กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2564 - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหรัง

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหรัง
ประจำปีงบประมาณ 2564

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

ข้อมูลกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง (รหัสกองทุน L5205) อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ให้ดำเนินการได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 ตามหนังสือแจ้งของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ที่ สปสช.33/ว 0250 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2551 กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ได้จัดทำข้อตกลงการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ตามข้อตกลงเลขที่ 33/011/2552 ให้เริ่มดำเนินงานตามข้อตกลงได้ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2552 ปัจจุบันกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง มีคณะกรรมการ ที่ปรึกษากองทุน รวม 20 คน ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ที่ 5/2562 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ดังนี้ 1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนาหม่อม ที่ปรึกษา 2. สาธารณสุขอำเภอนาหม่อม ที่ปรึกษา 3. ท้องถิ่นอำเภอนาหม่อม ที่ปรึกษา 4. นายบำรุง พรหมเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ประธานกรรมการ 5. นายมนัส ขวัญมณี ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ 6. นางละมัย กูลเกื้อ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ 7. นายประพันธ์ แซ่เตี้ยว สมาชิกสภาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ 8. นายนิพล จินดารัตน์ สมาชิกสภาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ 9. นายธีระศักดิ์ กั้งเหล้ง ผอ.รพ.สต.บ้านแม่เปียะ กรรมการ 10. นางแนบ นวลสุวรรณ อาสาสมัครสาธารณสุข กรรมการ 11. นางอำไพ กองสวัสดิ์ อาสาสมัครสาธารณสุข กรรมการ 12. นายจำลอง ขุนเพ็ชร กำนันตำบลคลองหรัง กรรมการ 13. นายสงบ สมศรี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 กรรมการ 14. นายสุธา สมนวล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 กรรมการ 15. นายสงวน อินทชัย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 กรรมการ 16. นายเขียน บุญผล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 กรรมการ 17. นายประวิทย์ ศิริสมบัติ ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน กรรมการ 18. นายธีรศักดิ์ แสงทอง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง กรรมการ/เลขานุการ 19. นางสาวอรทัย อวะภาค ผู้อำนวยการกองคลัง กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ 20. นางคณิศร แสงสุวรรณ หัวหน้าสำนักปลัด กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ตำบลคลองหรัง ตั้งอยู่ในอำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา เมื่อประมาณ 200 ปี โดยชื่อตำบลคลองหรังมาจากในสมัยก่อนนั้น บ้านคลองหรังจะมีคลองเป็นจำนวนมาก มีคนกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาขุดหาแร่ดีบุกและได้ทำ เหมืองแร่ขึ้นในบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า “บ้านลุ่ม” (เหมืองหมู่บ้านลุ่ม) ภูมิประเทศเป็นลำคลองธรรมชาติไหลผ่านพื้นที่ดังกล่าว เมื่อเริ่มมีการขุดครั้งแรกได้ขุดพบแร่ดีบุกเป็นจำนวนมาก และเมื่อขุดลงไปสภาพดินจะเป็นลูกรัง ต่อมาชาวบ้านได้เรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านคลองหรัง” นับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ คนกลุ่มแรกที่เข้ามาก่อตั้ง คือ พ่อคงเพชร ขุนเพชร นายพรมแก้ว ทองศิริ นายนวลแก้ว พรมสุวรรณ ได้อพยพมาจากบ้านปลักเอาะ อาชีพครั้งแรกของชาวบ้าน คือ ทำไร่ ปลูกผักสวนครัว เช่น อ้อย เดือย ขมิ้น พริกขี้หนู เริ่มมีถนนลูกรังเมื่อปี พ.ศ. 2518 เป็นถนนลาดยาง เริ่มมีไฟฟ้าเมื่อ พ.ศ. 2508 ตำบลคลองหรังมีด้วยกัน 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านคลองหรัง, หมู่ที่ 2 บ้านแม่เปียะ, หมู่ที่ 3 บ้านใหม่, หมู่ที่ 4 บ้านแซะ, หมู่ที่ 5 บ้านต้นปริง และหมู่ที่ 6 บ้านปลักทิง

  1. ด้านกายภาพ 1.1 ที่ตั้ง ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ตั้งอยู่ที่ 99 หมู่ที่ 2 บ้านแม่เปียะ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอนาหม่อมประมาณ 2 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และอยู่ ห่างจากที่ทำการศาลากลางจังหวัดไปทางทิศใต้ ประมาณ 48 กิโลเมตร 1.1.1 เนื้อที่และอาณาเขตติดต่อ ตำบลคลองหรังมีเนื้อที่ 24.21 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 35,131.25 ไร่ ซึ่งมีเนื้อที่ เป็น 1 ใน 4 ของพื้นที่อำเภอนาหม่อมทั้งหมด โดยมีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม และตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลคลองเปียะและตำบลนาหว้า อำเภอจะนะทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา มีลำคลองธรรมชาติไหลผ่านพื้นที่ทุกหมู่บ้าน พื้นที่ ราบลุ่มจะอยู่บริเวณทิศเหนือของตำบลแต่มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่เนื่องจากขาดน้ำและสภาพดินเป็นดินปนทราย พื้นที่ราบสูงและภูเขาจะเป็นป่าธรรมชาติ และสวนยางพาราเป็นส่วนใหญ่ 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ ตำบลคลองหรังตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านประจำทุกปีคือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ 1.3.1 ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเป็นช่วงที่ว่างของลมมรสุมจะเริ่มตั้งแต่หลังจากหมดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว อากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน แต่อากาศจะไม่ร้อนมากนักเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ทะเล 1.3.2 ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม จังหวัดสงขลาจะมีฝนตกทั้งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนตกชุกมากกว่า เนื่องจากพัดผ่านอ่าวไทย ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะถูกเทือกเขาบรรทัดปิดกั้นทำให้ฝนตกน้อยลง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.6 องศาเซลเซียส เดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดส่วนมากอยู่ในเดือนเมษายน 1.4 ลักษณะของดินและการใช้ประโยชน์ ลักษณะของดินตำบลคลองหรังมีทั้งดินร่วนและดินเหนียว มีพื้นที่เป็นป่าไม้และภูเขา ประชาชนในตำบลประกอบอาชีพทำสวนยางพารา พื้นที่ราบเหมาะแก่การทำเกษตรและเพาะปลูก
    1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ 1.5.1 แหล่งน้ำธรรมชาติ - คลอง คลองหรัง หมู่ที่ 1 - คลอง คลองหรัง หมู่ที่ 2 - คลอง คลองหรัง หมู่ที่ 3 - คลอง คลองหวะ หมู่ที่ 2 - คลอง คลองหวะ หมู่ที่ 5 - คลอง คลองหวะ หมู่ที่ 6 - น้ำตกโตนลาด หมู่ที่ 1 1.5.2 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย 1 แห่ง ม.5 - สระ 2 แห่ง ม.1 และ ม.2 - บ่อน้ำตื้นสาธารณะ 2 บ่อ ม. 2 - บ่อโยก 1 บ่อ ม.1 - บ่อบาดาลสาธารณะ 1 บ่อ ม.1 - ประปาหมู่บ้าน 1 หมู่บ้าน (ม. 5) - ประปาภูมิภาค 5 หมู่บ้าน (ม.1,2,3,4และ 6) 1.6 ลักษณะของป่าไม้ มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีป่าสงวนแห่งชาติในหมู่ที่ 1,2,4,5 และ 6 ได้แก่ ป่าเขาเหรง ป่าเขาวันดี และป่าเขาบ่อท่อ

  2. ด้านการเมือง/การปกครอง 2.1 เขตการปกครอง ตำบลคลองหรัง แบ่งเขตการปกครอง เป็น 6 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านคลองหรัง นายสงบ สมศรี หมู่ที่ 2 บ้านแม่เปียะ นายสุธา สมนวล หมู่ที่ 3 บ้านใหม่ นายจำลอง ขุนเพ็ชร (กำนัน ต.คลองหรัง) หมู่ที่ 4 บ้านแซะ นายสงวน อินทชัย หมู่ที่ 5 บ้านต้นปริง นายเขียน บุญผล หมู่ที่ 6 บ้านปลักทิง นายถาวร ยกถาวร 2.2 การเลือกตั้ง การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน
    2.2.1 สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่นิติบัญญัติ และควบคุมฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในหมู่บ้าน จำนวน ๑๒ คน (หมู่บ้านละ 2 คน) อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี สภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีประธานสภา 1 คน รองประธานสภา 1 คน ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมติของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง
    1 นายสมพร พรหมสุวรรณ ประธานสภาฯ (สมาชิกสภาฯ ม.1) 2 นายประพันธ์ แซ่เตี้ยว รองประธานสภาฯ (สมาชิกสภาฯ ม.3) 3 นางอุบล สมทอง สมาชิกสภาฯ ม.1 4 นายคณาธร คงทอง สมาชิกสภาฯ ม. 2
    5 นายประภพ ศิริชัย สมาชิกสภาฯ ม.2 6 นางสาวรุ่งทิวาห์ ชนะสิทธิ สมาชิกสภาฯ ม.3 7 นายสมชาย พวงมณี สมาชิกสภาฯ ม.4 8 นายทมยันต์ หวังปัญญา สมาชิกสภาฯ ม.4 9 นายณัฎฐพล ยกถาวร สมาชิกสภาฯ ม.5 10 นายนิพล จินดารัตน์ สมาชิกสภาฯ ม.5 11 นายสนิท สินแก้ว สมาชิกสภาฯ ม.6 โดยมี นายธีรศักดิ์ แสงทอง ตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ดำรงตำแหน่ง เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง 2.2.2.คณะผู้บริหาร ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมาย ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน ซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้แต่งตั้ง มีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายบำรุง พรหมเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง 2. นายอนนท์ แก้วสวัสดิ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง 3. นายภูวนาถ รัญเพ็ชร รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง 2.2.3. คณะที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง มีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นายเจริญ อินนุกูล 2. นายมนัส ขวัญมณี 3. ร.ต.อ.สมคิด ขุนเพชร 4. นายอุทร แก้วมี 5. นายเผียน แก้วคงสุข

  3. ด้านประชากร
    3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร หมู่ที่ 1 บ้านคลองหรัง ประชากรชาย 420 คน ประชากรหญิง 471 คน รวม 891 คน จำนวนครัวเรือน 256 ครัวเรือน หมู่ที่ 2 บ้านแม่เปียะ ประชากรชาย 520 คน ประชากรหญิง 508 คน รวม 1,028 คน จำนวนครัวเรือน 319 ครัวเรือน หมู่ที่ 3 บ้านใหม่ ประชากรชาย 335 คน ประชากรหญิง 375 คน รวม 710 คน จำนวนครัวเรือน 261 ครัวเรือน หมู่ที่ 4 บ้านแซะ ประชากรชาย 200 คน ประชากรหญิง 245 คน รวม 445 คน จำนวนครัวเรือน 122 ครัวเรือน หมู่ที่ 5 บ้านต้นปริง ประชากรชาย 472 คน ประชากรหญิง 529 คน รวม 1,001 คน จำนวครัวเรือน 293 ครัวเรือน หมู่ที่ 6 บ้านปลักทิง ประชากรชาย 178 คน ประชากรหญิง 207 คน รวม 385 คน จำนวนครัวเรือน 129 ครัวเรือน ที่มา : ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนท้องถิ่นอำเภอนาหม่อม ณ เดือน เมษายน 2563

  4. สภาพทางสังคม 4.1 การศึกษาตำบลคลองหรัง โรงเรียนประถมศึกษา ๒ แห่งและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
    โรงเรียนบ้านต้นปริง ประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 คน ประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 คน ประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 คน ประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 คน ประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 คน ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 คน อนุบาล 2 จำนวน 4 คน อนุบาล 3 จำนวน 4 คน รวม 64 คน ครูและบุคลากรทั้งหมด 10 คน แยกเป็น ชาย 2 คน หญิง 8 คน ข้อมูล ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง ก่อนขึ้นเตรียมอนุบาลอายุ 2 - 2.5 ปี รวม 9 คน เตรียมอนุบาล รวม 14 คน อนุบาล 1 รวม 52 คน อนุบาล 2 รวม 30 คน อนุบาล 3 รวม 19 คน รวม 125 คน ครูทั้งหมด 11 คน แยกเป็น ชาย 3 คน หญิง 8 คน ข้าราชการ 3 คน ภารกิจ 3 คน จ้างเหมา 5 คน ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 โรงเรียนวัดแม่เปียะ ประถมศึกษาปีที่ 1 รวม 92 คน ประถมศึกษาปีที่ 2 รวม 78 คน ประถมศึกษาปีที่ 3 รวม 64 คน ประถมศึกษาปีที่ 4 รวม 48 คน ประถมศึกษาปีที่ 5 รวม 60 คน ประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 73 คน อนุบาล 1 รวม 19 คน อนุบาล 2 รวม 29 คน อนุบาล 3 รวม 24 คน รวม 487 คน ครูและบุคลากรทั้งหมด 27 คน แยกเป็น ชาย 8 คน หญิง 19 คน ข้อมูล ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2562 4.2 สาธารณสุข ตำบลคลองหรังมีหน่วยปริการปฐมภูมิที่ให้บริการด้านสาธารณสุข ทั้งการรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การควบคุมโรค การฟื้นฟูสภาพ และการรับ – ส่งต่อผู้ป่วย โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่เปียะ เป็นหน่วยปฐมภูมิด้านสาธารณสุขเบื้องต้น และมีโรงพยาบาลชุมชนจำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลนาหม่อม 4.2.1 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รวม 85 คน ม. 1 บ้านคลองหรัง 15 คน ม. 2 บ้านแม่เปียะ 16 คน ม. 3 บ้านใหม่ 16 คน ม. 4 บ้านแซะ 9 คน ม. 5 บ้านปลักทิง 18 คน ม. 6 บ้านต้นปริง 11 คน 4.2.2 ข้อมูลคนพิการตำบลคลองหรัง มีจำนวนผู้พิการรวมทั้งสิ้น 123 คน แยกประเภท คนพิการดังนี้ - พิการทางการเคลื่อนไหวทางกาย จำนวน 62 คน - พิการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ จำนวน 13 คน - พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม จำนวน 12 คน - พิการทางการมองเห็นจากสายตา จำนวน 7 คน - พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย จำนวน 29 คน 4.2.3 จำนวนผู้สูงอายุตำบลคลองหรัง (ข้อมูล ณ 30 พฤศจิกายน 2559) จำนวน 665 คน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านคลองหรัง 131 คน หมู่ที่ 2 บ้านแม่เปียะ 159 คน หมู่ที่ 3 บ้านใหม่ 104 คน หมู่ที่ 4 บ้านแซะ 63 คน หมู่ที่ 5 บ้านต้นปริง 149 คน หมู่ที่ 6 บ้านปลักทิง 59 คน 4.3 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรังอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสถานีตำรวจภูธรนาหม่อม
    4.4 ยาเสพติด ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลคลองหรัง ได้ดำเนินการโดยการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และอบรมอาชีพให้กับผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่โดยร่วมดำเนินการกับอำเภอนาหม่อม

  5. ระบบบริการพื้นฐาน 5.1 การคมนาคมขนส่ง มีทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๓ ผ่านตำบลคลองหรัง ประชาชนใช้เป็นเส้นทางสัญจรและติดต่อกับชุมชนภายนอก ถนนที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง - หมู่ที่ 1 บ้านคลองหรัง ถนนดินลูกรัง จำนวน 10 สาย ถนนลาดยาง จำนวน 1 สาย ถนนคอนกรีต จำนวน 6 สาย หินคลุก จำนวน 0 สาย - หมู่ที่ 2 บ้านแม่เปียะ ถนนดินลูกรัง จำนวน 12 สาย ถนนลาดยาง จำนวน 0 สาย ถนนคอนกรีต จำนวน 8 สาย หินคลุก จำนวน 0 สาย - หมู่ที่ 3 บ้านใหม่ ถนนดินลูกรัง จำนวน 5 สาย ถนนลาดยาง จำนวน 0 สาย ถนนคอนกรีต จำนวน 5 สาย หินคลุก จำนวน 0 สาย - หมู่ที่ 4 บ้านแซะ ถนนดินลูกรัง จำนวน 11 สาย ถนนลาดยาง จำนวน 1 สาย ถนนคอนกรีต จำนวน 5 สาย หินคลุก จำนวน 0 สาย - หมู่ที่ 5 บ้านต้นปริง ถนนดินลูกรัง จำนวน 8 สาย ถนนลาดยาง จำนวน 2 สาย ถนนคอนกรีต จำนวน 4 สาย หินคลุก จำนวน 0 สาย - หมู่ที่ 6 บ้านปลักทิง ถนนดินลูกรัง จำนวน 3 สาย ถนนลาดยาง จำนวน 0 สาย ถนนคอนกรีต จำนวน 3 สาย หินคลุก จำนวน 0 สาย 5.2 การไฟฟ้า การให้บริการไฟฟ้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ได้รับบริการกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอนาหม่อม ซึ่งมีระบบไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน จำนวน 1,380 ครัวเรือน 5.3 การประปา ประปาหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ประปาภูมิภาค หมู่ที่ 1, 2, 3, 4 และ 6
    5.4 การโทรคมนาคม ปัจจุบันประชาชนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่
    5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง วัสดุ และครุภัณฑ์ ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์นาหม่อม ตั้งอยู่ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา ห่างจากตำบลคลองหรังประมาณ 2 กิโลเมตร

  6. ระบบเศรษฐกิจ 6.1 การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ ทั้งนี้การประกอบอาชีพยังต้องพึ่งพาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากอาชีพโดยส่วนใหญ่ของตำบลคลองหรังเป็นอาชีพที่ยึดเอาทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบเป็นหลัก อาชีพอื่น ๆ ได้แก่ รับจ้าง ค้าขาย รับราชการ/ลูกจ้างของรัฐ 6.2 การประมง พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง มีแหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำสาธารณะหลายแห่งแต่ประชาชนนิยมจับสัตว์น้ำเพียงเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ 6.3 การปศุสัตว์ เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือขายเพื่อเป็นรายได้เสริม สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ การเลี้ยงไก่ เลี้ยงสุกร เลี้ยงวัวโดยวิธีล่ามเชือกให้กินหญ้าตามบริเวณบ้าน หรือหัวไร่ปลายนา เลี้ยงเพื่อขาย ไม่ได้ใช้แรงงาน โดยขายให้แก่พ่อค้าคนกลางที่เข้ามาซื้อตามหมู่บ้าน เป็นต้น 6.4 การบริการ หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง - ร้านค้าขนาดเล็ก 26 แห่ง

  7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) 7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา จำนวนประชาชนทั้งหมด 4,441 คน
    7.2 ข้อมูลการเกษตร 11,660 ไร่ 7.2.1 พื้นที่ปลูกไม้ผล 276 ไร่ (ไม้ผลที่ปลูก ได้แก่ เงาะ, มังคุด, มะพร้าว, มะละกอ, ทุเรียน และ ลองกองฯลฯ) 7.2.2 พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น 11,146 ไร่ 7.2.3 พื้นที่ปลูกพืชไร่ 123 ไร่ (พืชไร่ที่ปลูกได้แก่ ถั่วลิสง, ถั่วปันหยี, มันสำปะหลัง, ข้าวโพดหวาน, มะเขือยาว, มะเขือกลม ฯลฯ) 7.2.4 พื้นที่ปลูกผัก 115 ไร่ 7.2.5 การเลี้ยงสัตว์ - โคเนื้อ 318 ตัว - สุกร 143 ตัว - ไก่ทุกประเภท 9,749 ตัว - เป็ด 14 ตัว 7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร 7.3.1 แหล่งน้ำธรรมชาติ คลอง จำนวน 6 แห่ง (ม.1,2,3 คลองคลองหรัง)(ม.2,5,6 คลองคลองหวะ) 7.3.2 แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น ฝาย จำนวน 1 แห่ง (ม.5 ฝานกั้นน้ำบ้านต้นปริง) สระ จำนวน 2 แห่ง (ม.1 สระน้ำควนโตน,ม.2 สระน้ำป่าแก) อ่างเก็บน้ำบ้านปลักทิง จำนวน 1 แห่ง (ม.6 อ่างเก็บน้ำบ้านปลักทิง) 7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค) 7.4.1 แหล่งน้ำธรรมชาติ - คลอง คลองหรัง หมู่ที่ 1 - คลอง คลองหรัง หมู่ที่ 2 - คลอง คลองหรัง หมู่ที่ 3 - คลอง คลองหวะ หมู่ที่ 2 - คลอง คลองหวะ หมู่ที่ 5 - คลอง คลองหวะ หมู่ที่ 6 - น้ำตกโตนลาด หมู่ที่ 1 7.4.2 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย 1 แห่ง ม.5 - สระ 2 แห่ง ม.1 และ ม.2 - บ่อน้ำตื้นสาธารณะ 2 บ่อ ม.2 - บ่อโยก 1 บ่อ ม.1 - บ่อบาดาลสาธารณะ 1 บ่อ ม.1 - ประปาหมู่บ้าน 1 หมู่บ้าน (ม. 5) - ประปาภูมิภาค 5 หมู่บ้าน (ม.1,2,3,4และ 6)

  8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 8.1 การนับถือศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีข้อมูลศาสนสถาน ดังนี้1. วัดแม่เปียะ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านแม่เปียะ 2. สำนักสงฆ์บ้านต้นปริง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 บ้านต้นปริง 8.2 ประเพณีและงานประจำปี องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง มีประเพณีที่สืบต่อกันมา คือ ประเพณีวันสารทเดือนสิบ ประเพณีชักพระ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ประเพณีลอยกระทง และประเพณีสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ
    8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ใช้ภาษาใต้เป็นภาษาหลักและถือเป็นภาษาประจำถิ่น ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นยังมีประชาชนที่มีความรู้ ความสามารถ ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งเป็นความรู้ที่สามารถปรับให้เข้ากับยุคสมัยและสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีนักปราชญ์ต้นแบบอยู่หลายด้าน ที่โดดเด่น ได้แก่ ภูมิปัญญาเล่นมโนรา เล่นหนังตลุง

  9. การวิเคราะห์ปัญหา (SWOT) ในชุมชน 9.1 จุดแข็ง (Srength) จุดอ่อน (Weakness) 1. มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ที่สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ เช่น น้ำตกโตนลาด ป่าสงวนแห่งชาติ 2. ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง 3. ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกร (ยางพารา) ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ 4.ทรัพยากรบุคคลในพื้นที่มีความพร้อม และมีศักยภาพเพียงพอที่รองรับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งส่วนของภาครัฐและเอกชน 5. ผู้นำทองถิ่น ผู้นำชุมชน และผู้นำองค์กร/มวลชน มีความรู้ความสามารถ 6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีกฎหมายรองรับการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ 7. มีการให้ความร่วมมือระหว่างภาคผู้นำ หน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่มีสส่วนร่วม 9.2 จุดอ่อน (Weakness) 1. งบประมาณมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการกิจกรรม 2. โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา โทรคมนาคม และอื่น ๆ ยังมีไม่ครบถ้วนทั่วถึงต่อจำนวนครัวเรือนที่มีอยู่ 3. บุคลากรขององค์กรในการปฏิบัติงานมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการพัฒนาในแต่ละด้าน 4. ยังมีปัญหาขยะมูลฝอยที่ไม่ได้รับการแก้ไข 5. บุคลากรของอบต. ขาดการพัฒนาความรู้และทักษะในการทำงาน 6. อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ภายในสำนักงาน อบต. มีไม่เพียงพอต่อจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานและไม่ทันสมัย เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน 7. หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความร่วมมือน้อยในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมส่วนร่วมประชาชน และขาดการประสานงาน 9.3 โอกาส (Opportunities) อุปสรรค (Threats) 1. ราคาผลผลิตทางการเกษตรไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับภาวะทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และเกษตรกรไม่สามารถเป็นผู้กำหนดราคาสินค้าได้เอง 2. แหล่งกักเก็บน้ำสาธารณะไม่เพียงพอ ทำให้ช่วงฤดูแล้ง เกิดภาวการณ์ขาดแคลนน้ำที่ใช้สำหรับการอุปโภค บริโภค และการนเกษตร 3. ประชาชนยังขาดจิตสำนึกในการตระหนักถึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่รู้สึกหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่า ที่ท้องถิ่นตนเองมีอยู่ 4. ปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ ได้แก่ เขตสงวนแห่งชาติป่าเขาเหรง 5.การจัดเก็บรายได้ยังขาดประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากประชาชนผู้มีหน้าที่ยังไม่เข้าใจหน้าที่ของตนเอง จึงมีการหลบเลี่ยงภาษี 6.ปัญหาเรื่องยาเสพติดในเยาวชน ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง จากทุกภาคส่วน จากประชาชนในพื้นที่ และหน่วยงานด้านความมั่นคงและสงบเรียบร้อย 7. เยาวชนรุ่นใหม่ให้ความสนใจต่อการเมือง การปกครอง น้อย 8. ปัญหาอุทกภัยและวาตภัยในพื้นที

stars
ข้อมูลกองทุน

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง มีคณะกรรมการ ที่ปรึกษากองทุน รวม 20 คน ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ที่ 5/2562 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ดังนี้ 1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนาหม่อม ที่ปรึกษา 2. สาธารณสุขอำเภอนาหม่อม ที่ปรึกษา 3. ท้องถิ่นอำเภอนาหม่อม ที่ปรึกษา 4. นายบำรุง พรหมเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง ประธานกรรมการ 5. นายมนัส ขวัญมณี ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ 6. นางละมัย กูลเกื้อ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ 7. นายประพันธ์ แซ่เตี้ยว สมาชิกสภาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ 8. นายนิพล จินดารัตน์ สมาชิกสภาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ 9. นายธีระศักดิ์ กั้งเหล้ง ผอ.รพ.สต.บ้านแม่เปียะ กรรมการ 10. นางแนบ นวลสุวรรณ อาสาสมัครสาธารณสุข กรรมการ 11. นางอำไพ กองสวัสดิ์ อาสาสมัครสาธารณสุข กรรมการ 12. นายจำลอง ขุนเพ็ชร กำนันตำบลคลองหรัง กรรมการ 13. นายสงบ สมศรี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 กรรมการ 14. นายสุธา สมนวล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 กรรมการ 15. นายสงวน อินทชัย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 กรรมการ 16. นายเขียน บุญผล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 กรรมการ 17. นายประวิทย์ ศิริสมบัติ ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน กรรมการ 18. นายธีรศักดิ์ แสงทอง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง กรรมการ/เลขานุการ 19. นางสาวอรทัย อวะภาค ผู้อำนวยการกองคลัง กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ 20. นางคณิศร แสงสุวรรณ หัวหน้าสำนักปลัด กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...