กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2562 - กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาตาล่วง

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาตาล่วง
ประจำปีงบประมาณ 2562

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน   1. ด้านภายภาพ     1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล   ตำบลนาตาล่วงเป็น 1 ใน 15 ตำบลของอำเภอเมืองตรัง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองตรังไปทางทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 14.8 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 9,230 ไร่   มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้   ทิศเหนือ ติดต่อ  ตำบลนาท่ามเหนือ  อำเภอเมืองตรัง  จังหวัดตรัง   ทิศใต้ ติดต่อ  ตำบลบางรัก      อำเภอเมืองตรัง  จังหวัดตรัง   ทิศตะวันออก ติดต่อ  ตำบลบ้านโพธิ์    อำเภอเมืองตรัง  จังหวัดตรัง   ทิศตะวันตก ติดต่อ  ตำบลหนองตรุด    อำเภอเมืองตรัง  จังหวัดตรัง
  ตำบลนาตาล่วง ตั้งมานานไม่มีใครทราบรายละเอียดที่ชัดเจน เดิมเล่ากันว่านายล่วงได้เข้ามาบุกเบิกพื้นที่ทำนาด้วยความลำบาก ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “นานายล่วง”ต่อมากลายเป็นนาตาล่วง ปัจจุบันตำบลนาตาล่วงประกอบด้วย 6 ชุมชน คือ   - ชุมชนบ้านทุ่งตำเสา (หมู่ที่ 1)  เป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่ม เดิมราษฎรประกอบอาชีพทำนาและในนามีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า “ต้นตำเสา” ขึ้นอยู่มากมายเรียกว่า    ทุ่งตำเสา ใช้เป็นชื่อหมู่บ้านในปัจจุบัน   - ชุมชนบ้านนาขา (หมู่ที่ 2) ในสมัยก่อนบริเวณหมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่มมีต้นข่าขึ้นอยู่มากมาย  ชาวบ้านได้บุกเบิกตั้งบ้านเรือนและเรียกบริเวณนี้ว่า นาขา (นาข่า) ได้ใช้ชื่อ “นาขา” เป็นชื่อหมู่บ้านจนปัจจุบัน   - ชุมชนบ้านนาตาล่วง (หมู่ที่ 3) มีชาย 2 คน ชื่อนายด้วงกับนายล่วง  เดินทางด้วยเท้ามาตามทางรถไฟจากอำเภอกันตังจะนำทองคำไปสร้างพระธาตุเมืองนคร เมื่อมาถึงตำบลนาตาล่วง (ปัจจุบัน) นายด้วงได้ป่วยไข้ลงไม่สามารถเดินทางต่อได้  นายล่วงจึงบุกเบิกพื้นที่ทำนาออกไปทุก ๆ ปี ตั้งรกรากที่นี้ จนเป็นทุ่งนาผืนใหญ่ชาวบ้านตั้งชื่อว่า “นานายล่วง” หรือ “นาตาล่วง” มาจนบัดนี้ ต่อมาเมื่อทางอำเภอตั้งชื่อตำบลจึงใช้ชื่อว่า “นาตาล่วง” มาจนปัจจุบันนี้ - ชุมชนบ้านป่าหมากและอู่ตะเภา (หมู่ที่ 4) บ้านป่าหมากตั้งอยู่ริมแม่น้ำตรัง ชาวบ้านประกอบอาชีพทำนา คนสมัยก่อนนิยมกินหมากจึงปลูกต้นหมากเกือบทุกบ้าน จึงเรียกชื่อว่า        “บ้านป่าหมาก” - ชุมชนบ้านทุ่งควน (หมู่ที่ 5) นานมาแล้วมีตายาย 2 คน  ตาชื่อทุ่ง ยายชื่อควน    ได้มาปักหลักตั้งบ้านเรือนทำนา  ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “ทุ่งควน” แต่บางคนสันนิฐานว่านำมาจากสภาพแวดล้อมซึ่งมีทั้งทุ่ง (นา) และควน มากกว่า





            - ชุมชนบ้านในแขวง (หมู่ที่ 6) เดิมทีเดียวมีกลุ่มบ้านอยู่ 3 บ้าน คือ บ้านหนอง    หมื่นน่ะ  บ้านแบกพอกและบ้านห้วยย่านบ้า และต่อมาแขวงการทางตรังได้มาตั้งสำนักงานอยู่ในเขตหมู่บ้าน จึงใช้ชื่อว่า “ในแขวง” เป็นชื่อของหมู่บ้าน       2. ด้านการเมือง/การปกครอง   2.1 เขตการปกครอง     แบ่งเป็น 6 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งตำเสา, หมู่ที่ 2 บ้านนาขา, หมู่ที่ 3 บ้านนาตาล่วง, หมู่ที่ 4 บ้านป่าหมาก, หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งควน และหมู่ที่ 6 บ้านในแขวง   2.2 การเลือกตั้ง     แบ่งเขตการเลือกตั้งออกเป็น 2 เขต คือ เขต 1 ประกอบด้วยหมู่ที่ 2, 5 และ 6  เขต 2 ประกอบด้วย หมู่ที่ 1, 3 และ 4         3. ข้อมูลประชากร   จำนวนประชากรในตำบลนาตาล่วง  ข้อมูล  ณ  เดือน พฤษภาคม  2561        แยกเป็นรายชุมชน ประกอบด้วย

หมู่ที่ ชุมชน จำนวนประชากร ชาย หญิง รวม 1 ทุ่งตำเสา 597 644 1,241 2 นาขา 495 528 1,023 3 นาตาล่วง 346 352 698 4 ป่าหมาก 576 540 1,116 5 ทุ่งควน 898 1038 1,936 6 ในแขวง 593 670 1,263

        4. สภาพทางสังคม   4.1 การศึกษา           ตำบลนาตาล่วง มีสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน
              2 แห่ง  และสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 1 แห่ง  และสังกัด               อาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง ดังนี้     1)  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน 2 แห่ง
        - โรงเรียนวัดไทรงาม    ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
  - โรงเรียนวัดไพรสณฑ์  ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
    2)  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน   - โรงเรียนทิพย์รัตน์วิทยา  ตั้งอยู่หมู่ที่ 6       3)  โรงเรียนสังกัดอาชีวศึกษา  จำนวน 1 แห่ง   - วิทยาลัยสารพัดช่างตรัง  ตั้งอยู่หมู่ที่ 1





            4.2  การสาธารณสุข             มีสถานบริการและหน่วยงานบริหารงานสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง
      คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาตาล่วง  ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลนาตาล่วง       อำเภอเมืองตรัง  จังหวัดตรัง   4.3  ศูนย์บริการประชาชน 1)  ศูนย์คนพิการ       - มีคนพิการที่อยู่ในความดูแล  จำนวน  161  คน 2) ศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ     - ตั้งอยู่  ณ  วิทยาลัยสารพัดช่าง  มีผู้สูงอายุที่อยู่ในความดูแล
    จำนวน 1,069 คน         ๕. ระบบเศรษฐกิจ       5.1 การเกษตร       อาชีพหลักประประชาชนคือ การทำสวนยางพาราและสวนปาล์ม
                และรองลงมา คือ การทำสวนผลไม้       5.2 การปศุสัตว์
    ส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงแบบผสมผสานกับการทำสวนยางพารา การทำสวน                 ปาล์ม จึงไม่สามารถกำหนดทิศทางด้านการตลาดได้ ตลอดจนการกำหนดแหล่ง                 ผลิตชนิดปศุสัตว์ได้ชัดเจนเท่าที่ควร         6. การท่องเที่ยว   - แหล่งท่องเที่ยวชุมชน     1)  เขาสามบาตร  ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านป่าหมาก ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมือง         จังหวัดตรัง ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่เศษ ถือเป็น 1 ใน 20
                  โบราณสถานของจังหวัดตรัง เนื่องจากปรากฏอยู่ในหลักฐานทางโบราณคดี         เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์อยู่ในความดูแลของเทศบาลตำบลนาตาล่วง         ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 5 กิโลเมตร     2)  เขานาขา  ตั้งอยู่หมู่ที่ 2  บ้านนาขา ตำบลนาตาล่วง  อำเภอเมือง   จังหวัดตรัง  อยู่ริมถนนสายทางหลวง หมายเลข 403 นักท่องเที่ยว                 สามารถขึ้นไปชื่นชมทัศนียภาพจังหวัดตรังได้ทั้งจังหวัด     3) แม่น้ำตรัง  ในอดีตสะพานข้ามแม่น้ำตรังเชื่อมต่อระหว่างหมู่ที่ 4 และ
                  หมู่ที่ 2 ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง  มีต้นกำเนิดจากทิวเขา                 นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลผ่าน
              4)  สนามปั่นอันดามัน   เทศบาลตำบลนาตาล่วง ร่วมกับแขวงการทางหลวงตรัง  ได้จัดทำ   บันทึกข้อตกลงร่วมกัน  ในการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสวนศรีตรัง (สนามปั่น
                อันดามัน) โดยมีพื้นที่ประมาณ  11 ไร่  ตั้งอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าตรัง  หมู่ที่ 6





                ถนนเพชรเกษม  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่   ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ แก้ไขปัญหาวัยรุ่นมั่วสุมยาเสพติด และเป็นสถานที่   พักผ่อนหย่อนใจของชาวตำบลนาตาล่วง     - แหล่งประวัติศาสตร์ชุมชน     1) ทวดตาด้วง หรือเขาตาด้วง, เขาตาล่วง  ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลนาตาล่วง   อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ชาวบ้านได้สร้างอนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ
      ผู้บุกเบิกพื้นที่เพื่อตั้งรกรากที่นี่จนถึงปัจจุบัน     2) โรงพระหนองบัว หรือโรงพระท้ายปากก๋ง  ตั้งอยู่หมูที่ 1 (บ้านทุ่งตำเสา)   ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง โรงพระหนองบัวหรือเรียกว่า   “โรงพระทายปากก๋ง” เป็น พระเจ้าที่ของหมู่บ้านและของตำบลนาตาล่วง   ตั้งมานานกว่า 100 ปีแล้ว เป็นโรงพระ 4 มุมเมือง มีการตั้งโรงพระแห่งนี้   เป็นแห่งแรกในเขตพื้นที่อำเภอเมืองตรัง     3) โรงพระหนองเถีย หรือโรงพระ 109   เป็นโรงพระคู่บ้านคู่เมืองของตำบลนาตาล่วงมาเป็นเวลานาน         ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ.2485
          โดยนายเหลือก ตั้งคำและนายดำ วู้นา ได้เชิญองค์ศักดิ์สิทธิ์มาจาก         โรงพระ 109 อำเภอห้วยยอด มาประทับที่บริเวณหนองเถีย ปัจจุบันตั้งอยู่     หน้าเทศบาลตำบลนาตาล่วงหรือบริเวณหนองเถีย ชาวบ้านจึงเรียกว่า
    “โรงพระหนองเถีย” ติดปากมาจนถึงทุกวันนี้
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม       7.1 การนับถือศาสนา   ส่วนใหญ่ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ คนไทยเชื้อสายจีน       7.2 ประเพณีและงานประจำปี   งานประเพณีลอยกระทง,  งานประเพณีลากพระ, งานประเพณีวันสงกรานต์
                งานประเพณีหล่อเทียนพรรษา เป็นต้น       7.3 สินค้าพื้นเมือง อาหารและของที่ระลึก     ข้าวหลาม, ขนมเค้กสายไหม, ขนมจีบ, ขนมเปี๊ยะ, ขนมจาก, ข้าวซอย,   ข้าวหมูแดง และก๋วยเตี๋ยวเป็ด

stars
ข้อมูลกองทุน

 

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...