กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2561 - กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย
ประจำปีงบประมาณ 2561

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ประวัติความเป็นมา ตำบลโคกชะงายเดิมมีสภาพเป็นป่า มีลำคลองไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบต่ำบางแห่งเป็นเนินสูง ชาวบ้านเรียกเนินนี้ว่า “ โคก ” และบริเวณโคกมีวัชพืชชนิดหนึ่งขึ้นเป็นจำนวนมาก ได้แก่  “ต้นงาย”  เป็นพืชไม้เลื้อย มีหนามแหลม เมื่อจะใช้พื้นที่ดังกล่าวจะต้อง “ชะ” (ดึง)  ต้นงายออก และเมื่อมีการตั้งตำบลในพื้นที่โคกต้องช่วยกันชะหนามงายออก ชาวบ้านจึงเรียกติดปากกันว่า “โคกชะงาย” ตั้งแต่นั้นมา
ที่ตั้ง เนื้อที่ และอาณาเขต ตำบลโคกชะงาย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ห่างจากอำเภอเมืองพัทลุงไปทางทิศตะวันตกตามเส้นทางสายเพชรเกษม (พัทลุง – ตรัง ) ทางหลวงหมายเลข 4 เป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร  ความยาวพื้นที่ของตำบลโคกชะงายจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกประมาณ 4.50 กิโลเมตร  ความกว้างจากทิศเหนือไปทิศใต้ประมาณ 4  กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 16.50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,566 ไร่ โดยมีอาณาเขตดังนี้       ทิศเหนือ    จด  ตำบลแพรกหา  อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง     ทิศใต้      จด  ตำบลนาท่อม  อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง   ทิศตะวันออก  จด ตำบลปรางหมู่ และตำบลเขาเจียก อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง     ทิศตะวันตก  จด ตำบลชุมพล อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านในตำบลโคกชะงาย หมู่ที่ 1 บ้านควนใหม่
เมื่อสมัยก่อนเรียกกันว่า บ้านควนหม้าย เพราะสมัยนั้นการครองเรือน สามีมักจะตายก่อนภรรยา และจะมีแม่ม้านเป็นส่วนมาก ต่อมาก็เลยได้มีการเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า  บ้านควนใหม่  เพื่อแก้เคล็ด หมู่ที่ 2 บ้านโคกชะงาย
โคกชะงายเดิมมีสภาพเป็นป่า มีลำคลองไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบต่ำบางแห่งเป็นเนินสูง ชาวบ้านเรียกเนินนี้ว่า “ โคก ” และบริเวณโคกมีวัชพืชชนิดหนึ่งขึ้นเป็นจำนวนมาก ได้แก่    “ต้นงาย” เป็นพืชไม้เลื้อย มีหนามแหลม เมื่อจะใช้พื้นที่ดังกล่าวจะต้อง “ชะ” (ดึง)  ต้นงายออก และเมื่อมีการตั้งตำบลในพื้นที่โคกต้องช่วยกันชะหนามงายออก ชาวบ้านจึงเรียกติดปากกันว่า “โคกชะงาย”        ตั้งแต่นั้นมา
หมู่ที่ 3 บ้านโคกกอ เดิมพื้นที่นี้มีลักษณะเป็นเนินและมีต้นกอจำนวนมากชาวบ้านนิยมไปเก็บลูกของต้นกอหรือที่นิยมเรียกว่า “ลูกกอ” พอมีการตั้งหมู่บ้าน เลยใช้ชื่อว่า “บ้านโคกกอ” ตั้งแต่นั้นมา หมู่ที่ 4 บ้านลำพายตก ลำพาย แปลว่า สายน้ำ หรือห้วยขนาดใหญ่ ที่อยู่กลางหมู่บ้านและเป็นแห่งน้ำสำคัญ สำหรับการอุปโภคและบริโภค ตลอดถึงการทำการเกษตรแต่แหล่งน้ำนี้ไหลผ่านหลายพื้นที่ พื้นที่ที่อยู่ตอนบนนั้นอยู่ทางทิศตะวันตกของแหล่งน้ำ เมื่อมีการตั้งหมู่บ้าน จึงเรียกกันว่า “บ้านลำพายตก” หมู่ที่ 5 บ้านหนองจิก บ้านหนองจิกแต่เดิมเรียกว่า บ้านหนองม้าตาย จากการที่มีม้าลงไปตายในหนองน้ำ และต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เมื่อมีการตั้งหมู่บ้าน ตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่รอบหนองน้ำ คือ ต้นจิกเป็นจำนวนมาก มาเป็นบ้านหนองจิก จนถึงทุกวันนี้ หมู่ที่ 6 บ้านโคกม่วง บ้านโคกม่วงเป็นที่ราบสูง มีเหมืองน้ำและคลองล้อมรอบ ซึ่งแต่เดิมมีต้นมะม่วงขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านนิยมไปเก็บผลมารับประทาน เมื่อมีการตั้งหมู่บ้านจึงเรียกว่า บ้านโคกมะม่วง เพื่อให้มีความเป็นสากล หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งยาว ตามประวัติที่เล่าสืบต่อกันมาว่าบ้านทุ่งยาว แต่เดิมเป็นพื้นที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีพื้นที่ยาวมาก จนเรียกกันติดปากว่า ทุ่งยาว พอมีคนมาอยู่อาศัยกันจำนวนมากและมีการตั้งหมู่บ้านขึ้น จึงใช้ชื่อว่า    บ้านทุ่งยาว หมู่ที่ 8 บ้านควน เป็นชื่อเรียกตามลักษณะของพื้นที่ มีลักษณะเป็นเนินเตี้ยๆ ชาวบ้านเรียกว่า ควน    ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้านก็เลยใช้ชื่อเรียกว่า บ้านควน หมู่ที่ 9 บ้านไสใหญ่ ตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านในปี พ.ศ.2532 ตามลักษณะพื้นที่ ที่เป็นป่าใส เป็นส่วนใหญ่เมื่อมีการตั้งหมู่บ้านขึ้นก็เลยใช้ชื่อว่า บ้านไสใหญ่
ภูมิประเทศ ตำบลโคกชะงายมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ราบลุ่ม มีลำคลองที่สำคัญ    ไหลผ่านได้แก่คลองเต่า รับน้ำที่ไหลมาจากตำบลชุมพล  คลองท้ายฝายนาท่อมรับน้ำจากตำบลนาท่อม  และคลองยานนาวา (คลองเขตอำเภอเมือง - อำเภอควนขนุน) รับน้ำที่ไหลมาจากตำบลชุมพล แต่โดยสภาพได้ตื้นเขินมากแล้ว นอกนั้นยังมีเหมืองส่งน้ำชลประทานส่งน้ำจากเขตตำบลนาท่อม – ตำบลโคกชะงาย ผ่านหมู่ที่ 7,9,4,8 ตำบลโคกชะงาย  ออกไปสู่ตำบลปรางหมู่  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรทำนา สวนยางพารา สวนผลไม้ และเลี้ยงสัตว์ โดยสภาพพื้นที่ของตำบลโคกชะงาย เนื่องจากเป็นที่ราบ ราบลุ่ม จึงเป็นที่รองรับน้ำทั้งจากตำบลชุมพล ตำบลนาท่อม โดยเฉพาะเมื่อผ่านพื้นที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 8 ตำบลโคกชะงาย เป็นสภาพพื้นที่ลักษณะคอขวด จึงไม่สามารถระบายน้ำที่ไหลผ่านได้โดยรวดเร็วในฤดูฝนน้ำมาก หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 8    จึงมักเกิดน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำทุกปี สภาพทางเศรษฐกิจของตำบลโคกชะงาย • อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่ตำบลโคกชะงายประกอบอาชีพด้านการ เกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา และทำสวนยางพารา การปลูกไม้ผล พืชผัก เช่นถั่วลิสง ข้าวโพด แตงกวา พริก มะเขือ เป็นอาชีพรองหรืออาชีพเสริม  ส่วนการเลี้ยงสัตว์ได้แก่ การเลี้ยงสุกร เลี้ยงโค เป็ด ไก่ นอกนั้นก็มีการประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้าง • หน่วยธุรกิจในเขตพื้นที่ตำบลโคกชะงาย
-  สถานบริการน้ำมัน 2 แห่ง -  โรงสี          6  แห่ง - ร้านค้า/ ร้านขายของของเบ็ดเตล็ด  50 แห่ง - ร้านรับซื้อของเก่า      2 แห่ง สภาพทางสังคม • การศึกษา - โรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง -  ศูนย์การเรียนชุมชน 1 แห่ง -  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 9 แห่ง • สถาบันและองค์กรทางศาสนา -  วัด 2 แห่ง -  สำนักสงฆ์ 1 แห่ง • การสาธารณสุข -  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง -  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 • ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน -  สถานีตำรวจภูธรตำบล          1 แห่ง -  ป้อมตำรวจ      1 แห่ง • อื่น ๆ - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล  1    แห่ง การบริการพื้นฐาน • การคมนาคม การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบล และหมู่บ้านมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ทางหลวงแผ่นดิน สายเพชรเกษมพัทลุง – ตรัง  ผ่านพื้นที่ หมู่ที่ 3, 5, 7 ระยะทาง 4.}50 0 เมตร         2) ทางหลวงชนบท สายม่วงลูกดำ – ควนปริง  ผ่านพื้นที่ หมู่ที่ 7, 9,4, 1  ระยะทาง 4,500 เมตร 3) ทางหลวงชนบท สายวังขี้ไก่ – บ้านสวนพลู  ผ่านพื้นที่ หมู่ที่ 1,9, 4, 8, 2 ระยะทาง 5,650  เมตร
        4) ทางหลวงชนบท สายเขาเจียก – บ้านโคกมะม่วง ผ่านพื้นที่ หมู่ที่ 2, 3, 5, 6 ระยะทาง 3,700 เมตร 5) ทางหลวงชนบท สายโคกม่วง – บ้านเต่า ผ่านพื้นที่ หมู่ที่ 8 ระยะทาง 470 เมตร         6) ทางหลวงชนบท สายคลองชลประทานนาท่อม – ปรางหมู่ ผ่านพื้นที่ หมู่ที่ 7,9,4,8 ระยะทาง 7,250 เมตร
        7) อบจ.พัทลุง สายสะพานเคียน-ขนส่ง ผ่านพื้นที่ หมู่ที่ 8 ระยะทาง 550 เมตร         8) ถนนลาดยางในหมู่บ้าน จำนวน  4  สาย         9) ถนน คสล.  32 สาย         10) ถนนลูกรัง/หินคลุก จำนวน  40  สาย การโทรคมนาคม -  สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ( วิทยุ)  1 แห่ง - หอกระจายข่าว/เสียงตามสาย 9 แห่ง -  โทรศัพท์สาธารณะ 9 ตู้ • การไฟฟ้า โดยทั่วไปทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
• แหล่งน้ำธรรมชาติ -  ลำน้ำ, ลำห้วย        14 สาย -  บึง, หนอง และอื่น ๆ      5 แห่ง • แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น -  ฝาย        10 แห่ง -  บ่อน้ำตื้น      1,000 แห่ง -  บ่อโยก                2 แห่ง -  สระน้ำ            2 แห่ง
-  บ่อบาดาล      13 แห่ง
-  ประปาหมู่บ้าน                8 แห่ง ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่ การรวมกลุ่มของประชาชน จำนวน  22 กลุ่ม แยกประเภทกลุ่ม - กลุ่มอาชีพ      11 กลุ่ม - กลุ่มออมทรัพย์      9 กลุ่ม - กลุ่มอื่น ๆ      2 กลุ่ม จุดเด่นของพื้นที่ 1. ลักษณะพื้นที่เหมาะสมแก่การปลูกข้าว (เล็บนก) ,สังหยด ที่มีคุณภาพ 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน (หนังตะลุง) มโนราห์ แพทย์แผนไทย เครื่องจักรสาน ข้อมูลอื่น ๆ • มวลชนจัดตั้ง -  ลูกเสือชาวบ้าน    2 รุ่น  100 คน
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน    2 รุ่น  90  คน ทรัพยากรสาธารณสุข         สถานบริการภาครัฐ                      2 แห่ง   - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว   - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ภาคีเครือข่ายอื่น ๆ   - ชมรมสร้างสุขภาพ จำนวน 2 กลุ่ม   - กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 2 กลุ่ม   - กลุ่มแอโรบิกเพื่อสุขภาพ      จำนวน 9 กลุ่ม   - กลุ่มปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ    จำนวน 1 กลุ่ม   - ชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 2 กลุ่ม   - ชมรม To be No.1 จำนวน 2 กลุ่ม

stars
ข้อมูลกองทุน

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกชะงายเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2551 จนถึงปัจจุบัน โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 45 บาทต่อหัวประชากร และรับเงินจัดสรรจากเทศบาลตำบลโคกชะงายอย่างน้อยร้อยละ 50 ของเงินที่รับการจัดสรรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่วนการดำเนินงานในกองทุน ฯ ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครื่องข่ายด้านสุขภาพในตำบลโคกชะงาย เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลโคกชะงาย ฯลฯ

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...