กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2562 - กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว
ประจำปีงบประมาณ 2562

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

สภาพทั่วไป   ที่ตั้งและอาณาเขต ตำบลบ้านพร้าวเป็นตำบลหนึ่งในสี่ตำบลของอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ทั้งหมด 44.133 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 22,682 ไร่ ห่างจากที่ทำการอำเภอป่าพะยอม ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 3 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองพัทลุง ประมาณ  28 กิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ    อาณาเขตติดต่อกับตำบลป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม
ทิศใต้    อาณาเขตติดต่อกับตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน และตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต
ทิศตะวันออก อาณาเขตติดต่อกับ ตำบลแหลมโตนด และตำบลปันแต อำเภอควนขนุน ทิศตะวันตก อาณาเขตติดต่อกับ ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลบ้านพร้าว มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก เหมาะสำหรับการทำนา และเป็นที่ดอนเล็กน้อย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก เหมาะสำหรับการปลูกยางพาราและทำสวน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบ้านพร้าวเต็มทั้งหมู่บ้าน จำนวน 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน หมายเหตุ หมู่ที่ 1 บ้านพร้าว นายสมพงษ์ เรืองสุข
หมู่ที่ 2 บ้านตลิ่งชัน นายสถิต ศรีกรด
หมู่ที่ 3 บ้านศาลาน้ำ นายครื้น นิ่มมณี
หมู่ที่ 4 บ้านบ่อทราย นางขวัญจิตร ภูมิปัญญานันท์
หมู่ที่ 5 บ้านไสอ้อ นายวิสุทธิ์ คงนุ่ม กำนัน หมู่ที่ 6 บ้านหาดสูง นายประคองธรรม จันทร์ขาว
หมู่ที่ 7 บ้านไสกล้วย นายสุพิณ นวลเกื้อ
หมู่ที่ 8 บ้านหน้าป่า นายคณิตย์ แท่นจันทร์
หมู่ที่ 9  บ้านไผ่รอบ นายสวัสดิ์ จันทร์สุข
หมู่ที่ 10 บ้านบ่อทรายใน นายจิตติชัย จงศิริ
จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบ้านพร้าวเต็มบางส่วน (ไม่มี) หมู่บ้าน
ประชากรตามทะเบียนราษฎร์ รวมทั้งสิ้น 8,918 คน แยกเป็นชาย 4,260 คน หญิง 4,658 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 198.35 คน/ตารางกิโลเมตร จำนวนครัวเรือน 3,760 ครัวเรือน ที่มา ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน อ. ป่าพะยอม กรมการปกครอง ณ เดือนเมษายน 2561 การคมนาคม
สภาพการคมนาคมของตำบลบ้านพร้าว อยู่ในสภาพการใช้การได้อยู่ในสภาพดี แต่มีบางสายจะต้องทำการซ่อมแซมปรับปรุงและก่อสร้างให้ใช้การได้ตามปกติ จำแนก ได้ดังนี้ - ถนนลาดยาง จำนวน 7 สาย
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) จำนวน 14 สาย
- ถนนดินหรือลูกรัง จำนวน 35 สาย - สะพาน จำนวน 10 แห่ง - สะพานลอยคนข้าม จำนวน 2 แห่ง   การโทรคมนาคม จำแนก ได้ดังนี้ - ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง - โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 3 แห่ง - โทรศัพท์เอกชน จำนวน 50 แห่ง การไฟฟ้า
ตำบลบ้านพร้าวมีไฟฟ้าเข้าถึงและให้บริการได้ทุกหมู่บ้าน แต่ยังไม่ครบทุกครัวเรือน เนื่องจากระยะทางห่างไกลและไม่มีค่าชำระค่าติดตั้ง แหล่งน้ำธรรมชาติ จำแนก ได้ดังนี้ - ลำน้ำ ลำห้วย จำนวน 10 สาย - บึง หนอง และอื่น ๆ จำนวน 5 แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น จำแนก ได้ดังนี้ - ฝายกักน้ำ จำนวน 12 แห่ง - บ่อบาดาล จำนวน 19 บ่อ - บ่อน้ำตื้น จำนวน 15 แห่ง - บ่อโยก จำนวน 10 แห่ง - อื่น ๆ (ฝ.30) จำนวน 7 แห่ง อาชีพ
ประชากรตำบลบ้านพร้าว มีการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ทำนา ทำสวนยางพารา เลี้ยงสัตว์ และอาชีพรับจ้างทั่วไป
สถาบันการศึกษาในเขตตำบลบ้านพร้าว จำแนก ได้ดังนี้ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง วิทยาลัยเทคนิคป่าพะยอม โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม โรงเรียนบ้านตลิ่งชัน โรงเรียนบ้านบ่อทราย โรงเรียนบ้านเนินทราย โรงเรียนบ้านศาลาน้ำ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหาดสูง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเนินทราย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อทราย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไสตอ ตลาดสดในเขตตำบลบ้านพร้าว (1)ตลาดใหม่ป่าพะยอม(ม.1 ต.บ้านพร้าวอ.ป่าพะยอม) (2)ตลาดนัดวันอาทิตย์(ม.1 ต.บ้านพร้าว อ.ป่าพะยอม) (3) ตลาดนัดวันอังคาร (ตลาดใหม่ป่าพะยอม) (4) ตลาดวันพุธบ้านบ่อทราย(ม.4 บ.บ่อทราย) สถาบันและองค์กรทางศาสนา จำแนกได้ดังนี้ - วัด จำนวน 1 แห่ง (วัดโดนคลาน) - สำนักปฏิบัติธรรม จำนวน 2 แห่ง  (สำนักปฏิบัติธรรมสวนป่าบ้านตลิ่งชันและสำนักปฏิบัติธรรมบ้านหาดสูงสามัคคีธรรม) สาธารณสุข จำแนก ได้ดังนี้ - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่ง (รพ.สต.บ้านตลิ่งชันและรพ.สต.บ้านบ่อทราย) - สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 5 แห่ง

ปัญหาสาธารณสุขของ รพ.สต.บ้านบ่อทรายปี ๒๕61 เรียงตามความสำคัญ 1. โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน) โรคความดันโลหิตสูง จำนวนผู้ป่วย ๒๔๙ ราย รายใหม่ ๑๕ ราย โรคเบาหวาน จำนวนผู้ป่วย ๑๑๔ ราย รายใหม่ ๙ ราย โรคอ้วนBMI>๓๐ จำนวนผู้ป่วย ๕๙รายโรคมะเร็ง ๒ ราย สาเหตุของปัญหา ๑) พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง ๒) ขาดการออกกำลังกาย ๓) การสูบบุหรี่และดื่มสุรา ๔) พันธุกรรม 2. โรคติดต่อ (โรคไข้เลือดออกมือเท้าปาก ตาแดง) โรคไข้เลือดออก พบ ผู้ป่วย ๕ รายโรคมือเท้าปาก พบใน ๐-๕ ปี ๖ ราย
สาเหตุหลักของปัญหา
๑) ประชาชนยังขาดความตระหนักต่อปัญหา ๒) สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการเพาะพันธ์พาหะนำโรค ๓) มาตรการการควบคุมโรคยังไม่ครอบคลุม ๔) การดูแลความสะอาดสิ่งแวดล้อม ๕) สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการติดต่อโรคได้ง่าย เช่น ความแออัดของสถานที่เลี้ยงเด็ก 3. โรคมะเร็งทุกชนิด โรคมะเร็งปากมดลูกรายเก่า๕ ราย รายใหม่ ๑ ราย โรคมะเร็งเต้านม ๓ ราย สาเหตุของปัญหา
๑) พฤติกรรมการบริโภค ๒) การออกกำลังกาย ๓) พันธุกรรม


ปัญหาสาธารณสุขของ รพ.สต.บ้านตลิ่งชันปี ๒๕61 เรียงตามความสำคัญ 1. โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน) โรคความดันโลหิตสูง จำนวนผู้ป่วย ๓๘๖ ราย รายใหม่ ๑๕ ราย โรคเบาหวาน จำนวนผู้ป่วย ๑๓๙ ราย รายใหม่ ๑๑ ราย โรคอ้วนBMI>๓๐ จำนวนผู้ป่วย ๑๒๕ ราย สาเหตุของปัญหา ๑) พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง ๒) ขาดการออกกำลังกาย ๓) การสูบบุหรี่และดื่มสุรา ๔) พันธุกรรม 2. โรคติดต่อ (โรคไข้เลือดออกมือเท้าปาก) โรคไข้เลือดออก พบ ผู้ป่วย ๘ รายโรคมือเท้าปาก พบใน ๐-๕ ปี ๓ ราย
สาเหตุหลักของปัญหา
๑) ประชาชนยังขาดความตระหนักต่อปัญหา ๒) สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการเพาะพันธ์พาหะนำโรค ๓) มาตรการการควบคุมโรคยังไม่ครอบคลุม ๔) การดูแลความสะอาดสิ่งแวดล้อม ๕) สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการติดต่อโรคได้ง่าย เช่น ความแออัดของสถานที่เลี้ยงเด็ก 3. โรคมะเร็งทุกชนิด โรคมะเร็งปากมดลูก ๔ ราย โรคมะเร็งเต้านม ๖ ราย โรคมะเร็งลำไส้ ๒ รายโรคมะเร็งตับ ๑ ราย สาเหตุของปัญหา
๑) พฤติกรรมการบริโภค ๒) การออกกำลังกาย ๓) พันธุกรรม 4.  โภชนาการเด็กนักเรียนไม่ปกติ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเนินทราย ๑๐ ราย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไสตอ ๗ ราย โรงเรียนบ้านเนินทราย ๑๙ ราย โรงเรียนบ้านศาลาน้ำ ๓๕ ราย โรงเรียนบ้านตลิ่งชัน ๔๗ ราย สาเหตุหลักของปัญหา ๑) พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ครบ ๕ หมู่ ๒)ผู้ปกครองยังขาดความรู้ความเข้าใจในด้านโภชนาการ ๓) การเลือกรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ 5. โรคปัญหาช่องปาก
เด็กปฐมวัย มีฟันผุ ๓๘ ราย เด็กประถม มีฟันผุ ๒๘๓ ราย สาเหตุหลักของปัญหา       ๑)เด็กมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง       ๒)ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลช่องปากที่ถูกต้อง

การจัดลำดับของปัญหาในชุมชน

ประเด็นปัญหา ขนาดของปัญหา ความรุนแรง ผลกระทบ ความตระหนักของ ประชาชนในชุมชน ความยากง่ายของ การแก้ปัญหา 1.สิ่งแวดล้อม (ขยะ) 4 4 2 1 2.ยาเสพติด 4 3 2 1 3.โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4 2 1 1 4.พฤติกรรมการบริโภค 4 3 2 3 5.สารเคมีตกค้าง 3 3 2 2 6.สุขภาพผู้สูงอายุ 3 3 3 2 7.การออกกำลังกาย 3 3 1 3 8.ปัญหาสุขภาพ/ช่องปาก/โภชนาการ 3/2 2/2 2/2 4/4 9.อนามัยสิ่งแวดล้อม 3 3 2 3 10.ความเครียด 3 3 2 3 11.เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 3 3 3 2 12.ผู้พิการขาดคนดูแล 3 3 2 2 13.พัฒนาการล่าช้า 1 1 2 2 14.เด็กติดเกม 3 3 1 3 15.โรคอ้วน 3 2 1 3 16.สติปัญญา 3 3 2 3 17.มะเร็ง 2 3 1 3

stars
ข้อมูลกองทุน

ประวัติความเป็นมา

      หลักการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ในหลายมาตราได้กำหนดให้ประชาชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในหลายรูปแบบ ทั้งในส่วนของการเป็นผู้มีสิทธิในการเข้ารับบริการ การบริหารจัดการ การตรวจสอบและรับรองคุณภาพบริการ ที่ผ่านมาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในหลายรูปแบบด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบสิทธิ ได้ร่วมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความพร้อมในการเข้าไปมีส่วนในระบบหลักประกันสุขภาพมากขึ้นในอนาคต ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ในมาตรา 13(3) มาตรา 18(8) มาตรา 47 และมาตรา 48(4)ที่กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแสวงหาผลกำไรดำเนินงานและบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน

      ในช่วงที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมภาคประชาชนได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลขององค์กรชุมชนที่มีศักยภาพในการดำเนินงานเรื่องกองทุนสวัสดิการที่ชุมชนท้องถิ่นมีพร้อมที่จะบริหารจัดการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยบริการ จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ต่อมาได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฎิบัติการและมีการประชุมหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่ปรึกษาจากหน่วยงานของสาธารณสุข เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลและเป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด

      เทศบาลตำบลบ้านพร้าว ได้ทำบันทึกข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ปี 2551 และได้เริ่มดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว แต่การดำเนินงานดังกล่าวไม่มีการขับเคลื่อนมากนัก เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่โดยตรง ต่อมาในปี 2552 นายกเทศมนตรีตำบลบ้านพร้าวได้มอบหมายให้นักพัฒนาชุมชนขับเคลื่อนงาน ซึ่งได้มีการดำเนินการจัดประชุม วางระเบียบกองทนุฯ คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานทั้งคณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ มีการจัดทำแผนการดำเนินงาน จัดทำบัญชีรับ-จ่าย ตลอดถึงมีการประชุมแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระบบ กิจกรรมโครงการมีผู้รับผิดชอบหลัก เช่น แกนนำ /รพ.สต.บ้านบ่อทราย/รพ.สต.บ้านตลิ่งชัน เป็นผู้จัดทำและมีการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ติดตามประเมินผลทุกครั้ง ทำให้การขับเคลื่อนงานเป็นไปโดยราบรื่นบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...