กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2561 - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งหมอ

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งหมอ
ประจำปีงบประมาณ 2561

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ ลักษณะที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ ตั้งอยู่เลขที่ 99/9 หมู่ที่ 1 ถนนคลองรำ -คลองลึก ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ระยะทางห่างจากอำเภอ 31 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง30 นาที ห่างจากจังหวัด 70 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากตำบลทุ่งหมอถึงอำเภอสะเดา 1 ชั่วโมง 30 นาทีมีพื้นที่ทั้งหมด 86.26 ตารางกิโลเมตรคิดเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 53,897 ไร่ ทิศเหนือ จดตำบลคลองหอยโข่ง และ ตำบลท่าโพธิ์ ทิศใต้ จด ตำบลปริก และ ตำบลปาดังเบซาร์ ทิศตะวันออก จด ตำบลท่าโพธิ์ ทิศตะวันตก จดตำบลปาดังเบซาร์ ลักษณะภูมิประเทศ - พื้นที่ราบ ร้อยละ79ของพื้นที่ทั้งหมด - ภูเขา ร้อยละ18ของพื้นที่ทั้งหมด - พื้นน้ำ ร้อยละ2ของพื้นที่ทั้งหมด - อื่น ๆร้อยละ1ของพื้นที่ทั้งหมด ลักษณะภูมิอากาศมี2ฤดูได้แก่ -ฤดูร้อนช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคมถึง เดือนพฤษภาคม -ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึง เดือนธันวาคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านแหล่งน้ำ *พื้นที่ตำบลทุ่งหมอมีแหล่งน้ำที่มีความสำคัญ จำนวน3สายได้แก่ - คลองรำใหญ่คลองรำนุ้ยและ คลองแก้ว ข้อมูลจำนวนประชากรในตำบลทุ่งหมอ

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนราษฏร (คน) ชาย (คน) หญิง (คน) รวมทั้งสิ้น (คน) 1 ทุ่งหมอ 396 432 474 906 2 คลองทราย 162 224 223 447 3 ต้นโก 66 91 92 183 4 คลองรำ 598 762 779 1,541 5 ท่าสะท้อน 314 458 460 918 6 บางกม 829 1,139 1,119 2,258 7 บางควาย 371 515 542 1,057 รวมทั้งสิ้น 2,736 3,621 3,689 7,310 ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ณวันที่ 14 กุมภาพันธ์พ.ศ.2560 2.ประมวลผลการวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของหมู่บ้าน จากการระดมความคิดเห็นระหว่างกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพคลองรำ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งได้นำประเด็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข จนสามารถสรุปและจัดลำดับความสำคัญด้านสุขภาพของตำบลทุ่งหมอ ดังนี้ ปัญหา สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ไข โครงการ 1.ไข้เลือดออก พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 1.โดนยุงกัด 2.มีแหล่งเพาะพันธ์ยุง 3.ได้รับเชื้อจากพื้นที่อื่น 1.ใส่ทรายอะเบท อาทิตย์ละครั้งเพื่อตัดวงจรชีวิตยุงลาย 2.ฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 3.นอนกางมุ้ง 4.อบรมให้ความรู้คนในชุมชน 5.ทำลายแหล่งเพราะพันธ์ยุง 1.ป้องกันโรคไข้เลือดออก 2.โครงการรณรงค์กำจัดยุงาลาย เพื่อป้องกันไข้เลือดออก 2.ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร พื้นที่ตำบลทุ่งหมอพบปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสูง 1.สื่อต่าง ๆเข้าถึงได้ง่าย และควบคุมยาก 2.พฤติกรรมของวัยรุ่นความอยากรู้อยากเห็น 3.สภาพปัญหาในครอบครัว 4 1.การอบรมให้ความรู้ วิธีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง โดยควรดำเนินการให้ครบทั้ง 3 กลุ่มได้แก่ เด็กนอกสถานศึกษา ผู้ปกครอง และคนในครอบครัว 1.โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม ปัญหา สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ไข โครงการ 3.โรคเบาหวาน ความดัน พื้นที่ตำบลทุ่งหมอมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน – ความดัน จำนวน 226ราย 1.พฤติกรรมการบริโภคไม่ถูกต้อง คือ บริโภคอาหารรสจัด ประเภท หวาน มัน เค็ม 2.ไม่ออกกำลังกาย 3.ภาวะเครียด 4.กรรมพันธุ์ 1.ให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ 2.ส่งเสริมการออกกำลังกาย 3.ตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองและค้นหาสภาพปัญหา 1.โครงการติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยง 4.ปัญหายาเสพติด กลุ่มวัยรุ่นพื้นที่ติดยาเสพติดจำนวนมาก 1.สิ่งแวดล้อม 2.ความอยากรู้อยากเห็น 3. 1.ส่งเสริมให้มีการใช้เวลาว่างโดยการออกกำลังกาย 2.ส่งเสริมอาชีพ 3.ป้องกันผู้เสพรายใหม่ 1.โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและลดนักเสพรายใหม่ 5.ความไม่ปลอดภัยในการขับขี่ ในพื้นที่เกิดอุบัติเหตุมีอุบัติเหตุประมาณเดือนละ 2 ครั้ง -เมาแล้วขับ -วัยรุ่นคึกคะนอง -ถนนมีสภาพชำรุด 1.ส่งเสริมให้สวมหมวกกันน้อค 2.ซ่อมแซมถนนให้อยู่สภาพดี 3.สร้างจิตสำนึก 4.ติดตั้งเครื่องหมายจราจรเพิ่ม 1.โครงการขับขี่ปลอดภัย
6.ปัญหาโภชนาการในเด็ก เด็กมีพัฒนาการที่ไม่สมวัย -เด็กไม่ได้รับประทานอาหารเช้า -การบริโภคอาหารไม่มีประโยชน์ 1.ให้ความรู้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับโภชนาการ 2.ทำข้อตกลงกับร้านค้าในโรงเรียนไม่ให้จำหน่ายอาหารที่ไม่มีประโยชน์ 1.โครงการอบรมให้ความรู้ กับ ผู้ปกครองและ ผู้ประกอบอาหารในโรงเรียน 7.พฤติกรรมสุขภาพ ไม่มีกิจกรรมออกกำลังกาย -ไม่มีแกนนำในการส่งเสริมการออกกำลังกาย สร้างแกนนำ 1.โครงการออกกำลังกายด้วยลีลาส 8.เด็กไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด - เด็กมีพัฒนาการช้าและสุขภาพไม่แข็งแรง ผู้ปกครองไม่มีเวลา และไม่ให้ความสำคัญ -ให้ความรู้กับผู้ปกครอง -กลุ่ม อสม.ตรวจคัดกรอง โครงการสุขภาพดี รับวัคซีนตามกำหนด 9.เด็กวัยเรียนเป็นโรคผิวหนัง /คัน เด็กนักเรียนเป็นเหาร้อยละ 48 1.การรักษาความสะอาดไม่ดี 2.ผู้ปกครองไม่เอาใจใส่ -ให้ความรู้กับผู้ปกครอง -ลงมือปฏิบัติพร้อมกันทั้งโรงเรียน และที่บ้าน โครงการเด็กไทยไร้เหา 10.เด็กวัยเรียนมีปัญหากับการมองเห็น เด็กมีภาวะสายตาสั้นเพิ่มขึ้น เด็กนักเรียนติดมือถือ /เท็บเล็ต ให้ความรู้กับผู้ปกครอง ส่งเสริมกิจกรรมในเวลาว่าง โครงการคัดกรองและช่วยเหลือความผิดปกติทางสายตา 11.กลุ่มประชาชน มีอัตราการเจ็บป่วยและเป็นโรคเพิ่มขึ้น รับสารเคมีสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน -ให้ความรู้
-ปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเอง โครงการครอบครัวพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี ลดโรคเพื่อสุขภาพ 12.การบริหารจัดการขยะ -เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค และยุงลาย -ไม่มีการจัดการขยะ จัดการอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ / การแปรรูขยะเป็นปุ๋ย หรือน้ำหมักชีวภาพ โครงการการจัดการขยะในชุมชน

stars
ข้อมูลกองทุน

 

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...