กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2566 - กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชุมพล

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชุมพล
ประจำปีงบประมาณ 2566

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน
  1. ด้านกายภาพ

1.1 ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลชุมพล ตั้งอยู่ เลขที่ 191 หมู่ที่ 5 ตำบลชุมพล อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีนครินทร์ ประมาณ 3 กิโลเมตร ได้ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลชุมพล เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และ ประกาศยกฐานเป็นเทศบาลขนาดกลาง เมื่อ วันที่ 27 ธันวาคม 2555 อาณาเขต เทศบาลตำบลชุมพล มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ จดตำบลแพรกหา อ.ควนขนุน และตำบลตะแพน อ. ศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ทิศใต้ จดตำบลนาท่อม อ.เมือง และตำบลอ่างทอง อ.ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันออก จดตำบลโคกชะงาย อ.เมือง จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก จดตำบลบ้านนา และตำบลลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของตำบลชุมพลเป็นที่ราบสูง ลาดเอียงจากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก เหมาะแก่การประกอบอาชีพการเกษตร มีภูเขาและลำคลองธรรมชาติ

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน ฤดูฝนอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส2. ด้านการเมือง/การปกครอง

2.1 เขตการปกครอง เทศบาลตำบลชุมพล มีเนื้อที่ทั้งหมด 72 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนหมู่บ้านในเขตตำบล รวม 14 หมู่บ้าน มีพื้นที่การปกครองเต็มทั้ง 14 หมู่บ้าน โดยแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 2 เขตเลือกตั้ง ดังนี้ หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชื่อผู้ใหญ่บ้าน

  1. บ้านชุมพล นายสมบัติ บุญญาพิทักษ์
  2. บ้านหนองปรือ นายสุรพงศ์ โพธิ์ทอง
  3. บ้านหนองเสม็ด นายสมหมาย หนูรักษ์ (กำนันตำบลชุมพล)
  4. บ้านห้วยไทร นายลาภ ศรีน้อย
  5. บ้านหนองโหล๊ะ นายการุณย์ นกเกตุ
  6. บ้านทุ่งยวน นายอนันต์ อินทองแก้ว
  7. บ้านโหล๊ะจังกระ นายอำนวย มะลิสุทธิ์
  8. บ้านสวนโหนด นายสุมิตย์ นุ่นเกลี้ยง
  9. บ้านหนองหว้า นายโกสิทธิ์ ทับชุม
  10. บ้านลำกะ นายธนพล มานะทวี
  11. บ้านต้นธง นายใจ ชูสังข์
  12. บ้านนารา นายสุนทร วรรณโก
  13. บ้านหนองโหมรง นายพงศักดิ์ อินทรเหมือน
  14. บ้านชุมทอง นายประสิทธิ์ มากอินทร์

ข้อมูลประชากร

หมู่ที่ 1 ชาย 434 คน หญิง 445 คน รวม 879 คน จำนวนครัวเรือน 333 หลัง

หมู่ที่ 2 ชาย 260 คน หญิง 272 คน รวม 532 คน จำนวนครัวเรือน 183 หลัง

หมู่ที่ 3 ชาย 994 คน หญิง 369 คน รวม 1456 คน จำนวนครัวเรือน 620 หลัง

หมู่ที่ 4 ชาย 280 คน หญิง 320 คน รวม 602 คน จำนวนครัวเรือน 232 หลัง

หมู่ที่ 5 ชาย 459 คน หญิง 374 คน รวม 778 คน จำนวนครัวเรือน 384 หลัง

หมู่ที่ 6 ชาย 188 คน หญิง 205 คน รวม 398 คน จำนวนครัวเรือน 148 หลัง

หมู่ที่ 7 ชาย 488 คน หญิง 499 คน รวม 982 คน จำนวนครัวเรือน 445 หลัง

หมู่ที่ 8 ชาย 199 คน หญิง 229 คน รวม 430 คน จำนวนครัวเรือน 145 หลัง

หมู่ที่ 9 ชาย 259 คน หญิง 260 คน รวม 523 คน จำนวนครัวเรือน 180 หลัง

หมู่ที่ 10 ชาย 399 คน หญิง 395 คน รวม 793 คน จำนวนครัวเรือน 416 หลัง

หมู่ที่ 11 ชาย 175 คน หญิง 176 คน รวม 353 คน จำนวนครัวเรือน 136 หลัง

หมู่ที่ 12 ชาย 183 คน หญิง 184 คน รวม 368 คน จำนวนครัวเรือน 111 หลัง

หมู่ที่ 13 ชาย 194 คน หญิง 225 คน รวม 421 คน จำนวนครัวเรือน 127 หลัง

หมู่ที่ 14 ชาย 177 คน หญิง 182 คน รวม 366 คน จำนวนครัวเรือน 145 หลัง

รวม ชาย 4,689 คน หญิง 4,135 คน รวมทั้งสิ้น 8,824 คน รวมจำนวนครัวเรือน 3,605 หลังคาเรือน (ข้อมูล ณ 31 สิงหาคม 2565)


ข้อมูลผู้สูงอายุ จำนวน 1,479 คน

ข้อมูลผู้พิการ จำนวน 242 คน

ข้อมูลผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 11 คน

ข้อมูลผู้ป่วยติดเตียง จำนวน  คน

stars
ข้อมูลกองทุน

แหล่งที่มาของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ

(1) เงินที่ได้รับจัดสรรแต่ละปีจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (2) เงินสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) รายได้อื่น ๆ หรือทรัพย์สินที่ได้รับมาในกิจการของกองทุนหลักประกันสุขภาพ (4) ค่าบริการอื่น กรณี อปท.ที่มีความพร้อม ความเหมาะสม แสดงความจำนงเข้าร่วมจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

การสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมทบเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพ ในอัตราร้อยละของเงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดังต่อไปนี้

(1) สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 กรณีรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่รวมเงินอุดหนุน ต่ำกว่า 6 ล้านบาท

(2) สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 กรณีรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่รวมเงินอุดหนุน ตั้งแต่ 6 ถึง 20 ล้านบาท

(3) สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 กรณีรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่รวมเงินอุดหนุน สูงกว่า 20 ล้านบาท

ดังนั้น ประมาณการรายรับในปีงบประมาณ 2566 ดังนี้

1.เงินที่ได้รับจัดสรรแต่ละปีจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวนประชากร ประมาณการรับไว้ 397,080 บาท

2.เงินสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประมาณการรับไว้ 285,000 บาท

3.รายได้อื่น ๆ ประมาณการรับไว้ 48,005,99 บาท

รวมประมาณการรับไว้ทั้งสิ้น ประมาณการรับไว้ 730,085.99 บาท

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...