กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2564 - กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน
ประจำปีงบประมาณ 2564

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เทศบาลตำบลทุ่งลาน
  -จัดตั้งในปี พ.ศ. 2557
  -มีที่ตั้งอยู่ในเทศบาลตำบลทุ่งลาน เลขที่ 99 หมู่ที่ 9. ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ 074-242452-3   -พื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 1-9 ตำบลทุ่งลาน   -รายได้ของกองทุน จะมาจาก เงินจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เงินสมทบจากเทศบาลตำบลทุ่งลาน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และเงินบริจาค   -การดำเนินงานและการยริหารงานขอกองทุนฯ จะเป็นในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ

stars
ข้อมูลกองทุน

การขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เทศบาลตำบลทุ่งลาน จะต้องเป็นไปตามประกาศ ข้อ 10 กล่าว คือ 1. ต้องมีหน่วยงาน/กลุ่ม/องค์กร รับทุน 2. เขียนโครงการมาขอรับทุน 3. ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนฯ

การพิจารณาโครงการของคณะกรรมการต้องดำเนินการและมีหลักเกณฑ์อย่างไร 1. การประชุมต้องชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการฯ ถือเป็นคณะกรรมการทางปกครอง การออกเสียงหรือดำเนินการใดๆต้องเป็นการกระทำที่ชอบเท่านั้น องค์ประชุมจะต้องมีเกินกึ่งหนึ่ง ตามประกาศ ฉ.61 นั้น กรณีประธานกองทุนไม่มาประชุม และไม่มอบหมายรองนายกประชุมแทน ให้ที่ประชุมร่วมกันเลือกกรรมการท่านใดท่านหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานกองทุนฯในการประชุมครั้งนั้น 2. คณะกรรมการต้องร่วมกันพิจารณาโครงการ และกิจกรรม ให้เป็นไปตามแนวทางดังต่อไปนี้   2.1 วัตถุประสงค์โครงการ ในโครงการจะต้องเขียนวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ หรือแก้ปัญหาสุขภาพ 1-2 ข้อเท่านั้น โดยมีคำสำคัญ คือ เพื่อแก้ปัญหา หรือเพื่อเพิ่ม หรือเพื่อลด (มีหลายกรณี ที่เขียนวัตถุประสงค์มากมายหลายข้อจนไม่จำเป็น) คณะกรรมการต้องปรับวัตถุประสงค์ให้มีคำสัญเหล่านี้ และอย่ามากข้อนัก วัตถุประสงค์ของโครงการ ที่ไม่ควรปรากฎ คือ การเพิ่มทักษะกีฬา (ให้ไปของบกีฬาและสันทนาการ ) การเขียนประเด็นการเพิ่มรายได้ หรือ การสืบสานประเพณี ศาสนา หรือ เกี่ยวกับวันสำคัญมากนัก   2.2 เงื่อนเวลา ผู้รับทุนมักจะระบุห้วงเวลาทำโครงการ ให้ระบุเท่าที่เหมาะสมต่อการทำกิจกรรม ไม่จำเป็นจะต้องระบุตั้งแต่ 1 ต.ค.-30 ก.ย.
  กองทุนสุขภาพตำบล บริหารงานโครงการตามปีงบประมาณ แต่การบริหารโครงการที่ขอรับทุนไม่จำเป็นต้องขึ้นกับปีงบประมาณ หากคณะกรรมการบริหารกองทุน มีมติสนับสนุนโครงการให้ผู้รับทุน ในเดือน ก.ย. ได้ เพราะเมื่อมีการสนับสนุนโครงการแล้ว จะมีการโอนเงินทั้งหมดแก่บัญชีผู้รับทุน เป็นการตัดขาดบัญชี   หรือแม้แต่กรณีของ ต้นปีงบประมาณมีเงินสะสมในกองทุน คณะกรรมการกองทุนสามารถพิจารณาอนุมัติโครงการได้เลย ไม่ต้องรอให้มีการจัดสรรเงินจาก สปสช.หรือการสมทบของ อปท.   2.3 การไม่สนับสนุนงบประมาณที่ไม่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณปกติ
  2.4 การพิจารณาความฟุ่มเฟือย ไม่เหมาะสม ไม่เป็นภาระกับกองทุน มีอะไรบ้าง   1) การแจกของถ้วนหน้า หรือให้รางวัลเป็นเงิน ไม่มีหลักเกณฑ์อะไรเลย
  2) การศึกษาดูงานเพียงอย่างเดียว ไม่เห็นกระบวนการทำงานต่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพหรือป้องกันโรค แต่หากโครงการมีลักษณะที่เห็นกระบวนการทำงานต่อภายหลังดูงาน แบบนี้ทำได้ มีกรณีศึกษาสำคัญ ชมรมผู้สูงอายุขอรับงบดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน กิจกรรมสำคัญของโครงการ คือ การไปดูงานเพียงอย่างเดียว งบประมาณ 70,000 บาท (ลักษณะแบบนี้ไม่เหมาะสม) แต่อีกกรณี โรงเรียนดำเนินโครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะระดับครัวเรือนเพื่อลดโรค มีกิจกรรมสำคัญ คือ การแลกเปลี่ยนธนาคารขยะต้นแบบ (ดูงาน) กลวิธี คือ การนำเอาคณะทำงานหรือแกนนำ ไปดูงานโรงเรียนต้นแบบอีกอำเภอหนึ่งใกล้ๆ กลับมามีกิจกรรมจัดตั้งธนาคารขยะ การฝากขยะ การให้ความรู้วิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง การคืนข้อมูล เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวข้างต้นมิต้องห้ามสนับสนุน   3) การฝึกอบรมเพียงอย่างเดียว กองทุนมิได้มีวัตถุประสงค์เพียงพัฒนาความรู้เพียงอย่างเดียว การฝึกอบรมไม่ควรมีเพียงอย่างเดียว   4) การจัดซื้อครุภัณฑ์หรือ ของเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถขอรับจากกองทุนได้ เงินกองทุนมีหน้าที่ 2 เรื่อง คือ บริการสาธารณสุข และกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริม ป้องกันโรค

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...