กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2562 - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี
ประจำปีงบประมาณ 2562

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน
  1. ด้านกายภาพ 1.1 ที่ตั้ง ตำบลทุ่งนารี ตั้งอยู่ในเขตที่ว่าการอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าบอนถึงที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนารี ประมาณ 5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียง ดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลวังใหม่ และตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโคกทราย และคลองพรุพ้อ เป็นแนวเขตจังหวัด ระหว่าง จังหวัดพัทลุง กับจังหวัดสงขลา ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนเพชรเกษม ตำบลโคกทราย และตำบลหารเทา ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหนองธง และเทือกเขาบรรทัด 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ตำบลทุ่งนารี เป็นที่ราบลาดจากเทือกเขาบรรทัดด้านตะวันตกไปทิศตะวันออก มีเนินสูงต่ำสลับกันไป มีลำห้วยลำคลองไหลผ่านหลายสาย พื้นที่ราบส่วนใหญ่เป็นที่พื้นที่ทำนา ที่เนินสูงเป็นพื้นที่ทำสวนยางพารา ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะสำหรับการทำสวนยางพารา และทำการปลูกพืชเกษตรอื่นๆ
    สภาพพื้นที่ตำบลทุ่งนารี แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) ที่ราบ อยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของตำบล 2) พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ของตำบล 3) พื้นที่สูงและภูเขา อยู่บริเวณตอนใต้ฝั่งตะวันตกของตำบล 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศของตำบลทุ่งนารี เหมือนสภาพทั่วไปของภาคใต้ คือ มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม - มกราคม ) และฤดูร้อน (เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26-33 องศาเซลเซียส 1.4 ลักษณะดิน ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารามีอยู่ ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ตำบล   ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชไร่ มีอยู่ประมาณ ร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งตำบล ดินที่เหมาะสำหรับการทำนา มีอยู่ประมาณ ร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งตำบล


    1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
    • น้ำตก จำนวน 2 แห่ง คือ น้ำตกหนานฟ้า และน้ำตกแม่แตง
    • ลำคลอง จำนวน 4 สาย คือ คลองป่าบอน คลองพรุพ้อ คลองยางแดง และคลองหลง

- อ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน บริเวณโครงการอ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดความจุ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งนารี มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม เช่น พรรณไม้นานาชนิด น้ำตกใหญ่น้อยบริเวณโครงการ น้ำในเขื่อนใช้ทำประปาในหมู่บ้าน และยังใช้เป็นสถานที่ตกปลา แคมปิ้ง และเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ความสวยงามของเขื่อนในยามเช้า และพระอาทิตย์ตกดิน มีจุดชมวิวพร้อมทั้งลานกว้างพร้อมที่จะใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์รวมทั้งถนนรอบๆ เขื่อน และทางเท้าที่เป็นทางเดินเลียบเขื่อน เป็นทัศนียภาพที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อน ไม่แพ้สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ

  1. ด้านการเมืองการปกครอง 2.1 เขตการปกครอง ตำบลทุ่งนารี แบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนารี ตำแหน่ง 1 บ้านพรุโอน นายวีระศักดิ์ สุวรรณมณี นายสันติ จันทร์สุข
    นายสุธรรม ขุนไชย ส.อบต. หมู่ 1 ส.อบต. หมู่ 1 2 บ้านทุ่งคลองควาย นายวรรณโชค ภูมิประไพ นายสุภาพ ภูมิประไพ
    นายพินิตย์ พรายอินทร์ ส.อบต. หมู่ 2 ส.อบต. หมู่ 2 3 บ้านทุ่งนารี นายประเทือง ขวัญอ่อน นายอนันต์ โยมเมือง
    นางจินดา คชสิงห์ ส.อบต. หมู่ 3 ส.อบต. หมู่ 3 4 บ้านป่าบาก นายสุวิทย์ คงบุญ นายสมจิตร์ พรรณราย
    นายธีรวุฒ เส้งเซ่ง ประธานสภาฯ ส.อบต. หมู่ 4 5 บ้านบ่อสน นายดำรงค์ เอี่ยมสุข นายเผียน ทองนุ่ม
    นายมีลาภ ไหม่แก้ว ส.อบต. หมู่ 5 ส.อบต. หมู่ 5 6 บ้านยางขาคีม นายทวี ทองแป้น นายสุภาพ เหตุทอง
    นายสานิตย์ เกื้อจอก ส.อบต. หมู่ 6 ส.อบต. หมู่ 6 7 บ้านโหล๊ะหาร นายพร สระศรี นายอำนวย ดำแป้น
    นายสมภพ ดำแป้น ส.อบต. หมู่ 7 ส.อบต. หมู่ 7 8 บ้านต้นส้าน นายหละ ฤทธิ์โต นายหีม บำรุงชาติ
    นายดีน วังร่ม ส.อบต. หมู่ 8 ส.อบต. หมู่ 8 9 บ้านหารบัว นายสวง ชูแก้ว (กำนัน) นายไข่ สนธ์น้อย
    นายประวิทย์ คะนันชาติ ส.อบต. หมู่ 9 ส.อบต. หมู่ 9

    2.2 การเลือกตั้ง ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนารี ประกอบด้วย ที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง 1 นายสุชีพ รุ่นกลิ่น นายก อบต. 21 ก.ย. 2556 – 20 ก.ย. 2560 2 นายสหมงคล โวหาร รองนายก อบต. 11 ต.ค. 2556 – 20 ก.ย. 2560 3 นายบัญชา อ่อนอุ่น รองนายก อบต. 11 ต.ค. 2556 – 20 ก.ย. 2560 4 นายพงศ์ศักดิ์ แสงเขียว เลขานายก อบต. 11 ต.ค. 2556 – 20 ก.ย. 2560

  2. ประชากร 3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร จำแนกรายหมู่บ้านของตำบลทุ่งนารี เดือน กันยายน พ.ศ. 2559 หมู่ที่ หมู่บ้าน ประชากร ครัวเรือน ชาย (คน) หญิง(คน) รวม(คน) คิดเป็น ร้อยละ จำนวน (หลัง) คิดเป็น ร้อยละ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 บ้านพรุโอน บ้านทุ่งคลองควาย บ้านทุ่งนารี บ้านป่าบาก บ้านบ่อสน บ้านยางขาคีม บ้านโหล๊ะหาร บ้านต้นส้าน บ้านหารบัว 520 484 405 485 567 742 665 535 592 519 550 434 467 523 715 671 474 655 1,039 1,034 839 952 1,090 1,457 1,336 1,009 1,247 10.39 10.34 8.39 8.52 10.90 14.57 13.36 10.09 12.47 359 391 293 362 337 460 465 302 390 10.69 11.64 8.72 10.78 10.03 13.69 13.84 9 11.61 รวม 4,995 5,008 10,003 100 3,359 100 (ที่มา : สำนักทะเบียนราษฎร์อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ณ 30 กันยายน 2559)


4. สภาพทางสังคม 4.1 การศึกษา การศึกษาในเขตตำบลทุ่งนารี จำแนกได้ ดังนี้ 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 5 แห่ง ที่ ศูนย์ จำนวนนักเรียน (คน) จำนวน ห้อง เรียน จำนวนครู(คน) ชาย หญิง รวม ชาย หญิง 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งคลองควาย 40 60 100 6 - 5 2 ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดป่าบาก 18 17 35 2 - 2 3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านยางขาคีม 38 22 60 3 - 3 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะหาร 32 18 50 3 - 3 5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านต้นส้าน 47 58 105 5 1 4 รวม 175 175 350 19 1 18 (ข้อมูลนักเรียน ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2559) 2. โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง


ที่

โรงเรียน จำนวนนักเรียน อนุบาล 1 (คน) อนุบาล 2 (คน) ป.1 (คน) ป.2 (คน) ป.3 (คน) ป.4 (คน) ป.5 (คน) ป.6 (คน) รวมทั้งสิ้น (คน) ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง
1 โรงเรียนบ้านทุ่งคลองควาย 10 14 9 14 9 10 8 7 8 9 8 14 9 5 10 10 154 2 โรงเรียนบ้านทุ่งนารี 27 24 26 18 9 12 27 24 20 23 16 21 27 23 28 22 347 3 โรงเรียนบ้านยางขาคีม 9 10 8 16 7 11 13 6 8 8 7 9 9 16 10 8 155 4 โรงเรียนบ้านโหล๊ะหาร 9 14 16 17 17 14 26 22 16 13 17 17 13 9 18 18 256 (ข้อมูลนักเรียน ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2559)

3. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลทุ่งนารี จำนวน 1 แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 9)  4. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 3 แห่ง
  5. ศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.) จำนวน 1 แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 4) 6. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร จำนวน 1 แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 9) 4.2 สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 3 แห่ง ที่ รพ.สต. ที่ตั้ง อัตรากำลังเจ้าหน้าที่(คน) พื้นที่รับผิดชอบ หมายเหตุ 1 รพ.สต.บ้านทุ่งนารี ม.3 ต.ทุ่งนารี 4 หมู่ที่ 1,3,5 หมู่ที่ 4 อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ ร.พ.ป่าบอน 2 รพ.สต.บ้านโหล๊ะหาร ม.7 ต.ทุ่งนารี 4 หมู่ที่ 7,8
3 รพ.สต.บ้านป่าบาก ม.9 ต.ทุ่งนารี 6 หมู่ที่ 2,6,9

5. ระบบบริการพื้นฐาน การคมนาคม การคมนาคมของตำบลทุ่งนารี มีถนนเพชรเกษมสายพัทลุง - หาดใหญ่ เป็นถนนสายหลักผ่านอำเภอป่าบอน มีพื้นที่ในตำบลทุ่งนารีบางส่วนติดถนนเพชรเกษม คือ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 9 ส่วนเส้นทางคมนาคมที่ประชาชนใช้สัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านภายในตำบลทุ่งนารี ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรังซึ่งอยู่ในสภาพที่จะต้องได้รับการปรับปรุงซ่อมแซม ถนนในตำบลทุ่งนารี ประกอบด้วย ถนนลาดยาง ถนนคอนกรีต ถนนลูกรัง และถนนหินคลุก ดังนี้

  1. ระบบเศรษฐกิจ 6.1 การเกษตร ประชาชนตำบลทุ่งนารีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ทำสวนยางพารา ทำนา ไร่สับปะรด การเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผัก ตำบลทุ่งนารีมีพื้นที่ทั้งหมด 74,000 ไร่ (119.2 ตารางกิโลเมตร) เป็นพื้นที่การเกษตร จำนวน 72,000 ไร่ และเป็นพื้นที่ในเขต ส.ป.ก. จำนวน 21,355 ไร่ สามารถจำแนกเป็นรายหมู่บ้านได้ดังตาราง หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน พื้นที่หมู่บ้าน(ไร่) พื้นที่การเกษตร(ไร่) 1 บ้านพรุโอน 6,330 6,080 2 บ้านทุ่งคลองควาย 5,370 5,150 3 บ้านทุ่งนารี 5,560 5,370 4 บ้านป่าบาก 3,852 3,672 5 บ้านบ่อสน 5,125 4,875 6 บ้านยางขาคีม 6,478 6,168 7 บ้านโหล๊ะหาร 21,365 21,165 8 บ้านต้นส้าน 16,230 16,020 9 บ้านหารบัว 3,690 3,500 รวม 74,000 72,000

6.2 การประมง
- 6.3 การปศุสัตว์ มีการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ และการเลี้ยงสุกร ในบางหมู่บ้าน 6.4 การบริการ - ร้านขายอาหาร/ร้านค้า จำนวน 66 แห่ง
- ร้านเสริมสวย จำนวน 2 แห่ง - ร้านอินเตอร์เน็ต จำนวน 1 แห่ง
- ปั้มน้ำมัน จำนวน 7 แห่ง - โรงเชื่อมเหล็ก จำนวน 1 แห่ง - โรงงานสุรา จำนวน 2 แห่ง - อู่ซ่อมรถ/คาร์แค จำนวน 7 แห่ง - โรงสีข้าว จำนวน 1 แห่ง - โรงผลิตน้ำดื่ม จำนวน 2 แห่ง - ฟาร์มสุกร จำนวน 19 แห่ง - ฟาร์มไก่ จำนวน 6 แห่ง - โรงงานปรับปรุงคุณภาพยางแผ่น จำนวน 3 แห่ง - จุดรับซื้อน้ำยางสด จำนวน 20 แห่ง - บ้านเช่า จำนวน 5 แห่ง - คลังสินค้า จำนวน 3 แห่ง - คลินิกทำฟัน จำนวน 1 แห่ง 6.5 การท่องเที่ยว   สถานที่และกิจกรรมการท่องเที่ยวของตำบลทุ่งนารีที่มีอยู่เดิมและสถานที่ที่มีศักยภาพพอที่จะพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ดังนี้
• อ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน บริเวณโครงการอ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดความจุ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งนารี มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม เช่น พรรณไม้นานาชนิด น้ำตกใหญ่น้อยบริเวณโครงการ น้ำในเขื่อนใช้ทำประปาในหมู่บ้าน และยังใช้เป็นสถานที่ตกปลา แคมปิ้ง และเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ความสวยงามของเขื่อนในยามเช้า และพระอาทิตย์ตกดิน มีจุดชมวิวพร้อมทั้งลานกว้างพร้อมที่จะใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์รวมทั้งถนนรอบๆ เขื่อน และทางเท้าที่เป็นทางเดินเลียบเขื่อน เป็นทัศนียภาพที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวและพักผ่อน ไม่แพ้สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ • น้ำตกหนานฟ้า ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งนารี เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของ ตำบลทุ่งนารี ตั้งอยู่ในเทือกเขาบรรทัด ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากนัก เพราะเพิ่งถูกค้นพบและเผยแพร่ น้ำตกหนานฟ้าเป็นน้ำตกที่อยู่ท่ามกลางผืนป่าบนเทือกเขาบรรทัด การเดินทางเข้าไปต้องใช้เวลาเดินเท้ารวมเกือบชั่วโมง จากจุดจอดรถที่เหนืออ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน การเดินทางต้องอาศัยคนนำทางท้องถิ่นแถบนั้น • ซาไก เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าพันธุ์หนึ่ง อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละ 20-50 คน กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทย ตลอดไปจนถึงประเทศมาเลเซีย มีลักษณะสังคมล่าสัตว์ เก็บของป่า เช่น เผือก มัน ใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง จะอพยพโยกย้ายที่อยู่อาศัยอยู่เสมอ มีชีวิตความเป็นอยู่ง่ายๆ แบบชนดั้งเดิม

6.6 อุตสาหกรรม ไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่ 6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ - กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลทุ่งนารี จำนวน 1 กองทุน - อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) (2 รุ่น) จำนวน 147 คน - กลุ่มอาชีพ จำนวน 4 กลุ่ม 1. กลุ่มปลูกสละบ้านชายคลอง ม.6 2. กลุ่มปลูกผักบ้านโหล๊ะหาร ม.7 3. กลุ่มผลิตปุ๋ยหมักบ้านต้นส้าน ม.8 4. กลุ่มเลี้ยงวัวบ้านหารบัว ม.9 - กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 4 กลุ่ม 1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านควนไทร ม.1 2. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านทุ่งคลองควาย ม.2 3. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านต้นส้าน ม.8 4. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหารบัว ม.9

  1. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 8.1 การนับถือศาสนา ประชาชนในตำบลทุ่งนารีนับถือศาสนาพุทธ 98 % และนับถือศาสนาอิสลาม 2 % 1) วัด จำนวน 5 แห่ง ที่ วัด ที่ตั้ง 1 วัดยางขาคีม ม.1 ต.ทุ่งนารี 2 วัดทุ่งคลองควาย ม.2 ต.ทุ่งนารี 3 วัดป่าบาก ม.2 ต.ทุ่งนารี 4 วัดทุ่งนารี ม.3 ต.ทุ่งนารี 5 วัดโหล๊ะหาร ม.7 ต.ทุ่งนารี

2) มัสยิด จำนวน 1 แห่ง ที่ มัสยิด ที่ตั้ง 1 มัสยิดดารุลอิสลามิย๊ะ(บ้านโหล๊ะหาร) ม.8 ต.ทุ่งนารี

8.2 ประเพณีและงานประจำปี ช่วงเดือนเมษายน มีประเพณีสงกรานต์ รดน้ำผู้สูงอายุ กันยายน – ตุลาคม มีประเพณีชักพระ

stars
ข้อมูลกองทุน

๑. คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ 1 นายสุชีพ รุ่นกลิ่น ประธานกรรมการ 2 สาธารณสุขอำเภอป่าบอน ที่ปรึกษา 3 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลป่าบอน ที่ปรึกษา ๔ นายจรัล ชนะรัตน์ รองประธานกรรมการ ๕ นายสมจิตร์ พรรณราย รองประธานกรรมการ 6 นายช่วง ชูดำ กรรมการ 7 นางสมหมาย โฮล์ม กรรมการ 8 นายเอก รุ่งกลิ่น กรรมการ 9 นายอำนวย คงมี กรรมการ ๑๐ นางนี เลี่ยนกัตวา กรรมการ ๑๑ นายหีม บำรุงชาติ กรรมการ ๑๒ นายสุภาพ ภูมิประไพ กรรมการ ๑๓ นายอนันต์ ลอยลิบ กรรมการ ๑๔ นางวาสนา หมานระเด็น กรรมการ ๑๕ นางจตุพร ศรีวัง กรรมการ ๑๖ นายนพพล กองเอียด กรรมการ ๑๗ นายจิตติณัฎช์ สุวรรณรัตน์ กรรมการ ๑๘ นายจำเนียร จันทร์ผลึก กรรมการ 19 ว่าที่ร้อยตรีหญิงเสาวคนธ์ หนูยัง เลขานุการ/กรรมการ

  1. เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ มีการสนับสนุน 5 ประเภท ดังนี้ (๑) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การปูองกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (๒) เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่น ในพื้นที่ ได้ดำเนินงานตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่ และกรณีมีความจาเป็นต้องจัดซื้อวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาทต่อโครงการ วัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่น ที่ได้รับการสนับสนุนนั้นๆ (๓) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดาเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ตามหลักเกณฑ์ที่สานักงานกำหนด เป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น (๔) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจาเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทต่อหน่วย โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ (๕) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการปูองกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจาเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้

3.วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนารี คือ “ โปร่งใสการจัดการ ประสานงานภาคี สุขภาพดีถ้วนหน้า พัฒนาอย่างยั่งยืน คืนสุขสู่ชุมชน ”

4.พันธกิจ
1. สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค สนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง 2.สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือสถานบริการอื่นในพื้นที่ 3.สนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มประชาชน หรือองค์กรประชาชนในพื้นที่จัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 4.ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของประชาชนเพื่อการพัฒนาด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน

แผนการดำเนินงานตามประเด็น ปีงบประมาณ 2562 แผนงานหลัก(ประเด็นเร่งด่วน) 1.อาหารปลอดภัย 2.กิจกรรมทางกาย 3.ผู้สูงอายุ 4.อนามัยแม่และเด็ก แผนงานรอง(ปานกลาง) 1.โรคเรื้อรัง 2.โรคระบาด 3.เด็กและเยาวชน 4.โภชนาการ 5.สิ่งแวดล้อม

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...