กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2563 - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะเหลียน

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะเหลียน
ประจำปีงบประมาณ 2563

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

ประวัติความเป็นมาของตำบลปะเหลียน ตำบลปะเหลียน เป็นตำบลที่มีความสำคัญต่อเมืองปะเหลียนในอดีต มีเส้นทางการคมนาคมเชื่อมต่อไปยังเมืองพัทลุง เมืองปะเหลียนตั้งขึ้นครั้งแรกในตำบลนี้ คำว่า “ปะ” มีความหมายถึง บิดาหรือเป็นคำนำหน้าชื่อเรียกผู้สูงอายุที่เคารพนับถือ คำว่า “เหลียน” เป็นชื่อคนตามนิยามพื้นบ้าน คือตาหมอเหลียนซึ่งเคยสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ละแวกบ้านแห่งหนึ่ง จึงเรียกชื่อละแวกบ้านนั้นว่า “บ้านปะเหลียน” ต่อมากลายเป็นตำบลปะเหลียน สัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน เป็นรูปภูเขา น้ำตกและนก มีความหมายดังนี้ ภูเขา หมายถึง ความเขียวขจี ความสมบูรณ์ของตำบลปะเหลียน น้ำตก หมายถึง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในตำบลที่มีมานานแล้ว นก หมายถึง การมองการณ์ไกล องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน ยกฐานะจากสภาตำบลมาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยใช้อาคารสภาตำบลเดิมเป็นสถานที่ทำงาน 1. สภาพภูมิศาสตร์ 1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน ได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตั้งอยู่เลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ห่างจากที่ว่าการอำเภอปะเหลียนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 23 กิโลเมตร เขตพื้นที่ตำบลปะเหลียน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 273 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 170,625 ไร่ พื้นที่ทั้งหมดแบ่งตามสภาพการใช้งาน อาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทือกเขาบรรทัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลทุ่งยาว ตำบลลิพัง ตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทือกเขาบรรทัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลแหลมสอม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
1.2 สภาพภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ตำบลปะเหลียน โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสลับกับภูเขาและลาดเอียงมาทางทิศตะวัน ตกมีแม่น้ำปะเหลียนเป็นแม่น้ำสายหลักเลี้ยงประชากรทั่วทั้งตำบล 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปร้อนชื้น มี 2 ฤดู แต่มีฝนตกเกือบทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 29 – 31 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน อากาศจะร้อนพอสมควร โดยเริ่มตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ซึ่งอากาศจะร้อนมากในช่วงเกือบปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไป โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 34 – 39 องศาเซลเซียส ฤดูฝน ช่วงฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ถึง เดือน ธันวาคม และฝนจะตกหนักมากในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 3,550.9 มิลลิเมตร/ปี อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 26 – 29 องศาเซลเซียส
1.4 ลักษณะของดิน ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วนซุย เหมาะแก่การทำการเกษตร 1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ ตำบลปะเหลียนมีแหล่งน้ำที่สำคัญทั้งที่เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติดังนี้ - คลองปะเหลียน ม. 1 ม. 12 ม. 9  - คลองลำปลอก ม.6 ม.13 ม.1 ม.8 - คลองโต๊นเต๊ะ ม. 2 - คลองลำแคลง ม.4 ม.15 - คลองตง ม.2 ม .14 - คลองวน ม.5
- คลองวังอ่าง ม. 3 - ห้วยสามสามง่าม ม.2 - ห้วยหมาน ม. 4 - คลองเจ้าพะ ม.11 ม. 5
- คลองวังไม้ค้อน ม. 7 - คลองทุ่งน้ำขาว ม.14 - สระมาบชุบเห็ด ม. 10 - ห้วยเจ็ดเหร็ด ม.11 - สระพรุราชา ม.13 - คลองทุ่งน้ำขาว ม.14 1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ลักษณะของป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพารา และปาล์มน้ำมัน ป่าสงวน/ป่าอนุรักษ์ 2. ด้านการเมืองการปกครอง 2.1 เขตการปกครอง
ตำบลปะเหลียน แบ่งการปกครองออกเป็น 15 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชื่อกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านหัวถนน นายจรัญ ชูอ่อน หมู่ที่ 2 บ้านควนไม้ดำ นายสานิตย์ ทองเส็ม หมู่ที่ 3 บ้านหนองเอื้อง นายโผน ทองโท หมู่ที่ 4 บ้านลำแคลง นายสนิท กระนิล หมู่ที่ 5 บ้านป่ากอ นายประเสริฐ เอ้งฉ้วน หมู่ที่ 6 บ้านลำปลอก นายอำเพือน รอดทอง หมู่ที่ 7 บ้านวังเจริญ นายลิขิต  จิตต์เพชร หมู่ที่ 8 บ้านท่าคลอง นายสุนทร ชุมช่วย หมู่ที่ 9 บ้านหาดเลา นายคมกฤษ คงเกลี้ยง หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งข่า นายจิรวัฒน์ ควนวิไล หมู่ที่ 11 บ้านเจ้าพะ นายสุธีศักดิ์ เรืองนะ หมู่ที่ 12 บ้านถ้ำสุรินทร์ นายธีรพงษ์ เดขอรัญ หมู่ที่ 13 บ้านพรุราชา นายสำราญ เจริญฤทธิ์ หมู่ที่ 14 บ้านสันติราษฎร์ นายสมโชค หนูวงศ์ หมู่ที่ 15 บ้านปากแคลง นายวิเชษฐ์ คงอินทร์  กำนันตำบลปะเหลียน 2.2 การเลือกตั้ง การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน
คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน ประกอบด้วย 1. นายสมพงษ์ คงเกลี้ยง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน 2. นายสมบัติ  พิชัยรัตน์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน สภาองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน ประกอบด้วย 1. นายธงชัย เดชอรัญ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน 2. นายมนิตย์ เพชรเพ็ง รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน 3. นายสมคิด    แคนยุกต์ เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านหัวถนน   สมาชิก อบต. 1. นายชัยณรงค์ เรืองอินทร์
หมู่ที่ 2 บ้านควนไม้ดำ สมาชิก อบต. 1. นายยะหมาย แสงกุล หมู่ที่ 3 บ้านหนองเอื้อง สมาชิก อบต. 1. นายประยุทธ หลงขาว 2. นายมะอูน เกื้อเดช หมู่ที่ 4 บ้านลำแคลง สมาชิก อบต. 1. นายปฐม หินขวาง หมู่ที่ 5 บ้านป่ากอ สมาชิก อบต. 1. นายอนุโรจน์ สองพัง 2. นายกาว ชีวจตุรภัทร หมู่ที่ 6 บ้านลำปลอก สมาชิก อบต. 1. นายนิรพันธ์ ชูศรีเพชร 2. นายประสบ เกื้อสา หมู่ที่ 7 บ้านวังเจริญ สมาชิก อบต. 1. นายมนิตย์ เพชรเพ็ง 2. นายวิโรจน์ เหมนแก้ว หมู่ที่ 8 บ้านท่าคลอง สมาชิก อบต. 1. นายสุทิน สังฆ์รักษ์ 2. นายอดิศร กูมุดา หมู่ที่ 9 บ้านหาดเลา สมาชิก อบต. 1. นายอุสัน หะหมาน 2. นายอุดร ลิ้มไส้หั้ว หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งข่า   สมาชิก อบต. 1. นายรัตน์ ควนวิลัย 2. นายวัลลภ ทองขวิด หมู่ที่ 11 บ้านเจ้าพะ   สมาชิก อบต. 1. นายสุนันท์ ทองฤทธิ์ 2. นายปรีชา จงทอง หมู่ที่ 12 บ้านถ้ำสุรินทร์   สมาชิก อบต. 1. นายวีรนาท หะหมาน 2. นายธงชัย เดชอรัญ หมู่ที่ 13 บ้านพรุราชา สมาชิก อบต. 1. นายรุ่งโรจน์ นวลนาค 2. นายนิมิตร ติงหงะ หมู่ที่ 14 บ้านสันติราษฎร์   สมาชิก อบต. 1. นายประเสริฐ หมุ่นมิตร 2. นายปรีชา ขวัญเพ็ชร หมู่ที่ 15 บ้านปากแคลง
  สมาชิก อบต. 1. นายอดิศักดิ์ หลงเศษ 2. นายอนุวัฒน์ สำนักพงศ์
3.ประชากร 3.1  ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร จำนวนครัวเรือนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน  จำนวน    4,211  ครัวเรือนจำนวนประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน จำนวนทั้งสิ้น  12,70  คน            แยกเป็นชาย  6,086  คน หญิง  6,284  คน
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร (คน) ชาย หญิง รวม หมู่ที่ 1 บ้านหัวถนน 474 667 698 1,365 หมู่ที่ 2 บ้านควนไม้ดำ 558 816 809 1,625 หมู่ที่ 3 บ้านหนองเอื้อง 283 456 470 926 หมู่ที่ 4 บ้านลำแคลง 266 387 423 810 หมู่ที่ 5 บ้านป่ากอ 316 467 452 929 หมู่ที่ 6 บ้านลำปลอก 326 454 515 969 หมู่ที่ 7 บ้านวังเจริญ 141 170 192 362 หมู่ที่ 8 บ้านท่าคลอง 206 345 344 689 หมู่ที่ 9 บ้านหาดเลา 321 382 427 809 หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งข่า 161 254 248 502 หมู่ที่ 11 บ้านเจ้าพะ 184 220 236 456 หมู่ที่12 บ้านถ้ำสุรินทร์ 236 398 392 790 หมู่ที่ 13 บ้านพรุราชา 129 183 187 370 หมู่ที่ 14 บ้านสันติราษฎร์ 349 467 433 900 หมู่ที่ 15 บ้านปากแคลง 261 420 458 878 รวม 4,211 6,082 6,284 12,370

(ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอปะเหลียน ณ 30 เมษายน 2562)

3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร 1) จำนวนประชากรแบ่งตามช่วงอายุของประชากร
ช่วงอายุ ชาย หญิง รวม ทารก - 6 ปี 554 497 1,051 7 – 12 ปี 535 476 1,011 13 – 17 ปี 455 418 873 18 - 60 ปี 3,885 4,027 7,912 60 ปีขึ้นไป 656 876 1,523 รวม 6,086 6,284 12,370

(ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอปะเหลียน ณ เดือน 30 เมษายน 2562)

stars
ข้อมูลกองทุน
  1. สภาพทางสังคม 4.1 การศึกษา โรงเรียนในตำบล ได้แก่
    1. โรงเรียนมัธยม จำนวน  1 แห่ง 1.1. โรงเรียนคันธพิทยาคาร ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 3
    2. อนุบาล/ประถมศึกษา/ขยายโอกาส จำนวน 6 แห่ง 2.1 โรงเรียนบ้านปะเหลียน ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 1     เปิดสอน ระดับอนุบาล ขยายโอกาสถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 2.2 โรงเรียนบ้านควนไม้ดำ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 2     เปิดสอน ระดับอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 2.3 โรงเรียนบ้านหาดเลา  ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 3     เปิดสอน ระดับอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 2.4 โรงเรียนบ้านลําแคลง ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 4   เปิดสอน ระดับอนุบาล ขยายโอกาสถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 2.5 โรงเรียนบ้านลําปลอกเหนือ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 6     เปิดสอน ระดับอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 2.6 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันติราษฎร์ประชาบำรุง
          เปิดสอน ระดับอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 14
    3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1  แห่ง 3.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิรินธร อบต.ปะเหลียน ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 1 4.2 สาธารณสุข 4.2.1 สถาบันบริการและหน่วยงานบริหารงานสาธารณสุข
    4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน 4 แห่ง
    • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน หมู่ที่ 12

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำแคลง หมู่ที่ 4   - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำปลอก หมู่ที่ 6         - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ้าพะ หมู่ที่ 11       2. ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จำนวน 15 แห่ง 4.2.2 บุคลากรช่วยเหลือทางการสาธารณสุข - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีประจำทุกหมู่บ้าน

4.3 อาชญากรรม

4.4 ยาเสพติด มีปัญหาผู้เสพยาเสพติดในพื้นที่ มีความจำเป็นต้องได้รับจัดสรรงบ ติดตั้ง กล้องวงจรปิด

4.5 การสังคมสงเคราะห์ มีการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพให้แก่ ผู้สูงอายุ 1,559 ราย ผู้พิการ 527 ราย
และผู้ป่วยเอดส์เอดส์ 12 ราย
5. ระบบบริการพื้นฐาน 5.1 การคมนาคมขนส่ง การคมนาคมขององค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน สามารถติดต่อกับชุมชนภายในและภายนอกโดยอาศัยการคมนาคมทางบกเป็นหลัก สำหรับการคมนาคมภายในหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังคงเป็นถนนลูกรัง รองลงมาเป็นถนนคสล. , ถนนลาดยาง,ถนนหินคลุก 5.2 การไฟฟ้า ปัจจุบันประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียนมีไฟฟ้าใช้ครอบคลุมทั้งตำบลนอกจากนี้ยังได้รับการติดตั้งระบบไฟฟ้าสาธารณะตามถนนสาธารณะ
5.3 ประปา 1. มีระบบประปาภูมิภาค ให้บริการประชาชน หมู่ที่ 9 , 12, 1
2. มีระบบประปาหมู่บ้าน ให้บริการประชาชน หมู่ที่ 3 , 7 3. มีระบบประปาภูเขา ให้บริการประชาชน หมู่ที่ 1, 2 , 4 , 5 , 6, 8 , 9, 10,  11 , 12 , 13 , 14 , 15 5.4 โทรศัพท์ 1. โทรศัพท์พื้นฐาน(โทรศัพท์บ้าน) TOT / CAT 2. ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทรูมูฟ 2 แห่ง ตั้งอยู่ ณ  หมู่ที่ 1 , 14 3. ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดีแทค 2 แห่ง ตั้งอยู่ ณ  หมู่ที่ 1 , 6 4. ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จี เอสเอ็ม  2 แห่ง ตั้งอยู่ ณ  หมู่ที่ 1 , 2 ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่ 5.5 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์ - ในหมู่ที่ 1 บ้านหัวถนน มี หน่วยบริการไปรษณีย์ย่อยปะเหลียน ปณอ.ทุ่งยาว 6. ระบบเศรษฐกิจ 6.1 การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลปะเหลียนประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีพื้นที่ทำการเกษตร ได้แก่ การทำสวนยางพารา การผลิตยางตาเขียวและยางชำถุงเพื่อจำหน่าย จุดรับซื้อน้ำยาง  จำนวน 38 แห่ง ลานปาล์ม    จำนวน  2 แห่ง ลานรับซื้อไม้ยาง    จำนวน  4 แห่ง โรงรมน้ำยาง จำนวน  3 แห่ง

6.2 การประมง


6.3 การปศุสัตว์   การทำฟาร์มไก่
  การเลี้ยงโค   การทำฟาร์มแพะ 6.4 การบริการ บริการล้างอัดฉีด จำนวน 1 แห่ง บริการซ่อมแอร์ จำนวน 1 แห่ง ร้านอินเตอร์เน็ต จำนวน 5 แห่ง ปั๊มน้ำมัน จำนวน 3 แห่ง 6.5 การท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวน้ำตก 6 แห่ง จุดชมวิว เขาเจ็ดยอด 6.6 อุตสาหกรรม
- 6.7 การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพ ร้านค้าปลีก จำนวน 73 แห่ง ร้านค้าสะดวกซื้อ (เซเว่นอีเลฟเว่น)  จำนวน  1  แห่ง กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หมู่ที่ 5
6.8 แรงงาน     มีการจ้างแรงงานชาวไทย และ แรงงานต่างด้าวในการทำงานเกษตร ค้าขายและรับจ้างทั่วไป 7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) 7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน 7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร ในพื้นที่ตำบลสุโสะ มีศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตตรัง (สถานีทดลองยางตรัง) สังกัดกรมวิชาการเกษตร ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 5 บ้านหนองผักฉีด เป็นสถานที่ราชการที่เปิดให้บริการประชาชนเกี่ยวกับยางพารา ปาล์มและพืชอื่นๆ 7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร แหล่งน้ำธรรมชาติลำน้ำ ลำห้วย คลอง
ตำบลปะเหลียนมีแหล่งน้ำที่สำคัญทั้งที่เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติดังนี้ - คลองปะเหลียน  ม. 1 ม. 12  ม. 9      - คลองลำปลอก ม.6 ม.13 ม.1 ม.8 - คลองโต๊นเต๊ะ ม. 2 - คลองลำแคลง ม.4 ม.15 - คลองตง ม.2 ม .14 - คลองวน ม.5
- คลองวังอ่าง ม. 3 - ห้วยสามสามง่าม ม.2 - ห้วยหมาน ม. 4 - คลองเจ้าพะ ม. 11 ม. 5
- คลองวังไม้ค้อน ม. 7 - คลองทุ่งน้ำขาว ม.14 - สระมาบชุบเห็ด ม. 10 - ห้วยเจ็ดเหร็ด ม. 11 - สระพรุราชา ม. 13 - คลองทุ่งน้ำขาว ม.14
8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 8.1 การนับถือศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณร้อยละ 80 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 20 8.2 ประเพณีและงานประจำปี การจัดงานบุญ/งานประเพณีต่าง ๆ จะจัดกันตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติกันมาทุกปีและจารีตประเพณีเช่นประเพณีลอยกระทง , วันสงกรานต์ ,วันออกพรรษา 8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาใต้ ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นทาง อบต.ปะเหลียนจะจัดทำป้ายให้ประชาชนได้รับทราบ และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป 8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตทางการเกษตรสวนผลไม้ เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน ฯ 9. ทรัพยากรธรรมชาติ 9.1 น้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติลำน้ำ ลำห้วย คลอง
9.2 ป่าไม้ มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ทำให้มีแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกหลายแห่งและเป็นที่อยู่อาศัยของเงาะป่าซาไก 9.3 ภูเขา ในพื้นที่ตำบลปะเหลียนมีลูกเขามากมาย มีอาณาเขตติดเทือกเขาบรรทัด ภูเขาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียง ในด้านความสวยงามของธรรมชาติ คือ ภูเขาเจ็ดยอด
9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ตำบลปะเหลียนซึ่งมีภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับกับเทือกเขาบรรทัด และลาดลงมาทางทิศตะวันตก จึงก่อเกิดน้ำตกที่สวยสดงดงามขึ้นเป็นจำนวนมาก จนเป็นที่เลื่องชื่อลือชาของนักท่องเที่ยวมาอย่างยาวนานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำตกโตนเต๊ะ น้ำตกโตนตก ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านควนไม้ดำ น้ำตกน้ำพ่าน  และน้ำตกหนานสะตอ ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 15 บ้านปากแคลง และน้ำตกโตนลำปลอก ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งข่า ซึ่งคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณน้ำตกไหลมากตลอดทั้งปี -10- 10. อื่น ๆ (ถ้ามี/ระบุด้วย) การโทรคมนาคม     1. โทรศัพท์สาธารณะ 14  แห่ง     2. โทรศัพท์พื้นฐาน (โทรศัพท์บ้าน) 215 เลขหมาย     3. ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทรูมูฟ 2 แห่ง ตั้งอยู่ ณ  หมู่ที่ 1,6     4. ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดีแทค 1 แห่ง ตั้งอยู่ ณ  หมู่ที่ 1     5. ชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จี เอสเอ็ม  1 แห่ง ตั้งอยู่ ณ  หมู่ที่ 1

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...