กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2565 - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่
ประจำปีงบประมาณ 2565

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน (1) ด้านกายภาพ 1) ที่ตั้งของหมู่บ้านของชุมชนหรือตำบล (แผนที่ประกอบ) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดพัทลุง ห่างจากศาลากลางจังหวัดพัทลุง ประมาณ 35 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีบรรพต ระยะทาง 6 กิโลเมตร มีเนื้อที่ จำนวน 48,104 ไร่ หรือจำนวน 75 ตารางกิโลเมตร มีที่ดินสาธารณะประโยชน์ 8,432 ไร่ ตำบลเขาปู่ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540

2) ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเนินสูง
อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ  จด ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ทิศใต้ จด ตำบลพะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันออก จด ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก  จด ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรังและ       จด ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

3) ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป เป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือฤดูฝน และฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี เฉลี่ยอยู่ที่ 26 – 28 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม ไปจนถึงเดือนกันยายนหรือตุลาคมของแต่ละปี ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมว่าในแต่ละปีจะเริ่มเข้ามาช้าหรือเร็ว ช่วงฤดูร้อนนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านจากทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนตกน้อยเพระเทือกเขาบรรทัดกั้นขวางอยู่ เมื่อย่างเข้าฤดูฝน คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ฝนจะตกชุกและหนาแน่น เนื่องมาจากช่วงนี้จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านมาจากทะเลฝั่งอ่าวไทย พื้นที่ตำบลเขาปู่ถึงแม้ว่าจะมีฝนตกชุกและหนาแน่นในช่วงฤดูฝนแต่ก็ไม่ค่อยประสบกับปัญหาน้ำท่วม แต่ถ้าหากว่ามีฝนตกชุกหนาแน่นติดต่อกันหลายวันสิ่งที่ต้องระวังก็คือปัญหาดินโคลนถล่มหรือน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นในช่วงที่เป็นปลายฤดูฝนนี้ อากาศที่อำเภอศรีบรรพตเป็นช่วงที่มีอากาศดีมาก ช่วงเช้าจะมีหมอกหนาแน่นปกคลุม ช่วงกลางวันอากาศเย็นสบาย

4) ลักษณะของดิน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเนินสูง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินลูกรัง จึงเหมาะสำหรับการทำการเกษตร

(2) ด้านการเมือง/การปกครอง 1) เขตการปกครอง แบ่งการปกครองเป็น 11 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านโพธิ์เล (อพป) ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายธนรัตน์ ยิ่งยวด หมู่ที่ 2 บ้านใสประดู่ (อพป) ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายอาคม เต็มทอง หมู่ที่ 3 บ้านควนลม (อพป) ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายจรูญศักดิ์ เกลาฉีด หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งยูง (อพป) ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเอกธวัช ดำจวนลม หมู่ที่ 5 บ้านด่าน (อพป) ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายโสภณ บัวทองเรือง หมู่ที่ 6 บ้านเหรียงงาม (อพป) ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายปฏิพัทธ์ ไหมศรีขาว หมู่ที่ 7 บ้านเขาป้าแหร่ (อพป) กำนันชื่อ นายอภิชาต เกลาฉีด หมู่ที่ 8 บ้านป่าตอ (อพป) ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายประเสริฐ บุญแก้วคง หมู่ที่ 9 บ้านในวัง (อพป) ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายอิศม์กร เส้งทับ หมู่ที่ 10 บ้านโหล๊ะปรางค์ (กม.) ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสมนึก เพ็งนุ่น หมู่ที่ 11 บ้านเขาปู่ (กม.) ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายดิเรก เกษม

  (2) การเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่าง (3) ประชากร
1) ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร (ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง 3-5 ปี และการคาดการณ์ในอนาคต) หมู่ที่ จำนวนครัวเรือน หญิง ชาย รวม 1. บ้านโพธิ์เล (อพป) 166 288 256 544 2. บ้านใสประดู่ (อพป) 229 382 389 771 3. บ้านควนลม (อพป) 92 141 140 281 4. บ้านทุ่งยูง (อพป) 143 238 252 490 5. บ้านด่าน (อพป) 115 183 188 371 6. บ้านเหรียงงาม (อพป) 245 390 403 793 7. บ้านเขาป้าแหร่ (อพป) 165 278 254 532 8. บ้านป่าตอ (อพป) 202 353 361 714 9. บ้านในวัง (อพป) 109 201 206 407 10. บ้านโหล๊ะปรางค์ (กม.) 110 189 178 367 11 .บ้านเขาปู่ (กม.) 172 272 257 529 รวม 1,747 2,915 2,884 5,799

ข้อมูล อำเภอศรีบรรพต เดือนมีนาคม 2564

ที่ หมู่บ้าน พ.ศ.2559 พ.ศ.2560 พ.ศ.2561 พ.ศ.2562 ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง 1 บ้านโพธิ์เล (อพป) 256 285 262 282 257 286 256 288 2 บ้านใสประดู่ (อพป) 392 381 389 389 390 388 389 382 3 บ้านควนลม (อพป) 143 146 143 147 144 142 140 141 4 บ้านทุ่งยูง (อพป) 257 240 256 238 251 238 252 238 5 บ้านด่าน (อพป) 186 180 185 180 187 180 188 183 6 บ้านเหรียงงาม (อพป) 400 390 403 395 407 391 403 390 7 บ้านเขาป้าแหร่ (อพป) 253 284 258 284 256 277 254 278 8 บ้านป่าตอ (อพป) 365 332 367 347 361 352 361 353 9 บ้านในวัง (อพป) 203 204 208 201 210 202 206 201 10 บ้านโหล๊ะปรางค์ (กม.) 186 184 187 183 181 187 178 189 11 บ้านเขาปู่ (กม.) 249 265 257 268 261 275 257 272 รวม 2,890 2,891 2,915 2,914 2,905 2,884 2,915 2,884


2) ช่วงอายุและจำนวนประชากร ประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ (ปี พ.ศ.2564) ประชากร หญิง ชาย ช่วงอายุ จำนวนประชากรเยาวชน 582 638 อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวนประชากร 1,847 1,857 อายุ 18 - 60 ปี จำนวนประชากรผู้สูงอายุ 484 386 อายุมากว่า 60 ปี รวม 2,913 2,881 ทั้งสิ้น 5,794 คน

(4) สภาพทางสังคม 1) การศึกษา 1. โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง - โรงเรียนบ้านเขาปู่ (โรงเรียนขยายโอกาส) ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 - โรงเรียนวัดใสประดู่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 - โรงเรียนชุณหะวัณ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 - โรงเรียนบ้านเหรียงงาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 11
3. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 11
4. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 11       ประจำตำบล
5. ศูนย์การเรียนรู้ ICT ตั้งอยู่หมู่ที่ 11       เพื่อพ่อหลวงชุมชนที่ทำการ อบต.เขาปู่

2) สาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 - คลินิกกลิ่นสุคนธ์การพยาบาล ตั้งอยู่หมู่ที่ 11

3) อาชญากรรม - ที่พักสายตรวจตำบลเขาปู่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 11

4) ยาเสพติด - ศูนย์ยาเสพติดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 การติดสารเสพติด (N=4,774) ชาย หญิง รวม

จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 1.ไม่ติดสารเสพติด 2,341 49.04 2,424 50.78 4,765 99.81 2.ติดสารเสพติด 9 0.19 0 0.00 9 0.19 รวม 2,350 49.22 2,424 50.78 4,774 100.00
หมายเหตุ : N=จำนวนประชากรที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป ข้อมูลจาก สสส. ณ เดือน มีนาคม 2564

5) การสังคมสงเคราะห์ - ชมรมผู้สูงอายุตำบลเขาปู่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 - โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเขาปู่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 - ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
- รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด - ประสานการทำบัตรผู้พิการ - ดำเนินโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน
- ดำเนินโครงการสร้างและซ่อมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากไร้ รายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาส ไร้ที่พึ่ง
- ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน

(5) ระบบการบริการพื้นฐาน
1) การคมนาคมขนส่ง (ทางบก,ทางน้ำ,ทางราง ฯลฯ) มีถนนสายหลัก 3 สาย คือ
สายที่ 1 ถนนควนขนุน – เขาปู่ สายที่ 2 ถนนเขาปู่ – ป่าพะยอม สายที่ 3 ถนนเขาปู่ – ควนดินสอ
2) การไฟฟ้า - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอศรีบรรพต

3) การประปา 1. ระบบประปาภูเขา จำนวน 6 แห่ง หมู่ที่ 1,3,4,8,9
2. ระบบประปาผิวดิน จำนวน 6 แห่ง หมู่ที่ 2,5,6,7,11   3. ระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 11 แห่ง หมู่ที่ 1 - 11 4. บ่อบาดาล    จำนวน 18 แห่ง หมู่ที่ 1,2,3,5,6,7,8,9,10,11

4) โทรศัพท์ ประชากรร้อยละ 90 มีโทรศัพท์มือถือ

5) ระบบโบจิสติกส์ (Logistics) หรือการขนส่ง สายที่ 1 ถนนควนขนุน – เขาปู่ สายที่ 2 ถนนเขาปู่ – ป่าพะยอม สายที่ 3 ถนนเขาปู่ – ควนดินสอ
(6) ระบบเศรษฐกิจ 1) การเกษตร - ทำสวนยางพารา - ทำสวนผลไม้ - ปลูกผัก

2) การประมง ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ไม่มีการประมง เป็นการจับปลาตามธรรมชาติเพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น

3) การปศุสัตว์ - เลี้ยงสุกร - เลี้ยงไก่ - เลี้ยงวัว

4) การบริการ - ร้านอาหาร จำนวน 15 แห่ง

5) การท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่
- น้ำตกเหรียงทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 - ถ้ำลอด-ถ้ำมืด-ถ้ำสาย-ถ้ำเสือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 - อ่างเก็บน้ำป่าพะยอม ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
- จุดชมวิวควนไข่หด ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 - จุดชมวิวควนนกหว้า ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 - ล่องแก่งท่าเหรียง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 - ถ้ำฤาษี ตั้งอยู่หมู่ที่ 8
- น้ำตกพระยานคร ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 - อุทยานแห่งชาติเขาปู่ – เขาย่า ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 - ถ้ำเพชร  ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 - วัดถ้ำเก่า ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 - ถ้ำตาปู่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 11

6) อุตสาหกรรม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ไม่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่มีการประกอบกิจการน้ำมันขนาดเล็ก จำนวน 1 แห่ง

7) การพาณิชและกลุ่มอาชีพ - กลุ่มเครื่องแกง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 - กลุ่มเครื่องแกง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 - ศูนย์เรียนรู้การปลูกสละและแปรรูป ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 - กลุ่มกลองยาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านป่าตอ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 - กลุ่มแปรรูปชาสมุนไพร ตั้งอยู่หมู่ที่ 8

4) แรงงาน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ (7) ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 1) การนับถือศาสนา - นับถือศาสนาพุทธ 100%

2) ประเพณีและงานประจำปี - งานชาวสวนประจำปีของดีศรีบรรพต - ตักบาตรเทโว - งานวันสารทเดือนสิบ - หล่อเทียนพรรษา

3) ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น   - ปราชญ์ชาวบ้าน   - เครื่องจักรสาน   - การแพทย์แผนไทย

4) OTOP สินค้าพื้นเองและของที่ระลึก   - ผลไม้ , กล้วยไข่แก้ว

(8) ทรัพยากรธรรมชาติ 1) น้ำ - ลำน้ำ,ห้วย จำนวน 11 สาย - ลำคลอง จำนวน 9 สาย - บึง,หนอง,สระน้ำ จำนวน 7 สาย

2) ป่าไม้   - เป็นป่าดิบชื้น พันธ์ไม้ที่พบ ตะเคียนทอง หลุมพอ ยาง กระบาก จำปาป่า พิกุล
ไข่เขียว นากบุตร พญาไม้ หมากพน พืชชั้นล่างได้แก่ ช้างร้องไห้ หวาย กล้วยไม้ป่า สมุนไพร และว่านชนิดต่าง ๆ 3) ภูเขา - เทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธาร

4) ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - ดิน น้ำ ป่าไม้ เหมาะแก่การทำการเกษตร


(9) อื่น ๆ   มวลชนจัดตั้ง - ลูกเสือชาวบ้าน - ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น - อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 4 รุ่น - กลุ่มต่อต้านภัยเสพติดกลุ่มทรายขาว - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
- โรงเรือนแปรรูปอาหารในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร - ศูนย์สาธิตการตลาด - ลานกีฬาระดับตำบล ม.1,2 - ลานกีฬาระดับหมู่บ้าน ม.3,7,8,10 - กลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาปู่ - คณะกรรมการพัฒนาสตรี - กลุ่ม อสม.ตำบลเขาปู่ - ชมรมผู้สูงอายุ - ชมรมออกกำลังกายระดับตำบล - คณะกรรมการพัฒนาเด็กเล็ก - อาสาสมัคร ปปส.หมู่บ้าน - หน่วยกู้ภัย/กู้ชีพ

stars
ข้อมูลกองทุน

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ มุ่งสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรทุกฝ่ายในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพและสร้างความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเองและการสร้างกลไกลในสังคมที่ต้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง และตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 13 (3) มาตรา 18 (4) (8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับทอ้งถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่ได้โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน รวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหากำไรดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ ได้สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในหลายรูปแบบ โดยเน้น การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต การแพทย์ฉุกเฉิน ตลอดถึงส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ มีสวัสดิการชุมชนรองรับและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและยังให้ประชาชนได้รับทราบสิทธิ ได้ร่วมกระบวนเรียนรู้ เพื่อให้มีความพร้อมในการเข้าไปมีส่วนในระบบหลักประกันสุขภาพมากขึ้นในอนาคต ในช่วงที่ผ่านมาคณะกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ มีการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมภาคประชาชนได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลขององค์กรชุมชนที่มีศักยภาพในการดำเนินงานเรื่องกองทุนสวัสดิการที่ชุมชนท้องถิ่น และให้มีหน่วยแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ มีพร้อมที่จะบริหารจัดการในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ และหน่วยบริการ จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ ต่อมาได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อทำแผนปฎิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนฯ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลและเป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด ตามประกาศฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2561 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สุงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยเงินกองทุนฯให้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ การจัดทำแผนปฎิบัติงานหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะได้ใช้ประกอบการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานที่กำหนดไว้ และรวมถึงการเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนท้องถิ่น ต่อไป 2. วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์ 1. วิสัยทัศน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่“ประชาชนมีสุขภาวะดี บริการดี สังคมดี ชีวิตมีความสุขตามวิถีความพอเพียง” 2 .ยุทธศาสตร์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในกองทุนหลักประกันสุขภาพ จำนวน 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ด้านการจัดบริการสุขภาพ ประกอบด้วย ๑ แนวทาง คือ (๑) แนวทางการจัดบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ซึ่งประกอบด้วย •การจัดบริการชุดสิทธิประโยชน์สําหรับหญิงมีครรภ์ •การจัดบริการชุดสิทธิประโยชน์สําหรับเด็กเล็ก (แรกเกิดถึงต่ำกว่า ๖ปี) •การจัดบริการชุดสิทธิประโยชน์สําหรับเด็กโต (อายุ ๖ ปีถึงต่ำกว่า ๒๕ ปี) •การจัดบริการชุดสิทธิประโยชน์สําหรับผู้ใหญ่ (อายุ ๒๕ ปีขึ้นไป) •การจัดบริการชุดสิทธิประโยชน์สําหรับกลุ่มผู้พิการและทุพพลภาพ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการสนับสนุนหน่วยบริการสาธารณสุข 3 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ 4 ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ 3. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่ายมีส่วนร่วมรับผิดชอบในด้านความเป็นเจ้าของการควบคุมกํากับและร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในระดับที่สมเหตุสมผล 2. เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างเต็มที่และมีกลไกในการคุ้มครองสิทธิที่เป็นจริง 3. เพื่อสนับสนุนให้หน่วยบริการระดับปฐมภูมิจัดหน่วยบริการร่วมกันในลักษณะเครือข่ายและให้บริการได้อย่างครอบคลุมกว้างขวาง โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสในตําบลเขาปู่ 4. เพื่อให้สิทธิประโยชน์หลักและรูปแบบหรือกลไกการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน 5. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 6. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสภาพของหน่วยบริการหรือสถานที่บริการอื่นๆหรือ สถานบริการทางเลือกต่าง ๆ 7. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพย่างน้อยตามชุดสิทธิประโยชน์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกําหนด 8. เพื่อให้เกิดการพัฒนาสุขภาพของคนในท้องถิ่นโดยการบริหารจัดการของท้องถิ่น 9. เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 4. เป้าหมาย 1. สร้างหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนในตําบลทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้ตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ 2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี 3. ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพได้มากขึ้น 4. ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมดูแลและบริหารจัดการระบบสุขภาพได้โดยถือว่า “สุขภาพ” เป็นเรื่องของประชาชนทุกคน 5. ส่งเสริมให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีความยั่งยืนซึ่งจําเป็นต้องเป็นระบบที่มุ่งเน้น“การสร้างนําซ่อมสุขภาพ” 5. ภารกิจ 1. การจัดบริการสุขภาพตามกิจกรรมหลัก มี 8 กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วย 1.1 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด - การสำรวจ ค้นหา และจำทำทะเบียน หญิงมีครรภ์รายใหม่ - การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ - การประเมินภาวะโภชนาการ การเฝ้าระวัง และการแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ - การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด - การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ ป้องกันโรคโลหิตจากธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง - การควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ - การส่งเสริมการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ - การส่งเสริมสนับสนุนโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ในการให้ความสำคัญสถาบัน ครอบครัว และการเลี้ยงดูเด็กและเยาวชนอย่างใกล้ชิด - การเยี่ยมบ้านให้ความรู้ ให้คำแนะนำ และติดตามดูแลสุขภาพก่อนคลอดและหลังคลอด - การติดตาม ค้นหา หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ที่ขาดนัดหรือมีภาวะเสี่ยง - การให้ความรู้ และคำแนะนำในชุมชน โรงเรียน หรือหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน แก่หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ในการเตรียมตัว การปฎิบัติและการดูแลตัวเอง - การดูแลผู้ป่วยหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย - การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ - การคัดกรองและดูแลรักษามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในหญิงวัยเจริญพันธุ์ - อื่นๆ 1.2 กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน - การสำรวจ ค้นหาข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพเด็กเกิดใหม่ เด็ก ย้ายเข้า – ย้ายออก - การซักประวัติ ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ตรวจร่างกาย และจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน - การคัดกรอง ตรวจประเมิน และติดตามพัฒนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน - การประเมินภาวะสุขภาพและการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง - การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย/กระบวนการเรียนรู้/ความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์ ในเด็กแรกเกิด เด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยเรียน - การประเมินภาวะโภชนาการ การเฝ้าระวัง และการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก เล็กและเด็กก่อนวัยเรียน - การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ - การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ - การส่งเสริมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามวัย - การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กและเด็กก่อนวัยเรียน - การประเมินและจัดกิจรรมส่งเสริมความฉลาดทางอารมณืในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน - การติดตามความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กเล็กและเด็ก่กอนวัยเรียน - การดูแลเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนหลังได้รับวัคซีน และการติดตาม ค้นหา เด็กขาดนัดขาดวัคซีน - การติดตามผลการรักษา การส่งต่อ-ส่งกลับ และการดูแลสุขภาพเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนอย่างต่อเนื่อง - การพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน แก่ พ่อ แม่ ผู้ปกครองหรือครู ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - การสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็กดี - การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - อื่นๆ 1.3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน - การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ - การซักประวัติ ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ตรวจร่างกาย และจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชน - การตรวจคัดกรอง ตรวจประเมิน และติดตามพัฒนาการเด็กวัยเรียน - การประเมินภาวะโภชนาการ การเฝ้าระวัง และการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนและเยาวชน - การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียนและเยาวชน - การตรวจวัดและคัดกรอง ความผิดปกติหรือความบกพร่องทางการมองเห็นและการได้ยิน ในเด็กวัยเรียนและเยาวชน - การส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกายแก่เด็กวัยเรียนและเยาวชนทั้งในโรงเรียนและในชุมชน - การประเมินและการจัดกิจกรรมส่งเสริมความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์ในเด็กวัยเรียนและเยาวชน - การคัดกรอง การป้องกันและการแก้ไขปัญหา ภาวะซึมเศร้าและผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย - การป้องกันและลดปัญหาด้านสารเสพติด/ยาสูบ/เครื่องดื่มแอลกอฮอร์ - การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์/การตั้งครรภ์ไม่พร้อม/โรคเอดส์/โรคทางเพศสัมพันธ์ แก่เด็กวัยเรียนและเยาวชน ทั้งในโรงเรียนและในชุมชน - การส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันอุบัติในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน - การให้ความรู้เรื่องการวางแผนครองครัว และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์/การตั้งครรภ์ไม่พร้อม แก่เด็กวัยเรียนและเยาวชน - การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพแก่เด็กวัยเรียนและเยาวชน - การติดตาม การส่งเสริมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามวัย ตามอายุของเด็กวัยเรียน - การดูแลเด็กวัยเรียนหลังได้รับวัคซีน และการติดตาม ค้นหา เด็กขาดนัด ขาดวัคซีน - การติดตามผลการรักษา การส่งต่อ-ส่งกลับ และการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง - การพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลเด็กวัยเรียนและเยาวชน แก่ พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง - การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ - การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ - การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย/กระบวนการเรียนรู้แก่เด็กวัยเรียนและเยาวชน - อื่นๆ 1.4 กลุ่มวัยทำงาน - การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ - การซักประวัติ ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ตรวจร่างกาย วัดดัชนีมวลกาย วัดรอบเอวและจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน - การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มวัยทำงาน - การตรวจวัดและคัดกรอง ความผิดปกติหรือความบกพร่องทางการมองเห็นและการได้ยินในกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะเสี่ยง - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะเสี่ยง - การส่งเสริมสนับสนุนนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน - การส่งเสริมสนับสนุนการดูแลสุขภาพกลุ่มวัยทำงานด้านการแพทย์แผนไทย - การส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกายในกลุ่มวัยทำงานและผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการ ทำงาน - การให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตแก่กลุ่มวัยทำงานและผู้มีภาวะเสียงจากการทำงาน - การคัดกรอง การป้องกัน และการแก้ไขปัญหา ภาวะซึมเศร้า สมองเสื่อม และผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในกลุ่มวัยทำงาน - การป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่อง สารเสพติด ยาสูบเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ แก่ผู้มีภาวะเสี่ยง ในกลุ่มวัยทำงาน - การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยทำงาน - การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพในกลุ่มวัยทำงาน - การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ในกลุ่มวัยทำงาน - การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มวัยทำงานและการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในการทำงาน - อื่นๆ 1.5 กลุ่มผู้สูงอายุ - การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ - การซักประวัติ ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ตรวจร่างกาย วัดดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว และจัดทำสมุดบันทึกสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ - การตรวจคัดกรอง การค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงโรคเรื้อรัง และโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม วัณโรค โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น - การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ - การตรวจวัดและคัดกรอง ความผิดปกติหรือความบกพร่องทางการมองเห็นและการได้ยิน  ในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงและผู้สูงอายุ - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงตามกลุ่มโรคหรือปัญหาสุขภาพในท้องถิ่น - การส่งเสริมสนับสนุน นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและ วัฒนธรรมพื้นบ้าน - การส่งเสริมสนับสนุนการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย - การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ ให้ความรู้ให้คำแนะนำ และติดตามดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ที่  มีภาวะเสี่ยง - การส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกายแก่ผู้สูงอายุ - การให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ ผู้มีภาวะเสี่ยง - การคัดกรอง การป้องกัน และการแก้ไขปัญหา ภาวะซึมเศร้า สมองเสื่อม และผู้ที่มีภาวะ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้สูงอายุ - การส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่ายสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) - การคัดกรองและดูแลผู้มีภาวะข้อเข่าเสื่อม - การส่งเสริมสนับสนุนสร้างจิตอาสาดูแลผู้สุงอายุ - การติดตามผลการรักษา การส่งต่อ-ส่งกลับ และการดูแลสุขภาพผู้สุงอายุ ผู้ที่มีภาวะเสี่ยง - การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ - การส่งเสริมพัฒนาทักษะทางกายและใจ - การส่งเสิรมสนับสนุนกิจกรรมศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ - อื่นๆ 1.6 กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ - การซักประวัติ ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ตรวจร่างกาย วัดดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว และ  จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - การคัดกรอง การป้องกัน และการแก้ไขปัญหา ภาวะซึมเศร้า สมองเสื่อม และผู้ที่มีภาวะ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง - การส่งเสริมสนับสนุนการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยการแพทย์แผนไทย - การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ และติดตามดูแลสุขภาพ ผู้ที่มีภาวะ  เสี่ยงผู้ป่วยเรื้อรัง - การส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่ายสุขภาพดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างจิตอาสาดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - การส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกายแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง - การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ - การคัดกรองและดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง - การคัดกรองและดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ - การคัดกรองและดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง - การคัดกรองและดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง - การติดตามผลการรักษา การส่งต่อ-ส่งกลับ และการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ที่มี ภาวะเสี่ยง - อื่นๆ 1.7 กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ - การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ - การซักประวัติ ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ตรวจร่างกาย จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพกลุ่มผู้ พิการและทุพพลภาพ - การสำรวจ ค้นหา ขึ้นทะเบียนคนพิการและทุพพลภาพ และการรับเอกสารรับรองความพิการรวมถึงการส่งต่อคนพิการและทุพพลภาพให้ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ - การประเมิน แก้ไขความพิการ และฟื้นฟูสมรรถภาพแก่คนพิการและทุพพลภาพ - การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพและการเฝ้าระวังป้องกันภาวะแทรกซ้อน เฃ่น กายภาพบำบัด การฝึกสอนญาติ/ผู้ดูแล และการอาชีวะบำบัด เป็นต้น - การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง - การพัฒนาระบบบริการดูแลสุขภาพคนพิการและทุพพลภาพแบบองค์รวมด้วยทีมสุขภาพ - การส่งเสริมสนับสนุนกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดสู่ชุมชนในพื้นที่ - การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ - การเยี่ยมบ้านให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ติดตามดูแลสุขภาพ และฟื้นฟูสมรรถภาพแก่คน  พิการและทุพพลภาพ - การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ - การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและทุพพลภาพในชุมชน - การสร้างและพัฒนาจิตอาสาดูแลคนพิการและทุพพลภาพในชุมชน - การติดตามผลการรักษา การส่งต่อ-ส่งกลับ และการดูแลสุขภาพคนพิการและทุพพลภาพ  ที่มีภาวะเสี่ยง - การส่งเสริมสนับสนุนการฟื้นฟูสภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวด้วยการแพทย์แผนไทย - การส่งเสริมพัฒนาทักษะทางกายและใจ - การคัดกรองและดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้า - การพัฒนาศักยภาพชมรมคนพิการในชุมชน - การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมศูนย์ผู้ดูแลผู้พิการ - อื่นๆ 1.8 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสื่ยง - การรณรงค์หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการปลอดเหล้า บุหรี่ และอบายมุขในชุมชน - การป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่อง สารเสพติด โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน ชุมชน - การส่เงสริมและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และทักษะชีวิตตามช่วงวัยต่างๆ - การส่งเสริมการออกกำลังกายในโรงเรียน ในสถานประกอบการและในชุมชน - การส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกายและการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น  และวัฒนธรรมพื้นบ้าน - การส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยการปฎิบัติธรรม - การส่งเสริมดูแลสุขภาพช่องปากและฟันช่วงวัยต่างๆในโรงเรียน ในสถานประกอบการ และในชุมชน - การส่งเสริมและพัฒนาบุคคลต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพ - การพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)ผู้นำชุมชน และผู้นำนักเรียน ด้านการสร้างเสริม  สุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ - การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและลด  ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ - การส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยในโรงเรียน ในสถานประกอบการ และใน  ชุมชน - การรณรงค์การใช้เกลือผสมไอโอดีนเสริมปัญญาในโรงเรียนและในชุมชน - การรณรงค์และให้ความรู้ในการบริโภคอาหารปลอดสารพิษ พืชสมุนไพร และการปลูกผัก กินเอง - การส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัยแก่ประชาชน - การให้ความรุ้และส่งเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องแก่ประชาชน ด้านความปลอดภัยจากการใช้ ยา เวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง - การส่งเสริมพัฒนาร้านขายของชำและแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนเรื่องอาหารและ ความปลอดภัยในการบริโภค - การส่งเสริมการขับขี่อย่างปลอดภัย ถูกกฎจราจร และลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในการ เดินทาง - การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมเมาไม่ขับ - การรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนหรือการจราจรทางน้ำ - การรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุและสร้างความปลอดภัยภายในบ้านในโรงเรียน ในสถาน ประกอบการและในชุมชน - การรณรงค์อนุรักษ์และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างยั่งยืน - การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ - การส่งเสิรมการควบคุมและป้องกันมลพิษในชุมชน - การส่งเสริมการเกษตรปลอดสารเคมีและลดการใช้สารเคมี - การตรวจคัดกรองระดับสารเคมีในเลือดแก่ประชาชนที่มีความเสี่ยง - การกำจัดและป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก - การรณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาที่อยู่อาศัยและชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ - การส่งเสริมการจัดการขยะอย่างถูกสุขลักษณะโดยชุมชน - การป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วง โรคหนอนพยาธิ และโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำ เป็นสี่อในชุมชน - การป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ - การสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพในชุมชน - การควบคุมป้องกันโรคและภัยคุกคามที่เป็นปัญหาในชุมชน - การส่งเสริมการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน ในสถานประกอบการและในชุมชน - การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ - การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง - การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ - การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ - อื่นๆ 1.9 สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ - การจัดทำแผนกองทุน - การจัดซื้อ/จัดจ้าง - การจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการ - การจ้างเหมา - การบริหารจัดการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง - อื่นๆ 6. ระยะเวลาดําเนินการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 7. การดําเนินการ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการจัดทําแผนสุขภาพตำบล คณะกรรมการจัดทําแผนพัฒนาสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ เป็นคณะที่รับผิดชอบในการจัดทําแผนสุขภาพตำบลจะต้องจัดเวที ประชาคมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ ความสําคัญแนวทางในการจัดทําแผนพัฒนาสุขภาพให้ประชาชนใน ตําบลได้รับทราบพร้อมกันนั้นจะได้รับทราบปัญหาในเรื่องสุขภาพของประชาชนในตําบลเขาปู่ เพื่อจัดทําโครงการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่อนุมัติในโครงการดังกล่าว ขั้นตอนที่ ๒ การคัดเลือกยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา 1.คณะกรรมการจัดทําแผนพัฒนาสุขภาพจะสรุปแผนพัฒนาสุขภาพพร้อมทั้งปัญหาความต้องการในด้านสุขภาพของประชาชนตําบลเขาปู่นําเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ 2.คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่จะจัดประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันพิจารณาโครงการหรือกิจกรรมที่จะนํามาใช้เป็นกรอบการจัดทําแผนพัฒนา สุขภาพ รวมทั้งกําหนดโครงการ / กิจกรรมที่จะมาเพิ่มเติมหรือตัดทอนลงได้ 3.เมื่อได้แนวทางการพัฒนาสุขภาพแล้วก็จัดประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาว่ามีโครงการ / กิจกรรมอะไรบ้างที่จะต้องดําเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแนวทางการพัฒนาสุขภาพที่คัดเลือกมาใช้เป็นกรอบในการพัฒนาสุขภาพ ขั้นตอนที่ ๓ การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดทําแผนพัฒนาสุขภาพคณะกรรมการจัดทําแผนพัฒนาสุขภาพดําเนินการสํารวจและเก็บรวบรวมข้อมูลที่จําเป็นต่อการจัดทําแผนพัฒนาสุขภาพซึ่งนอกจากจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทั่วไปแล้วยังจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนให้ความเห็นซึ่งข้อมูลที่ จัดทําได้แก่ ข้อมูลประชากรอาชีพ รายได้ สุขภาพ การศึกษา ทรัพยากร การคมนาคมขนส่ง เพื่อเป็นข้อมูลที่นํามาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสุขภาพได้อย่างถูกต้องโดยเก็บรวบรวมข้อมูลที่จะต้องเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลภายในตําบลและภายนอกตําบล เพื่อสามารถนํามาวิเครา ะห์ SWOT (การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อนโอกาสและอุปสรรค) เพื่อได้ตอบสนองปัญหาความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่ตําบลเขาปู่ 2. วิเคราะห์ข้อมูล คณะกรรมการจัดทําแผนพัฒนาสุขภาพจะสรุปผลการพัฒนาที่ผ่านมา นําเสนอที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ประชาคมหมู่บ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินผลการพัฒนาในรอบปีที่ผ่านมาโดยประเมินทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพเพื่อนํามาคัดเลือกจัดทําแผนพัฒนา สุขภาพ รวมทั้งจัดลําดับความสําคัญและแนวทางการพัฒนาสุขภาพเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ แผนพัฒนาสุขภาพ การจัดลําดับความสําคัญมีหลายวิธีตั้งแต่วิธีง่าย ๆ คือ ประชุมตกลงกันหรืออาจใช้วิธีการลงคะแนนโดยใช้บัตรลงคะแนนเพื่อนําคะแนนมาจัดลําดับความสําคัญของปัญหาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนในตําบลเขาปู่ ขั้นตอนที่ ๔ การกําหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ หลังจากได้แนวทางแผนพัฒนาสุขภาพที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามา ดําเนินการหลังจากทราบภารกิจแนวทางการพัฒนาที่กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่จะต้องทํา ขั้นตอนที่ ๕ การจัดทํารายละเอียดโครงการ / กิจกรรมการพัฒนาสุขภาพ คณะกรรมการการจัดทําแผนพัฒนาสุขภาพพิจารณาคัดเลือกโครงการที่สอดคล้องกับแนว ทางการพัฒนาสุขภาพของตําบลมาจัดทํารายละเอียดโครงการในด้านเป้าหมาย ผลิตผลผลลัพธ์ งบประมาณ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบและตัวชี้วัดความสําเร็จโดยเน้นการศึกษารายละเอียดของ กิจกรรมที่จะดําเนินการในปีแรกของแผนพัฒนาสุขภาพเพื่อให้สามารถนําไปจัดทํางบประมาณ รายจ่ายได้ต่อไป ขั้นตอนที่ ๖ การจัดทําร่างแผนพัฒนาสุขภาพ คณะกรรมการจัดทําแผนพัฒนาสุขภาพจัดทําร่างแผนพัฒนาสุขภาพ โดยมีเค้าโครง ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอนเพื่อเสนอร่างแผนพัฒนาสุขภาพและรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแล้วนําไปปรับปรุงแผนพัฒนาสุขภาพให้สมบูรณ์ต่อไป เมื่อดําเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆเสร็จสิ้นแล้ว ให้ นําร่างแผนพัฒนาสุขภาพที่ปรับปรุงแล้วเสนอแนะคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่เพื่อพิจารณา ขั้นตอนที่ ๗ การอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาสุขภาพ คณะกรรมการจัดทําแผนพัฒนาสุขภาพตําบลเขาปู่จะนําผลที่ได้จากขั้นตอนที่ ๑ – ๖ จัดทําร่างแผนพัฒนาสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ จากนั้นจะนําร่างแผนฯเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่เพื่อพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้ต่อไป 8. งบประมาณ รายได้ ปีงบประมาณ 2564 1. ยอดคงเหลือจากปีงบประมาณ 2563 จํานวนเงิน 26,833.98.- บาท (เงินสองหมื่นหกพันแปดร้อยสามสิบสามบาทเก้าสิบแปดสิบสตางค์) 2. งบประมาณที่ไดรับการสนับสนุนจากสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จํานวนเงิน 351,000.- บาท (เงินสามแสนห้าหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) 3. งบประมาณที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลตําบลเขาปู่สมทบ (ไม่น้อยกว่า 4๐%) จํานวนเงิน140,400.- บาท (เงินหนึ่งแสนสี่หมื่นสี่ร้อยบาทถ้วน) ตามงบประมาณข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย(องค์การบริหารส่วนตําบลเขาปู่) ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖4 รวมเงินรายได้ปีงบประมาณ 2563 เป็นเงิน 518,233.98.- บาท 9. รายละเอียดงบประมาณรายจ่าย เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังต่อไปนี้ 1.เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข 2.เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงาน 3.เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชมชนหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน 4.เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่งในแต่ละปีงบประมาณนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้รับเงินเพิ่มตามข้อ 7 วรรคสอง อาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 กรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็น และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น 5.เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ 10.ประโยชน์ของการจัดทำแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ ประโยชน์ของการจัดทำแผนปฎิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ เพื่อจะมีเครื่องมือที่จะช่วยในการพัฒนาอย่างรอบคอบ และแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างแนวทางการดำเนินงานต่างๆที่อาจมีบความเชื่อมโยงและส่งผลทั้งในเชิงสนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อกัน เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ นำมาตัดสินใจ กำหนดแนวทางการดำเนินงานและใช้ทรัพยากรการบริหารของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย เงิน คน วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในตำบลเขาปู่สูงสุด 11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่าย มีส่วนร่วมรับผิดชอบทั้งในด้านความเป็นเจ้าของการควบคุมกํากับและร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในระดับที่สมเหตุสมผล 2. ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างเต็มที่และมีกลไกในการคุ้มครองสิทธิที่เป็นจริง 3. สามารถสนับสนุนให้หน่วยบริการระดับปฐมภูมิจัดหน่วยบริการร่วมกันในลักษณะเครือข่ายและให้บริการได้อย่างครอบคลุมกว้างขวาง ในตําบลเขาปู่ 4. ทำให้สิทธิประโยชน์หลักและรูปแบบหรือกลไกการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน 5. ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 6. สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสภาพของหน่วยบริการหรือสถานที่บริการอื่น ๆ หรือสถานบริการทางเลือกต่าง ๆ 7. ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมี ประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมกระบวนการ มีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ 12. การติดตามประเมินผล การติดตามผล คือ การตรวจสอบงานที่ทําเพื่อแสดงให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นในภาคปฏิบัติ ด้วยการติดตามและบันทึกผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ว่าได้มีการปฏิบัติตามขั้นตอน/กิจกรรมที่กําหนดไว้หรือไม่การใช้ทรัพยากร ต่าง ๆ เป็นไปอย่างเหมาะสมเพียงใด อยู่ภายใต้ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่กําหนดไว้หรือไม่ การประเมินผล คือ การวิเคราะห์ผลการดําเนินงานที่ได้จากการติดตามผลระยะหนึ่งเพื่อประเมินว่า ความเปลี่ยนแปลง (ซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติ) ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนหรือไม่ วัตถุประสงค์ของการติดตามและประเมินผล การติดตามและประเมินผลโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง 1. ความก้าวหน้าในการดําเนินงานที่ทําไปแล้วนั้นได้ผลมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้หรือไม่ 2. ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการดําเนินงาน เช่น ปัญหาทางด้านการเงิน ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาทางด้านเทคนิค และปัญหาอื่น ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดไว้ 3. ผลที่ได้รับจากโครงการมีอะไรบ้าง มีปัญหารวมทั้งขอดีต่าง ๆ ที่จะเป็นแนวทางสําหรับจัดทําโครงการต่อไป 4. ทบทวนถึงผลสําเร็จของโครงการและผลกระทบต่างๆของโครงการเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการวางแผนโครงการในอนาคต

  1. แผนการดำเนินงานตามประเด็น
stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...