนจะแต่งกายด้วยผ้าที่ใหม่ สะอาด สวยงาม และมีการจ่ายที่เรียกว่า “ซะกาตฟิตเราะฮ์” 7.2.3 วันตรุษอีดิลอัฎฮา หรือวันรายอฮัจยี เนื่องจากชาวมุสลิมทั่วโลกเริ่มประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย จะมีการทำกุอาน หรือเชือดสัตว์ เป็นอาหารแก่เพื่อนบ้านและคนยากจน เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ 7.2.4 ประเพณีอาซูรอ การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือ การนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน (วัฒนธรรมภาคใต้) 7.2.5 งานวันเมาลิด คำว่า “เมาลิด” เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า วันประสูติของท่านนบี มูฮัมหมัด (ซ.ล.) ตรงกับวันจันทร์ที่ 12 เดอืนรอบิอูลอาวัล (ประมาณวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 1113) ณ นครเมกกะฮ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองคล้ายวันเกิดของท่านศาสดามูฮัมหมัด ในวันดังกล่าวชาวมุสลิมจะได้จัดงานถวายความรำลึกถึงท่านศาสดามูฮัมหมัด ในพิธีจะมีการนำประวัติของท่านศาสดามากล่าวถึงเป็นโวหารสดุดี มีทั้งการกล่าวด้วยร้อยแก้วและร้อยกรอง ซึ่งจะใช้หนังสือ อัล – บัร – ซันญี ในการอ่าน วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณท่านศาสดาผู้มีพระคุณและแสดงความกตเวทิตาคุณ และประหนึ่งเพื่อสอนให้เยาวชนได้รู้จักบุคคลสำคัญทางศาสนา นอกจากนี้ยังมีการอ่านคัมภีร์อัล – กุรอาน การอ่านดุอาห์ขอพรจากองค์อัลเลาะฮ เมื่อเสร็จพิธีทางศาสนาแล้วก็จะมีการทำบุญเลี้ยงกันที่มัสยิดหรือที่บ้าน ปัจจุบันมีการจัดวันเมาลิดรวมกันเป็นระดับตำบล อำเภอ หรือจังหวัด เรียกว่า งานเมาลิดกลาง มีการประกวดการอ่านพระคัมภีร์อัลกรุอาน และแสดงปาฐกถาธรรม กล่าวถึงผลงานและคุณธรรมของท่านนบี มูฮัมหมัด

ภาพที่ 1.9 การถือศีลอด


ภาพที่ 1.10 วันตรุษอิดิลฟิตรี หรือที่นิยมเรียกว่า “วันรายอออกบวช”


ภาพที่ 1.11 ประเพณีอาซูรอ การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ)


ภาพที่ 1.12 งานวันเมาลิด

3) ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น 7.3.1 ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น คือ (1) ศูนย์ดินปุ๋ยชุมชน ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 2 ตำบลตะบิ้ง (2) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรฮูแตปาเซ ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 3 ตำบลตะบิ้ง 7.3.2 ภาษาถิ่น คือ (1) ภาษาเมืองมลายู

4)สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก 7.4.1 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกที่โดดเด่น คือ (1) ผ้าคลุมสตรี (2) ผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ลองกอง ทุเรียน

(8) ทรัพยากรธรรมชาติ 1) น้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ (1) แม่น้ำ 1 สาย (2) คลอง 1 สาย (3) ลำห้วย 4 สาย แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ (1) ระบบประปาหมู่บ้าน 3 แห่ง (2) สระน้ำ 1 แห่ง

2) ป่าไม้ ไม่มี

3) ภูเขา ไม่มี

4) ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มี

stars
ข้อมูลกองทุน

องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ได้เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เมื่อปี พ.ศ. 2553 และมีประชากรประมาณ 6,732 คน ได้รับเงินค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประมาณ 300,600 บาท

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...