กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2566 - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า
ประจำปีงบประมาณ 2566

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

บทนำ

เนื่องจากปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมของบุคคลที่มี สาเหตุมาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้านที่ผสมผสานกันอันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจาก พันธุกรรม เจตคติ ความรู้ และความเข้าใจปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม ที่มี สาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้ กลวิธีการดำเนินงานในหลายวิธีและใช้ระยะเวลาการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง โดย อาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพ
ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนบรรลุวัตถุประสงค์ จึงต้องมีระบบการจัดทำข้อมูล มีการจัดทำแผนงานที่ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนงานดังกล่าวอาจใช้เครื่องมือ เช่น แผนสุขภาพตำบล แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เป็นต้น


๑. ความหมายของแผนสุขภาพตำบล แผนสุขภาพตำบล เป็นแผนงานด้านสุขภาพของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชนเป็นกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนา และร่วมรับผลประโยชน์ โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำ การทบทวนงานในอดีต กำหนดอนาคต การสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล กำหนดปัญหา และการประเมินศักยภาพชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเอง โดยคำนึงถึงศักยภาพ  ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชน กระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพ และร่วมติดตามประเมินผล โดยสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้ ๒. หลักการของแผน ๒.๑  ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง หมู่บ้าน/ชุมชนเป็นศูนย์กลาง และประชาชนเป็นเจ้าของ ๒.๒  รวมพลังทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อการอยู่เย็นเป็นสุข ตามแนวพระราชดำริปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ๒.๓  บูรณาการกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม ๒.๔  ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

๓.วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนสุขภาพตำบลกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาย่า ๑.  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาด้านสาธารณสุข ทั้ง 5 ด้าน ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาย่า ๒.  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีของกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาย่า เพื่อสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น

๔. ขั้นตอนการทำแผนสุขภาพชุมชนตำบล กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาย่า ๑.  จัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ประสานเครือข่าย สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ๒.  ประชุมคณะกรรมการฯ อนุกรรมการฯ และคณะทำงานฯ
๓.  จัดประชุมร่วมกันทุกภาคส่วน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหา ความต้องการพัฒนา และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ๔.  นำข้อมูลที่ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกองทุน ฯ เพื่อจัดทำเป็นแผนสุขภาพตำบลและประกาศใช้ต่อไป





ส่วนที่ 2

ข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไป ..................................... สภาพทั่วไปของพื้นที่ในเขตของกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง สภาพพื้นลักษณะสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและพื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบสูงเชิงเขา และสภาพอากาศโดยทั่วไปเป็นแบบร้อนชื้น มี ๒ ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน เนื้อที่มีพื้นที่ประมาณ ๕๔ ตารางกิโลเมตร อาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลเกาะเต่า,บ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลดอนทราย,ชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

ประชากร ตำบลเขาย่า มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 6,946 คน แยกเป็นชาย 3,473 คน    หญิง 3,473 คน สรุปได้ตามตารางดังนี้ หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน ชาย หญิง รวม
1 บ้านสำนักปราง 302 307 609 341 2 บ้านสะพานยาง 307 291 598 227 3 บ้านม่วง 403 410 813 313 4 บ้านเขาย่าออก 309 327 636 229 5 บ้านโหล๊ะเร็ดตก 337 358 695 245 6 บ้านวังบาก 358 376 734 285 7 บ้านโพรงงู 414 398 812 364 8 บ้านโหล๊ะเร็ดออก 404 405 809 297 9 บ้านสำนักวา 298 263 561 381 10 บ้านหูหนาน 341 338 697 234 รวม 3,473 3,473 6,946 2,916

















(ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2565 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)








จำนวนประชากรแยกตามกลุ่มเป้าหมายหลัก

ลำดับ กลุ่ม จำนวน หมายเหตุ ๑ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด - ไม่มีข้อมูล 2 เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน(1 – 4 ปี) 281
3 เด็กวัยเรียนและเยาวชน (5 – 24 ปี) 1,676
4 วัยทำงาน (25 – 59 ปี) 3,747
5 ผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) 1,190
6 คนพิการและทุพลภาพ
7 ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง เช่นเกษตรกรที่ใช้สารเคมี - ไม่มีข้อมูล 8 การพัฒนาและบริหารกองทุน (คณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงาน) 38











ข้อมูล ณ เดือน เมษายน 2565 ข้อมูลด้านสุขภาวะของประชากร ๑.สาเหตุการเจ็บป่วยผู้ป่วยนอก 10 ลำดับโรคแรก ชื่อกลุ่ม(298โรค) ชาย หญิง รวม 145 ความดันโลหิตสูงที่ไม่มีสาเหตุนำ 1,778 2,992 4,770 104 เบาหวาน 1,184 2,572 3,756 167 การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลัน 1,468 2,014 3,482 207 เนื้อเยื่อผิดปกติ 916 2,043 2,959 146 โรคความดันโลหิตสูงอื่นๆ 1,109 1,421 2,530 181 ความผิดปกติอื่นๆของฟันและโครงสร้าง 687 1,309 1,996 281 การบาดเจ็บระบุเฉพาะอื่นๆ 735 574 1,309 185 โรคอื่นๆของหลอดอาหารกระเพาะและดูโอเดนัม 430 793 1,223 111 ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อโภชนาการและเมตะบอลิก 268 861 1,129 199 โรคอื่นๆของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 418 660  1,078 206 พยาธิสภาพของหลังส่วนอื่นๆ 401 660 1,061 180 ฟันผุ 279 497 776 198 โรคอักเสบติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 279 265 544 176 โรคหืด 189 305 494 201 โรคข้อเสื่อม 64 369 433 ข้อมูลจากระบบ HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง

2.สาเหตุการเจ็บป่วยผู้ป่วยนอก 10 ลำดับโรคแรก ในกลุ่มอายุน้อยกว่า     หรือเท่ากับ 15 ปี

ชื่อกลุ่ม(298โรค) ชาย หญิง รวม 167 การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบน 378 372 750 แบบเฉียบพลันอื่นๆ 180 ฟันผุ 159 162 321 281 การบาดเจ็บระบุเฉพาะอื่น ๆ 199 118 317
ไม่ระบุเฉพาะและหลายบริเวณในร่างกาย 181 ความผิดปกติอื่นๆของฟันและโครงสร้าง 72 78 150 199 โรคอื่น ๆ ของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 59 74 133 170 หลอดลมอักเสบเฉียบพลันและหลอดลมเล็ก 77 29 106 อักเสบเฉียบพลัน 184 กระเพาะอาหารอักเสบและดูโอเดนัม 52 48 100 อักเสบ 176 โรคหืด 58 29 87 198 โรคอักเสบติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่อ 53 30 83 ใต้ผิวหนัง 185 โรคอื่น ๆ ของหลอดอาหาร กระเพาะและ 32 49 81 ดูโอเดนัม 207 เนื้อเยื่อผิดปกติ 43 31 74 192 โรคอื่น ๆ ของลำไส้และเยื่อบุช่องท้อง 34 24 58 018 โรคจากแบคทีเรียอื่นๆ 33 23 56 041 โรคจากไวรัสอื่น 28 16 44 288 ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกของการบาดเจ็บ 25 11 36 บางชนิดและภาวะแทรกซ้อนของการรักษาทาง ศัลยกรรมและอายุรกรรมที่มิได้มีรหัสระบุไว้ที่อื่น รวม 1,302 1,094 2,396
3 .สาเหตุการเจ็บป่วยผู้ป่วยใน 10 ลำดับโรคแรก

ชื่อกลุ่ม(298โรค) ชาย หญิง รวม 165 คออักเสบเฉียบพลันและต่อมทอนซิลอักเสบ 156 242 398 เฉียบพลัน 169 ปอดบวม 141 215 356 170 หลอดลมอักเสบเฉียบพลันและหลอดลม 89 124 213 เล็กอักเสบเฉียบพลัน 175 โรคหลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพองและปอด 54 11 65 ชนิดอุดกั้นแบบเรื้อรังอื่น 104 เบาหวาน 19 35 54 281 การบาดเจ็บระบุเฉพาะอื่น ๆ 24 24 48 ไม่ระบุเฉพาะและหลายบริเวณในร่างกาย 176 โรคหืด 24 21 45 184 กระเพาะอาหารอักเสบและดูโอเดนัมอักเสบ 19 12 31


267 ปวดท้องและปวดอุ้งเชิงกราน 15 16 31
287 อื่น ๆ และที่มิได้ระบุผลของสาเหตุภายนอก 9 17 26
รวม      550 717    1,267
ข้อมูลจากระบบ HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง

4.สาเหตุการตาย 10 ลำดับโรคแรก

ชื่อกลุ่ม(298โรค) ชาย หญิง รวม 1 สมองฝ่อมีเขตรอบ 1 3 4 2 โรคถุงลมโป่งพอง ไม่ระบุรายละเอียด 0 2 2 3 มะเร็ง ณ จุดเริ่มของหลอดอาหาร 1 0 1 4 กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ไม่ระบุละเอียด 1 0 1 5 การตกจากต้นไม้ที่ไร่นาขณะทำงานเพื่อรายได้ 1 0 1 6 การตั้งใจทำร้ายตำเองด้ายการแขวนคอ รัดคอ 1 0 1 และทำให้หายใจไม่ออกที่บ้าน 7 โคม่าน้ำตาลในเลือดต่ำในคนที่ไม่เป็นเบาหวาน 0 1 1 8 โรคของหลอดเลือดสมอง ไม่ระบุรายละเอียด 1 0 1 9 ต่อไทรอยด์เป็นพิษแบบอื่น 0 1 1 10 เนื้องอกร้ายของหลอดอาหาร ไม่ระบุตำแหน่ง 1 0 1 ข้อมูลจากระบบ HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง
สภาพทางสังคม   การศึกษา ระดับเตรียมความพร้อมอนุบาล จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโหล๊ะเร็ด ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักวา ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 2. ระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง โรงเรียนอนุบาลศรีบรรพตตั้งอยู่หมู่ที่ 1 โรงเรียนบ้านโหล๊ะเร็ด ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 โรงเรียนวัดโพรงงู ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 โรงเรียนบ้านไทรทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 3. ระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง โรงเรียนศรีบรรพต พิทยาคม ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 4. ศูนย์การเรียนตามอัธยาศัยอำเภอศรีบรรพต จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 5. ห้องสมุดประชาชนประจำอำเภอศรีบรรพต จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 6. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 10 แห่ง 7. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 8. ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9





  สาธารณสุข
พื้นที่ตำบลเขาย่ามีสถานบริการด้านสาธารณสุขของภาครัฐ จำนวน 3 แห่ง
ได้แก่ โรงพยาบาลศรีบรรพต ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลบ้านศาลามะปราง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 และมีศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 10 แห่ง ส่วนที่ 3 วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนา

๑. วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า  คือ “ศูนย์กลางสนับสนุนการเรียนรู้นำไปสู่ ตำบลสุขภาพดี”
๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาย่า ยุทธศาสตร์การพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เขาย่า มีจำนวนยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ด้านดังนี้ ด้านที่ ๑. สนับสนุนหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยเน้นเรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่ จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหลักสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. การส่งเสริมโภชนาการปลอดภัย 2. ควบคุมและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
3. การเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคจิตเวช
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 5. การส่งเสริมด้านโภชนาการพัฒนาการเด็ก/อนามัยแม่และเด็ก 6. ตรวจสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกร 7. การควบคุมปัญหาการติดเหล้าและบุหรี่ 8. การรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 9. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 10. ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย


ด้านที่ 2 สนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ได้ดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่ ในการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. การป้องกันปัญหายาเสพติดในเด็กและวัยรุ่น 2. การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 3. การส่งเสริมด้านโภชนาการเด็ก 4. การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ด้านที่ 3 สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ในการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. การให้ความรู้คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ 2. การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คนพิการ และเด็กด้อยโอกาส 3. คัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4. ส่งเสริมสุขภาพปากและฟัน 5. การป้องกันโรคติดต่อในเด็กเล็ก

ด้านที่ 4 สนับสนุนค่าใช้จ่ายใจการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ในกิจกรรม ดังนี้ 1. ค่าตอบแทนและเบี้ยเลี้ยงสำหรับคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม หรือการติดตามประเมินผลตามโครงการ หรือสรุปผลตามกิจกรรมของกองทุน
2. ค่าวัสดุสำหรับบริหารจัดการภายในกองทุน เช่น วัสดุสำนักงาน ค่าถ่ายเอกสาร
ค่าไปรษณีย์ เป็นต้น 3. ค่าอาหารและที่พักสำหรับคณะกรรมการ เมื่อได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม หรือเป็นตัวแทนของกองทุนเพื่อสรุปผลการดำเนินงานของกองทุน 4. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนฯ 5. ค่ารับรองพี่เลี้ยงในการติดตามการดำเนินงาน 6. ค่าบริหารจัดการอื่น ๆ เมื่อมติที่ประชุมของคณะกรรมการกองทุน ฯ ลงมติเห็นชอบ

ด้านที่ 5 สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารสุข กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่
1. การให้การช่วยเหลือด้านสุขภาพแก่ผู้ประสบอุทกภัย
2. การสนับสนุนบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ
3. การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้ประสบภัย และโรคติดต่อ
4. การสนับสนุนช่วยเหลือกรณีเกิดโรคติดต่อ

ด้านที่ 6 สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริหารสาธารณสุขตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. การจัดหาผ้าอ้อมแผ่นรองซับสำหรับคนที่มีภาวะพึ่งพิง 2. การชะลอไตเสื่อม 3. การแก้ปัญหาภาวะโภชนาการเด็ก





ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละประเด็นเพื่อจัดลำดับความสำคัญ

ประเด็น ขนาดของปัญหา ความรุนแรงและผลกระทบ ความตระหนักในการแก้ปัญหา ความยากง่ายในการแก้ รวมคะแนน อาหารและโภชนาการ 3 3 4 4 14 บุหรี่ 4 4 2 4 14 เหล้า 3 3 2 4 12 สารเสพติด 4 4 3 4 15 กิจกรรมทางกาย 3 3 3 3 12 อนามัยแม่และเด็ก 3 3 3 3 12 โรคเรื้อรัง 4 4 4 4 16 เด็ก เยาวชนและครอบครัว 2 2 3 3 10 ผู้สูงอายุ 3 3 3 3 12 สิ่งแวดล้อม 3 3 2 4 12 กลุ่มคนที่มีความเสี่ยง 3 2 2 3 10 แรงงานนอกระบบ 3 3 2 2 10 ภัยพิบัติและโรคระบาด 2 3 2 3 10 บริหารจัดการกองทุน 3 2 3 2 10 อุบัติเหตุ 3 3 2 4 12 คนพิการ 3 3 2 4 12 ป้องกันแก้ปัญหาโควิด-19 1 2 3 2 8

สรุปประเด็นปัญหาสุขภาพตำบลเขาย่า เร่งด่วน (14-16) ปานกลาง (11-13) ระยะยาว (1-10) โรคเรื้อรัง เหล้า กลุ่มคนที่มีความเสี่ยง กิจกรรมทางกาย เด็ก เยาวชน ครอบครัว แรงงานนอกระบบ อาหารและโภชนาการ อนามัยแม่และเด็ก ภัยพิบัติและโรคระบาด สารเสพติด ผู้สูงอายุ บริหารจัดการกองทุน บุหรี่ สิ่งแวดล้อม ป้องกันแก้ปัญหาโควิด-19 อุบัติเหตุ
คนพิการ

stars
ข้อมูลกองทุน

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ได้เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2551 กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่ามีคณะกรรมการกองทุนและที่ปรึกษากองทุน รวม 21 คน ตามคำสั่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ ค.386/2561 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2561 ดังนี้ 1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีบรรพต ที่ปรึกษา 2. สาธารณสุขอำเภอศรีบรรพต ที่ปรึกษา 3. ท้องถิ่นอำเภอศรีบรรพต ที่ปรึกษา 4. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า ประธานกรรมการ 5. นายวิโรจน์ ช่วยปลอด กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) 6. นายสุขุม สุวรรณชนะ กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) 7. นายพงษ์พันธ์ รามเอียด กรรมการ (ส.อบต.) 8. นายดรุณ จิตรเวช กรรมการ (ส.อบต.) 9. หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลศรีบรรพต กรรมการ 10. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะเร็ด กรรมการ 11. นางวาสนา จิตจูฬบรรพต กรรมการ 12. นางกัลญา แสงน่วม กรรมการ 13. นายประดิษฐ์ ด้วงสังข์ กรรมการ 14. นายอำพล แคล้วจันทร์ กรรมการ 15. นายสมศักดิ์ อุทยารักษ์ กรรมการ 16. นางประดับ แก้วแป้น กรรมการ 17. นางไมตรี อินทนะ กรรมการ 18. นายประสิทธิ์ อุทยารักษ์ กรรมการ 19. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า กรรมการและ เลขานุการ 20. นางทิพวรรณ เกื้อมิตร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 21. นางจันทรัสม์ แก้วทอง กรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลเขาย่า ตามคำสั่งองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า ที่ 4/2562 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2562 ดังนี้ 1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า เป็นประธานอนุกรรมการ 2. นายพงษ์พันธ์ รามเอียด เป็นอนุกรรมการ 3. นางกัลญา แสงน่วม เป็นอนุกรรมการ 4. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง เป็นอนุกรรมการ 5. สาธารณสุขอำเภอศรีบรรพต เป็นอนุกรรมการ 6.ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง เป็นอนุกรรมการ 7. นางพรทิพย์ เรืองพุทธ เป็นอนุกรรมการ 8. นางสุจินต์ แก้วขาว เป็นอนุกรรมการ 9. นายไสว หนูคง เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ 10. นายจักรินทร์ จารุศักดาเดช เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุน รวม 6 คน ตามคำสั่งกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า ที่ 3/2564 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ดังนี้ 1. นายไสว หนูคง ประธานอนุกรรมการ 2. นางอมรัตน์ ทุ่มพุ่ม อนุกรรมการ 3. นายบัญชา ทองขุนดำ อนุกรรมการ 4. นายเกษียร คงช่วย อนุกรรมการ 5. นางจันทรัสม์ แก้วทอง อนุกรรมการ/เลขานุการ

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...