กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2565 - กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่าวพะยูน

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่าวพะยูน
ประจำปีงบประมาณ 2565

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

ด้านสาธารณสุข : จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง
โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มือ-เท้า-ปากในเด็ก และโรคอื่นๆ
เทศบาลตำบลอ่าวพะยูน มีสถานสาธารณสุขประจำตำบล ดังนี้ ๑ โรงพยาบาลปากพะยูน (ติดเขตเทศบาล ต.ปากพะยูน) เขตเทศบาล ต.ปากพะยูน ๑ แห่ง ๒ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปากพะยูน
(ติดเขตเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน) ม.๑ ต.ปากพะยูน ๑ แห่ง ๓ คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวบ้านโพธิ์ ม.๔ ต.ปากพะยูน ๑ แห่ง ๔ คลินิกเอกชน ม.๔ ต.ปากพะยูน ๑ แห่ง     สถิติโรคที่มักเกิดขึ้นในเขตเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน ได้แก่ - โรคเบาหวาน (อย่างเดียว)      จำนวน  ๓๔  คน - โรคความดันโลหิตสูง (อย่างเดียว)      จำนวน ๒๙๔ คน - โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (ในคนคนเดียวกัน)  จำนวน ๑๑๕ คน - โรคมะเร็ง (ทุกชนิด)        จำนวน ๑๕ คน     ข้อมูลจากคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวบ้านโพธิ์ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔
โรคติดต่ออันตราย (ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘) เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ ได้เกิดการระบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เมืองอู่ ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน เชื่อว่าไวรัสนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีต้นกำเนิดจากสัตว์ ยังไม่ทราบต้นกำเนิดแท้จริง แต่ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ การแพร่กระจายการติดเชื้อเกิดขึ้นแทบทั้งหมดจากคนสู่คน ยืนยันแล้ว ๔๑ รายแรก ซึ่งตีพิมพ์ในเดอะแลนซิตเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๓ เปิดเผยว่าวันเริ่มต้นอาการวันแรกสุดได้แก่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ สิ่งพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการจาก WHO รายงานว่าอาการเริ่มต้นเร็วที่สุดคือวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๒ WHO และ ทางการจีนยืนยันการติดต่อจากคนสู่คนในวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๓ เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ ๒๐๑๙ อยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส โดยทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ และแพร่ระบาดมายังประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วย อีกหลายประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ เขตการปกครองพิเศษ (ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊า) สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เป็นต้น มีแนวโน้มที่สูงขึ้น และในประเทศไทยพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องยกระดับศูนย์ ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เป็นระดับ ๒ และยกเป็นระดับ ๓ เพื่อติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ได้ประกาศชื่อว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้คนได้อย่างรวดเร็ว มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และถึงขั้นเสียชีวิต มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นการระบาดใหญ่ และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้น โรคนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก และกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ การแพร่กระจายของเชื้อรุนแรงขึ้นกว่าสายพันธุ์เดิม
ในประเทศไทยปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สะสม ๑๗๓,๗๔๒,๔๒๖ ราย เสียชีวิต ๓,๗๓๖,๙๗๔ ราย ข้อมูล ณ วันที่  ๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ ในประเทศไทย ผู้ป่วยยืนยันสะสม ๑๗๗,๔๖๗ เสียชีวิต ๑,๒๓๖ ราย  หายป่วยสะสม ๙๙,๐๙๑ ราย ข้อมูล ณ วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๔ (จากเว็บลิงค์ของกรมควบคุมโรค https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no520-060664.pdf)  แต่ละประเทศก็ได้มีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม รักษา เยียวยา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งวิธีการคัดกรอง ล๊อคดาวน์ประเทศ เมือง งด เที่ยวบิน จำกัดเที่ยวบิน การกักตัว การปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงสถานที่ที่เกิดโรค การใช้ชีวิตแบบใหม่ สวมใส่หน้ากากเมื่อออกจากเคหะสถาน ที่พัก เว้นระยะห่างทางสังคม หมั่นทำความสะอาดมือ หลีกเลี่ยงการไปยังพื้นที่เสี่ยง ออกกฎหมายควบคุมผู้ที่ฝ่าฝืน ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกอบกับมีสถาบัน บริษัท ประเทศต่างๆ ได้ผลิตวัคซีนเพื่อฉีดให้กับประชาชนในการป้องกันโรคนี้และได้กระจายวัคซีนไปยังประเทศต่างๆ ขณะนี้ก็ยังไม่เพียงพอ การแพร่ระบาดยัง สูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดการระบาดเมื่อไหร่
  สำหรับในพื้นที่เทศบาลตำบลอ่าวพะยูน พบผู้ที่ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จำนวน ๓ ราย ได้รับการรักษา หายแล้ว ๒ ราย กำลังรักษาตัว จำนวน ๑ ราย เทศบาลตำบลอ่าวพะยูนร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอย่างเต็มที่

stars
ข้อมูลกองทุน

ตามข้อ 10
1) สนับสนุนและส่งเสริมการจดับริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข 2) สนับสนุนและส่งเสริมการจดักระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคขององค์กร หรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงานอื่น 3) สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กใน ชุมชน หรือหน่วยงานที่รับผดิชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับ การพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน • ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ หรือคนพิการในชุมชน 4) สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพของอปท. 5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...