กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2564 - กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครตรัง

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครตรัง
ประจำปีงบประมาณ 2564

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

ที่ตั้ง สำนักงานเทศบาลนครตรัง อาคารกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนวิเศษกุล
ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
โทรศัพท์  0-7521-8017 ต่อ 1412
มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 14.77 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต ทิศเหนือ จดตำบลนาตาล่วง อ.เมือง จ.ตรัง ทิศใต้ จดตำบลโคกหล่อ อ.เมือง จ.ตรัง ทิศตะวันออก จดตำบลบ้านโพธิ์และบ้านควน อ.เมือง จ.ตรัง ทิศตะวันตก จดตำบลบางรัก อ.เมือง จ.ตรัง

ข้อมูลประชากรและหลังคาเรือน เขตเทศบาลนครตรัง มีประชากรทั้งสิ้น 59,111 คน แบ่งเป็นชาย 27,434 คน เป็นหญิง 31,677คน (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2563)

ข้อมูลสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ มีโรงพยาบาล จำนวน 4 แห่ง เป็นโรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง มีโรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง คือ
-  โรงพยาบาลของรัฐ  ได้แก่
โรงพยาบาลตรัง ตั้งอยู่ 69 ถ.โคกขัน ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง
-  โรงพยาบาลเอกชน  ได้แก่ โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตั้งอยู่บริเวณ ถ.พัทลุง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง โรงพยาบาลตรังรวมแพทย์ ตั้งอยู่บริเวณ ถ.โคกขัน ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง โรงพยาบาลราชดำเนิน ตั้งอยู่บริเวณ ถ.ไทรงาม ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง หน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย - ศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดเทศบาลนครตรัง จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 ตั้งอยู่บริเวณ ถ.วิเศษกุล ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 ตั้งอยู่บริเวณ ถ.วัดนิโครธ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 ตั้งอยู่บริเวณ ถ.ท่ากลาง ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง -  ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ถ.รื่นรมย์ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง
ข้อมูลชุมชน เทศบาลนครตรัง มีชุมชนในสังกัด จำนวน 66 ชุมชน ดังนี้ 1. ชุมชนหนองปรือ 2. ชุมชนควนขนุน 3. ชุมชนบ้านโพธิ์ 4. ชุมชนนาตาล่วง 5. ชุมชนควนขัน 6. ชุมชนท่ากลาง 7. ชุมชนน้ำผุด 8. ชุมชนสรรพากร 9. ชุมชนกะพังสุรินทร์ 10. ชุมชนสวนจันทน์ – วัดนิโครธ 11. ชุมชนบางรัก 12. ชุมชนท้ายพรุ 13. ชุมชนบ้านหนองยวน 14. ชุมชนคลองน้ำเจ็ด 15. ชุมชนวัดกุฎยาราม 16. ชุมชนย่านการค้า 17. ชุมชนวังตอ 18. ชุมชนต้นสมอ 19. ชุมชนตรอกปลา 20. ชุมชนโป๊ะเซ็งฯ 21. ชุมชนศรีตรัง 22. ชุมชนโคกขัน 23. ชุมชนหลังควนหาญ 24. ชุมชนวิเศษกุล 25. ชุมชนโคกยูง 26. ชุมชนหลังสนามกีฬา 27. ชุมชนท่าจีน 28. ชุมชนบ้างหนองยวน 2 29. ชุมชนบ้านหนองยวน 3 30. ชุมชนบ้านหนองยวน 4
31. ชุมชนบางรัก 2 32. ชุมชนบางรัก 3 33. ชุมชนบางรัก 4 34. ชุมชนท่ากลาง 2 35. ชุมชนนาตาล่วง 2 ๓๖. ชุมชนวัดกุฎยาราม 2 37. ชุมชนวัดกุฎยาราม 3 38. ชุมชนวัดกุฎยาราม 4 39. ชุมชนวัดกุฎยาราม 5 ๔๐. ชุมชนกะพังสุรินทร์ 2 41. ชุมชนบ้านโพธิ์ 2 42. ชุมชนโคกขัน 2 43. ชุมชนโคกขัน 3 44. ชุมชนสวนจันทน์ – วัดนิโครธ 2 45. ชุมชนสวนจันทน์ - วัดนิโครธ 3 46. ชุมชนสวนจันทน์ - วัดนิโครธ 4 47. ชุมชนหลังควนหาญ 2 48. ชุมชนควนขัน 2 49. ชุมชนควนขัน 3 50. ชุมชนสรรพากร 2 51. ชุมชนศรีตรัง 2 52. ชุมชนศรีตรัง 3 53. ชุมชนศรีตรัง 4 54. ชุมชนศรีตรัง 5 55. ชุมชนศรีตรัง 6 56. ชุมชนโป๊ะเซ้ง 2 57. ชุมชนวังตอ 2 58. ชุมชนวิเศษกุล 2 59. ชุมชนวิเศษกุล 3 60. ชุมชนวิเศษกุล 4 61. ชุมชนตรอกปลา 2 62. ชุมชนตรอกปลา 3 63. ชุมชนย่านการค้า 2 64. ชุมชนย่านการค้า 3 65. ชุมชนย่านการค้า 4 66. ชุมชนคลองน้ำเจ็ด 2

stars
ข้อมูลกองทุน

ที่ตั้งสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง
    จัดตั้งเมื่อ : พ.ศ. 2552
สังกัด : สปสช.เขต 12 จ.สงขลา
ที่อยู่ : ชั้น 1 อาคารกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
  103 ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000 โทรศัพท์ : 075218017 ต่อ 1422 อีเมล์ : L6896trang@hotmail.com ประเภท : เทศบาลนคร พื้นที่รับผิดชอบ : 1 ตำบล 66 ชุมชน/หมู่บ้าน

คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง ประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาล โรงพยาบาลตรัง เป็นที่ปรึกษา 2. สาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขอำเภอเมืองตรัง เป็นที่ปรึกษา 3. ท้องถิ่นอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอเมืองตรัง เป็นที่ปรึกษา 4. นายกเทศมนตรี เทศบาลนครตรัง เป็นประธานกรรมการ 5. นายแพทย์เชาวลา สัมพันธรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ 6. นายแทน ศิริพลบุญ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ 7. นางสาวสายใจ ดำปิน สมาชิกสภาองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นที่สภามอบหมาย เป็นกรรมการ 8. นายสรชัช ศิริเสถียร สมาชิกสภาองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นที่สภามอบหมาย เป็นกรรมการ 9. นางสุจิราวรรณ แต่งสวน หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุข เป็นกรรมการ 10. นายแพทย์ไกรสร โตทับเที่ยง หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิ เป็นกรรมการ 11. นางสาวทิตการ ปานเล็ก อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นกรรมการ 12. นางแสงระวี วั่นสิทธิ์ อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นกรรมการ 13. นางอนงค์ บุญคล้าย ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน เป็นกรรมการ 14. นางสุพัตรา แนมน้อย ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน เป็นกรรมการ 15. นางสาวขนิตฐา อายุก ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน เป็นกรรมการ 16. นายธนาวุธ คงเอียด ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน เป็นกรรมการ 17. นายอารมณ์ วุฒิวัย ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน เป็นกรรมการ 18. ปลัดเทศบาล เทศบาลนครตรัง เป็นกรรมการและเลขานุการ 19. ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขนุการ 20. นางฐิตินาฎย์ ทิพย์มณี เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับคลังที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขนุการ


อนุกรรมการกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง ประกอบด้วย 1. นางจันทิพย์ รังสิปราการ ประธานอนุกรรมการ 2. นายมนะ โสสนุย รองประธานอนุกรรมการ 3. นายกนกกณิศ ภุชงค์ปทุมมาส อนุกรรมการ
4. นางสาวสายใจ ดำปิน อนุกรรมการ 5. นายมงคล สองทิศ อนุกรรมการ 6. นางปรีดา สาราลักษณ์ อนุกรรมการ 7. นางวันทนา ฝันเชียร อนุกรรมการ 8. นางสุจิราวรรณ แต่งสวน อนุกรรมการ 9. นางสุมลรัตน์ ตั้งคำ อนุกรรมการ 10. ร.ต.ท.เคล้า รัตโน อนุกรรมการ 11. นายสมชาย ชิดเชื้อ อนุกรรมการ 12. นายวิทยา พรหมมี อนุกรรมการ 13. นางสาวธีรารัตน์ ปฏิเวธ อนุกรรมการและเลขานุการ 14. นางสาววาสินี กี่สุ้น อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ


อนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
1. ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองท้องถิ่นหรือ ประธานอนุกรรมการ ผู้บริหารอื่นที่ได้รับมอบหมาย
2. ผู้แทนกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อนุกรรมการ 2.1 นางอนงค์ บุญคล้าย 2.2 นายอารมณ์ วุฒิวัย 3. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตรังหรือผู้แทน อนุกรรมการ 4. สาธารณสุขอำเภอเมืองตรังหรือผู้แทน อนุกรรมการ 5. หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลตรัง อนุกรรมการ 6. ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข อนุกรรมการ (นางปรีดา สาราลักษณ์) 7. ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ อนุกรรมการ (นางแสงระวี วั่นสิทธิ์) 8. ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อนุกรรมการและเลขานุการ 9. เจ้าหน้าที่อื่นที่ผู้บริหารสูงสุดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ (นางภรพรรณี ตุลยกุล)


แนวทางการสนับสนุนงบประมาณตามวัตถุประวงค์ของกองทุนตำบล
1. ประเภทโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯ ประเภทโครงการที่ขอสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้แก่ ประเภทที่ 1  เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข ประเภทที่ 2  เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงานอื่น ประเภทที่ 3 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน ประเภทที่ 4 เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ ประเภทที่ 5 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่

2.ผู้มีสิทธิจะขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนฯ
หน่วยงานหรือองค์กรที่สามารถเสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครตรัง ตามข้อ 10 ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงาน และบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ ดังนี้ 1.  สถานบริการ หมายถึง สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน และของสภากาชาดไทยหน่วยบริการประกอบโรคศิปละสาขาต่างๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่นที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม 2. หน่วยบริการ หมายถึง สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 3.  หน่วยงานสาธารณสุข หมายถึง หน่วยงานที่มีภารกิจด้านการสาธารณสุขโดยตรง แต่มิได้เป็นสถานบริการ หรือหน่วยบริการ เช่น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 4.  หน่วยงานอื่น หมายถึง หน่วยงานที่มิได้มีภารกิจด้านการสาธารณสุขโดยตรง แต่อาจดำเนินกิจกรรมด้าน ส่งเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรคได้ในขอบเขตหนึ่ง เช่น โรงเรียน สถานบันการศึกษา วัด เป็นต้น 5.  กลุ่มหรือองค์กรประชากร หมายถึง องค์กรชุมชน หรือภาคเอกชน ที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออื่นตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นการรวมตัวกันดำเนินกิจกรรมโดยมี วัตถุประสงค์ไม่แสวงผลกำไร ทั้งนี้ จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้

3.กลุ่มเป้าหมายหลักในการนำงบประมาณไปดำเนินการ ตามเอกสารแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พ.ศ.2557 ประกอบด้วย 1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 4. กลุ่มวัยทำงาน 5. กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง 6. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 7. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 7.1 ด้านพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ 7.2 ด้านการบริโภค 7.3 ด้านอุบัติเหตุ 7.3 ด้านสิ่งแวดล้อม

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...