กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2566 - กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ
ประจำปีงบประมาณ 2566

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

ส่วนที่ 1

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

  1. ด้านกายภาพ

    1.1 ที่ตั้งของเทศบาลเมืองบ้านพรุ

    เทศบาลเมืองบ้านพรุ ตั้งอยู่ในตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดสงขลาประมาณ 38 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 965 กิโลเมตร มีพื้นที่ จำนวน 17.97 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้

    ทิศเหนือ    จดเทศบาลเมืองคอหงส์ ทิศใต้ จดเทศบาลตำบลบ้านไร่ ทิศตะวันออก จดเทศบาลตำบลบ้านไร่ ทิศตะวันตก    จดเทศบาลตำบลบ้านไร่
        และเทศบาลตำบลทุ่งลาน

    1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

      เทศบาลเมืองบ้านพรุตั้งอยู่ที่ราบ โดยทิศตะวันออกเป็นภูเขาเตี้ย ๆ แล้วค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางทิศตะวันตกจนจดคลองอู่ตะเภา และทิศใต้เป็นที่สูงแล้วค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางทิศเหนือ ซึ่งคลองอู่ตะเภาดังกล่าวจะไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา

      1.3 ลักษณะภูมิอากาศลักษณะภูมิอากาศเทศบาลเมืองบ้านพรุ มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน แบ่งเป็น 2 ฤดู คือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน แต่เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของเทศบาลเมืองบ้านพรุอยู่ใกล้ภูเขาและไม่ห่างจากทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทยฝั่งตะวันออกมากนัก รวมทั้งสภาพพื้นที่เป็นเขตป่าสวนยางทั่วไปทำให้สภาพอากาศไม่ร้อนจัด ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมกราคม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกชุกต่อเนื่องกันและโดยทั่วไปจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากเป็นบางช่วงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรวมตลอดปีประมาณ 2,268.8 มิลลิเมตร จำนวนวันที่ฝนตก 187 วัน ฝนตกมากที่สุดในช่วงเดือนตุลาคม วัดได้ประมาณ 27 มิลลิเมตร ฝนตกน้อยที่สุดในช่วงเดือนเมษายน วัดได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดทั้งปีประมาณ 22.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดทั้งปีประมาณ 35.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคมเฉลี่ย 21.2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดในเดือนมีนาคมเฉลี่ย 36.7 องศาเซลเซียส  ความชื้นสัมพัทธ์ทั้งปีต่ำสุดเฉลี่ยทั้งปี 55 % ความชื้นสัมพัทธ์ทั้งปีสูงสุดเฉลี่ย 95 %

1.4 ลักษณะของดิน ดินส่วนใหญ่เป็นลูกรังและดินร่วนปนทราย มีบางจุดที่เป็นดินเหนียวปนทราย มีการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุตามแผนที่ผังเมือง ดังนี้

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย พรุ 1 แห่ง สระน้ำ 1 แห่ง ลำคลอง 4 สาย อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง และฝาย 1 แห่ง แหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ คลองอู่ตะเภา คลองหมอ คลองหามนม คลองเมี๊ยะ      พรุค้างคาว  ปัจจุบันมีระบบประปาของการประปาส่วนภูมิภาค ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงใช้น้ำบาดาลสำหรับใช้อุปโภคบ้านละ 1 บ่อ โดยใช้เครื่องปั๊มน้ำสูบน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำใต้ดินเพราะมีสายน้ำไหลผ่านทำให้มีบริโภคอย่างสมบูรณ์

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้ ลักษณะป่าไม้ในเขตเทศบาลเป็นสวนยางพารา ป่าละเมาะและสวนผลไม้ซึ่งไม่ใช่ป่าไม้ตามความหมายป่าธรรมชาติ แต่เป็นพื้นที่สีเขียว ซึ่งยังมีอยู่ไม่มากนักบริเวณฝั่งตะวันออกของถนนกาญจนวนิช และบริเวณริมคลองอู่ตะเภา

  1. ด้านการเมือง/การปกครอง 2.1 เขตการปกครอง
    เทศบาลเมืองบ้านพรุมีพื้นที่ จำนวน 17.97 ตารางกิโลเมตร ได้กำหนดเขตชุมชนในพื้นที่เทศบาลออกเป็น 11 ชุมชน เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารการปกครองและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน  โดยคณะกรรมการชุมชนมาจากการสรรหาของชุมชนแต่ละเขต ประกอบด้วย คณะกรรมการ จำนวน 9 คน และที่ปรึกษาคณะกรรมการ จำนวน 5 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี ดังนี้

    1. ชุมชน เขต 1 มีพื้นที่ 1.51 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ประกอบด้วย ถนนราชพฤกษ์ , ถนนชงโค , ถนนภาษีเจริญ , ถนนภาษีเจริญ 1 , ถนนสันติวิถี , ถนนสันติวิถี 1 , ถนนสันติวิถี ซ.1 , ถนนสันติวิถี ซ.2 , ถนนสันติวิถี 2 , ถนนสันติวิถี 2 ซ.1 , ถนนสันติวิถี 2 ซ.2 , ถนนสราญราษฎร์ตั้งแต่บ้านเลขที่ 31 - 259 , ถนนสราญราษฎร์ ซ.1 , ถนนสราญราษฎร์ ซ.2 , ถนนสราญราษฎร์ซ.3 , ถนนสราญราษฎร์ ซ.4 , ถนนราษฎร์พัฒนา ฝั่งบ้านเลขที่คู่ 2 - 44 , ถนนราษฎร์พัฒนา2 ฝั่งบ้านเลขที่คู่ 58 – 66 ฝั่งบ้านเลขที่คี่ 39 - 57 , ถนนราษฎร์สามัคคี 1 ฝั่งบ้านเลขที่คู่ 108 - 122 ฝั่งบ้านเลขที่คี่ 99 - 135 , ถนนราษฎร์สามัคคี 2 ฝั่งบ้านเลขที่คู่ 36 - 60/1 ฝั่งบ้านเลขที่คี่ 29/2 - 43 , ถนนราษฎร์สามัคคี 3 ฝั่งบ้านเลขที่คู่ 2 - 72 และราษฎร์บูรณะ
    2. ชุมชน เขต 2 มีพื้นที่ 1.12 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ถนนราษฎร์สามัคคี , ถนนราษฎร์สามัคคี 1 ฝั่งบ้านเลขที่คู่ 2 – 106 ฝั่งบ้านเลขที่คี่ 1 – 97 , ถนนราษฎร์สามัคคี 2 ฝั่งบ้านเลขที่คู่ 2 – 34 ฝั่งบ้านเลขที่คี่ 1 – 29/1/2 , ถนนราษฎร์สามัคคี 3 ฝั่งบ้านเลขที่คี่ 1 – 57 , ถนนราษฎร์พัฒนา ฝั่งบ้านเลขที่คี่ , ถนนราษฎร์พัฒนา 2 ฝั่งบ้านเลขที่คู่ 2-56 ฝั่งบ้านเลขที่คี่ 1-57 , ถนนราษฎร์สร้างสรรค์ , ถนนศูนย์สาธิตการยาง , ถนนสกุลทองพัฒนา , ถนนแก้วหวาน , ถนนสราญราษฎร์ ตั้งแต่บ้านเลขที่ 1 - 29 , ถนนประชาสงเคราะห์ , ถนนเทพประชาเหนือ , ถนนเทพสถิตฝั่งบ้านเลขที่คู่ 28 – 82 ฝั่งบ้านเลขที่คี่  19 – 41/2 และถนนกาญจนวนิช ฝั่งบ้านเลขที่คู่ 150-160
    3. ชุมชน เขต 3 มีพื้นที่ 1.24 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ถนนบานบุรี , ถนนบานบุรี 2 , ถนนวโรราษฎร์ , ถนนเชื้อแก้วพัฒนา , ถนนประชาชื่น 1 , ถนนประชาชื่น 2 , ถนนลูกเสือ , ถนนบุญตรัตน์ , ถนนบุญตรัตน์ ซ.1 , ถนนเกษตรสุข , ถนนมณีโต 1 , ถนนมณีโต 2 , ถนนมณีโต 3 , ถนน  มณีโต 4 , ถนนกาญจนวนิชฝั่งบ้านเลขที่คู่ 162 - 372 , ถนนเทพประชาใต้ , ถนนเทพสถิตย์ ฝั่งบ้านเลขที่คู่  2 – 26 ฝั่งบ้านเลขที่คี่ 1 – 17 เทพสถิตย์ 1 , ถนนเทพสถิตย์ 2 , ถนนจันทร์ธนะ , ถนนหยงสตาร์ฝั่งคู่ตั้งแต่เลขที่ 22 ไปจดถนนลูกเสือ ฝั่งคี่ตั้งแต่เลขที่ 51 ไปจดถนนลูกเสือ
              4. ชุมชน เขต 4 มีพื้นที่ 1.75 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ถนนหยงสตาร์ ฝั่งบ้านเลขที่คู่ 2-20 ฝั่งบ้านเลขที่คี่ 1-49/17 ,ถนนเพียรธรรม , ถนนผดุงศิลป์ , ถนนพิพัฒน์อุทิศ , ถนนวิมลอุทิศ , ถนนจากจร , ถนนบ้านพรุธานีฝั่งบ้านเลขที่คู่ 2 - 134 ฝั่งบ้านเลขที่คี่ 1 - 133 , ถนนบ้านพรุธานี 6 , ถนนบ้านพรุธานี 8 , ถนนกาญจนวนิชฝั่งบ้านเลขที่คู่ 374 - 446
    4. ชุมชน เขต 5 มีพื้นที่ 2.80 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ถนนโปะหมอพัฒนา ฝั่งคู่ตั้งแต่เลขที่ 104 ไปจดถนนศรีประทุมฝั่งคี่ตั้งแต่เลขที่ 77 ไปจดถนนศรีประทุม , ถนนโปะหมอพัฒนา 1 , ถนนโปะหมอพัฒนา 3 , ถนนโปะหมอพัฒนา 4 , ถนนโปะหมอพัฒนา 5 , ถนนโปะหมอพัฒนา 6 , ถนนอำไพไชยโชคอุทิศ , ถนนประชาอุทิศ , ถนนรักษ์พรุ , ถนนรักษ์พรุ 1 , ถนนรักษ์พรุ 2 , ถนนรักษ์พรุ 3 , ถนนพรุค้างคาว และถนนศรีประทุมฝั่งบ้านเลขที่คู่ตั้งแต่เลขที่ 18 ไปทางทิศใต้จนสุดถนนฝั่งบ้านเลขที่คี่ตั้งแต่เลขที่ 25 ไปทางทิศใต้จนสุดถนนกาญจนวนิช ตั้งแต่ฝั่งบ้านเลขที่คี่ ตั้งแต่บ้านเลขที่ 754 ไปทางทิศใต้จนสุดเขตเทศบาลฯ
    5. ชุมชน เขต 6 มีพื้นที่ 1.72 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ถนนบ้านพรุธานีฝั่งคู่ตั้งแต่เลขที่ 188 ไปทางทิศตะวันตกจนสุดเขตเทศบาล ฝั่งคี่ตั้งแต่บ้านเลขที่ 217 ไปทางทิศตะวันตกจนสุดเขตเทศบาล , ถนนบ้านพรุธานี 17 , ถนนบ้านพรุธานี 18 , ถนนบ้านพรุธานี 19 , ถนนบ้านพรุธานี 20 , ถนนบ้านพรุธานี 21 , ถนนบ้านพรุธานี 22 , ถนนบ้านพรุธานี 23 , ถนนบ้านพรุธานี 27 , ถนนบางศาลาสามัคคี , ถนนบางศาลาสามัคคี 1 , ถนนสันติสุข , ถนนยอดอุทิศ, และถนนเชื่อมมิตร
    6. ชุมชน เขต 7 มีพื้นที่ 2.60 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ถนนกาญจนวนิช ฝั่งคู่ตั้งแต่เลขที่ 2 - 148 ฝั่งคี่ตั้งแต่เลขที่ 1 – 117/16 , ถนนหินผุดวัฒนา , ถนนดีเป็นธรรม , ถนน ส.ว.พ.1 , ถนน ส.ว.พ. 2 , ถนนรสวรรณ , ถนนกระแสดำเนิน 1 , ถนนกระแสดำเนิน 2 , ถนนสามมุก 1 , ถนนสามมุก 2 , ถนนเมืองบ้านพรุ 2 , ถนนเมืองบ้านพรุ 9 , ถนนเมืองบ้านพรุ 20 , ถนนเมืองบ้านพรุ 22 , ถนน ส.การาจน์ , ถนนกองทุนสงเคราะห์ , ถนนหัตถกรรม , ถนนศาลาราหู , ถนนบัวขาว , ถนนสายเอเชีย , ถนนเอเชีย 1 , ถนนเอเชีย 2 , ถนนเอเชีย 3 , ถนนชนแดน , ถนนถวัลย์ , ถนนชวนชื่น , ถนนคชรัตน์ , ถนนคชรัตน์ 1 , ถนนอาณาเขต , ถนนปักษาสวรรค์ 1 , ถนนปักษาสวรรค์ 2 , ถนนปักษาสวรรค์ 3 , ถนนชียุ่นปิ่นอุทิศ , และถนนชินวงศ์ประดิษฐ์
    7. ชุมชน เขต 8 มีพื้นที่ 1.05 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ถนนชุมแสง , ถนนชุมแสง 1 , ถนนชุมแสง 2 , ถนนชุมแสง 3 , ถนนชุมแสง 4 , ถนนชุมแสง 4 ซ.1, ถนนชุมแสง 4 ซ.2, ถนนชุมแสง 4 ซ.3 , ถนนชุมแสง 4 ซ.4 , ถนนชุมแสง 4 ซ.5 , ถนนชุมแสง 4 ซ.6 , ถนนชุมแสง 4 ซ.7 , ถนนชุมแสง 5 , ถนนชุมแสง 6 , ถนนชุมแสง 7 , ถนนชีวะเสรีชล , ถนนเทศบาลใหม่ , ถนนถนนสถานี, ถนนเมืองบ้านพรุ 31 , ถนนจันทร์ไชยพูล , ถนนคลองยาเหนือ ฝั่งคู่ตั้งแต่เลขที่ 2 – 48 ฝั่งคี่ตั้งแต่เลขที่ 1 – 119 , ถนนคลองยาเหนือ 3 , ถนนคลองยาเหนือ 3 , ถนนคลองยาเหนือ 5 , ถนนคลองยาเหนือ 7 , ถนนคลองยาเหนือ 9 , ถนนคลองยาเหนือ 11 , ถนนคลองยาเหนือ 13 , และถนนกาญจนวนิช ฝั่งคี่ตั้งแต่เลขที่ 119 – 345
    8. ชุมชน เขต 9 มีพื้นที่ 2.62 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ถนนโปะหมอพัฒนา ฝั่งคู่ตั้งแต่เลขที่ 2 – 70 ฝั่งคี่ตั้งงแต่เลขที่ 1 – 75/2, ถนนมุสลิมอุทิศ , ถนนมัสยิด , ถนนมัสยิด 1 , ถนนมัสยิด 2 , ถนนมัสยิด 3 , ถนนเออุทิศ , ถนนเมืองบ้านพรุ 47 , ถนนเมืองบ้านพรุ 53 , ถนนมุสลิมร่วมใจอุทิศ , ถนนมุสลิมร่วมใจอุทิศ 1 , ถนนมุสลิมร่วมใจอุทิศ 2 , ถนนมุสลิมร่วมใจอุทิศ 3 , ถนนมุสลิมร่วมใจอุทิศ 4 , ถนนคลองหมอ, ถนนฮกเต็กวิถี, และถนนกาญจนวนิช  ฝั่งคู่ตั้งแต่เลขที่ 448 – 752 ฝั่งคี่ตั้งแต่เลขที่ 433 ไปจนสุดเขตเทศบาล

    9. ชุมชน เขต 10 มีพื้นที่ 0.51 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ถนนบ้านพรุธานี ฝั่งคู่ตั้งแต่เลขที่ 136 – 186/21 (หมู่บ้านชมกรีนวิลล์) ฝั่งคี่ ตั่งแต่เลขที่ 135 – 197 , ถนนบ้านพรุธานี 10 , ถนนบ้านพรุธานี 12 , ถนนบ้านพรุธานี 14 , ถนนบ้านพรุธานี 16 , ถนนโปะหมอร่วมใจ 1, ถนนโปะหมอร่วมใจ 2 , ถนนร่วมใจ 1 , ถนนร่วมใจ 2 , ถนนร่วมใจ 3 , ถนนโปะหมอพัฒนาฝั่งคู่เลขที่ 72 -102 , ถนนโปะหมอพัฒนา 2 , และถนนศรีประทุม ฝั่งคู่ตั้งแต่เลขที่ 2 – 16 ฝั่งคี่ตั้งแต่เลขที่ 1 – 23

    10. ชุมชน เขต 11 มีพื้นที่ 1.05 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ถนนเมืองบ้านพรุ 37 , ถนนเมืองบ้านพรุ 41 , ถนนเมืองบ้านพรุ 43 , ถนนคลองยาใต้ , ถนนคลองยาใต้ 1 , ถนนคลองยาใต้ 2 , ถนนประชาร่มเย็น , ถนนคำรพบูรณะ , ถนนดีดี , ถนนแจ้วประชา , ถนนชมทุ่ง , ถนนคลองยาเหนือฝั่งคู่ตั้งแต่เลขที่ 50 ไปทางทิศใต้จนสุดเขตเทศบาล ฝั่งคี่ตั้งแต่เลขที่ 121 ไปทางทิศใต้จนสุดเขตเทศบาล , ถนนประชารักษ์อุทิศ และถนนกาญจนวนิช ฝั่งคี่ตั้งแต่เลขที่ 347 – 431

      เทศบาลแบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 3 เขต ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาล เขตละ 6 คน รวม18 คน
การเลือกตั้งนายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองบ้านพรุ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28มีนาคม 2564 มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรี จำนวน 13,650 คน คิดเป็นร้อยละ 7.81 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 19,276 คน และผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 13,586 คน คิดเป็นร้อยละ 71.38 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 19,033 คน ข้อมูลจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จากการเลือกตั้ง (ครั้งล่าสุด) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 24 มีนาคม 2562 จำนวน 14,290 คน คิดเป็นร้อยละ 74.9 จำนวนหน่วยเลือกตั้ง 27 หน่วย

  1. ประชากร 3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร จำนวนประชากรในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ จำนวนครัวเรือน และความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตร เปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ดังนี้
    2 จำนวนครัวเรือน 10,754 11,106 11,485 11,895 12,353 3 ประชากรต่างด้าว 1,500 - - - -

ที่มา : งานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลเมืองบ้านพรุ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563

3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

ที่มา : งานทะเบียนราษฎร์ เทศบาลเมืองบ้านพรุ ณ 31 ธันวาคม 2563

ข้อมูลประชากรเทศบาลเมืองบ้านพรุ ณ สิ้นปี พ.ศ. 2563 ทำให้ทราบถึงจำนวนประชากรแต่ละช่วงอายุและเพศ และอัตราการพึ่งพิงได้แก่สัดส่วนระหว่าง เด็กทารก 0 - 1 ปี และเด็กอายุ 2 - 14 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กับประชากรวัยแรงงาน 15 – 59 ปี (ประชากรอายุ    15 – 24 ปี ประชากรที่ไม่ได้ศึกษาต่อมักจะเข้าสู่ภาคแรงงาน)
ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2564) อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุ จำนวนเด็กที่พึ่งพิงวัยทำงาน คิดเป็น  ร้อยละ 27.97 จำนวนผู้สูงอายุที่พึงพิงวัยทำงาน คิดเป็นร้อยละ 21.79 อัตราส่วนพึ่งพิงทางอายุของเทศบาลเมืองบ้านพรุ คิดเป็นร้อยละ 49.58 ภารกิจที่สำคัญที่จะต้องพัฒนาได้แก่ด้านพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านการศึกษาและด้านสาธารณสุข ประชากรสูงวัยคิดเป็น ร้อยละ 14.57 ของประชากรทั้งหมด ปัจจุบันได้เข้าสู่สังคมสูงวัยแล้วและคาดว่าระยะไม่เกิน 10 ปี (พ.ศ. 2575) จะเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ โดยประชากรสูงวัยมากกว่า ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ภารกิจที่สำคัญที่จะต้องพัฒนา ได้แก่ การสวัสดิการสังคม สาธารณสุข และการส่งเสริมอาชีพพัฒนารายได้ให้แก่ประชาชน

  1. สภาพทางสังคม 4.1 การศึกษา ในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ มีสถานศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียน ระดับประถมศึกษา  ระดับมัธยมศึกษา มีทั้งโรงเรียนในสังกัดรัฐบาลและเอกชน โดยมีสถานศึกษาที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ ดังนี้
  2. โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 ระดับการศึกษา มัธยมต้นและมัธยมปลาย
  3. โรงเรียนบ้านโปะหมอ (พรหมเทพราษฏร์บำรุง) ระดับการศึกษา อนุบาล และประถมศึกษา
  4. โรงเรียนวัดเทพชุมนุม ระดับการศึกษา อนุบาล และประถมศึกษา
  5. โรงเรียนกิตติวิทย์บ้านพรุ (โรงเรียนเอกชน) ระดับการศึกษา อนุบาล ประถมศึกษามัธยมต้นและมัธยมปลาย         5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองบ้านพรุมีทั้งหมด 4 ศูนย์ ระดับการศึกษา ก่อนวัยเรียน
      4.2 สาธารณสุข
        - คลินิกเอกชน จำนวน  8  แห่ง
        - ร้านขายยา      จำนวน  11 แห่ง   - ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน  1  แห่ง
  • ผู้เข้ารับการรักษาในศูนย์บริการสาธารณสุขประมาณ 13,000 คน/ปี 17,000 ครั้ง/ปี
  • ประเภทการเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตามลำดับ ดังนี้   1) โรคระบบต่อมไร้ท่อ
      2) โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด   3) โรคระบบทางเดินหายใจ
      4) โรคระบบกล้ามเนื้อ   5) โรคระบบทางเดินอาหาร
      6) โรคผิวหนัง
      4.3 การสังคมสงเคราะห์   1. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลเมืองบ้านพรุ เทศบาลได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลเมืองบ้านพรุ โดยให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชน
        2. สวัสดิการเบี้ยยังชีพ เทศบาลได้จัดให้มีเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งประชาชนสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองบ้านพรุ     4.4 การกีฬาและนันทนาการ     - สนามกีฬาเอนกประสงค์  จำนวน 1 แห่ง (สนามกีฬาเมืองหลักภาคใต้พรุค้างคาว)     - ลานกีฬา          จำนวน 1 แห่ง     - สนามฟุตบอล      จำนวน 4 แห่ง     - สนามฟุตบอลหญ้าเทียม      จำนวน 1 แห่ง     - สระว่ายน้ำ          จำนวน 2 แห่ง     - สวนสาธารณะ        จำนวน 1 แห่ง (สวนสาธารณะพรุค้างคาว)

    4.5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองบ้านพรุ มีหน่วยงานที่อำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จำนวน 4 หน่วยงาน ดังนี้ 1.งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลเมืองบ้านพรุ ตั้งอยู่บริเวณสำนักงานเทศบาลเมืองบ้านพรุ ถนนเทศบาลใหม่ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีหน้าที่ป้องกันบรรเทาและระงับสาธารณภัยต่าง ๆ มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ 21 คน จำแนกเป็นพนักงานเทศบาลสามัญ 1 คน ลูกจ้างประจำ 2 คน พนักงานจ้างตามภารกิจ 13 คน และพนักงานจ้างทั่วไป 5 คน
    1.1 เครื่องมือเครื่องใช้

    • รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คัน มีความจุน้ำ 2.5 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ 18 พฤษภาคม 2536 ราคา 1,231,000 บาท   - รถบรรทุกน้ำดับเพลิง 6 ล้อ จำนวน 1 คัน มีความจุน้ำ 8 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ 1 ตุลาคม 2558 ราคา 3,481,800 บาท
    • รถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน  3 คัน แยกเป็น คันที่ 1 จุน้ำได้ 5  ลบ.ม. ซื้อเมื่อ 28 เมษายน 2535  ราคา  987,777 บาท คันที่ 2 จุน้ำได้ 5  ลบ.ม. ซื้อเมื่อ 18 พฤษภาคม 2536 ราคา  919,000 บาท คันที่ 3 จุน้ำได้ 12 ลบ.ม. ซื้อเมื่อ 9 สิงหาคม 2548  ราคา 2,399,000 บาท
    • เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม  จำนวน    2 เครื่อง         -เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์  จำนวน    3 ลำ         -เรือท้องแบนธรรมดา      จำนวน    8 ลำ       1.3 อัตรากำลังเจ้าหน้าที่  จำนวน  21 คน
            1.4 อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายผลเรือน จำนวน  300 คน     1.5 วิทยุสื่อสาร ชนิดติดตั้งประจำสำนักงาน จำนวน 2 เครื่อง ชนิดติดตั้งประจำรถยนต์  6 เครื่อง และชนิดเคลื่อนที่ จำนวน 15 เครื่อง   1.6 ในรอบปีที่ผ่านมามีการปฏิบัติหน้าที่ระงับอัคคีภัย จำนวน 20 ครั้ง
    1. จุดบริการประชาชนตำบลบ้านพรุสถานีตำรวจภูธรทุ่งลุง (ป้อมตำรวจบ้านพรุ) ตั้งอยู่บริเวณ สี่แยกถนนบ้านพรุธานี เลขที่ 438 ถนนกาญจนวนิช ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นจุดให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านพรุ
    2. ศูนย์ประสานงานสมาชิก อปพร. ตั้งอยู่ที่งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหน้าที่สนับสนุนช่วยเหลือราชการในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
    3. กู้ชีพบ้านพรุ ตั้งอยู่ 5 ถนนจันทร์ไชยพูล (ถนนหลังวัดพระบาท) ตำบลบ้านพรุ  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยฉุกเฉิน         5. อส.ชุมชน เป็นองค์กรอาสาสมัครของประชาชนเขตการปกครองต่าง ๆ ของเทศบาล ที่ได้ร่วมกันรักษาความปลอดภัยในชุมชน ในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน
              6. ชุดปฏิบัติการบูรพา กองร้อย อส.อ.หาดใหญ่ที่ 4 ตั้งอยู่ที่ถนนสราญราษฎร์ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีหน้าที่ รักษาความสงบเรียบร้อยภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ

  1. ระบบบริการพื้นฐาน 5.1 การคมนาคมขนส่ง   เส้นทางคมนาคมหลัก ๆ ในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ ซึ่งเป็นเส้นทางติดต่อกับอำเภอใกล้เคียง ได้แก่ ถนนกาญจนวนิช หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (กรุงเทพฯ – คลองพรวน) เป็นเส้นทางสายหลักเชื่อมระหว่างอำเภอหาดใหญ่มุ่งสู่ประเทศมาเลเซีย ที่ด่านพรมแดนด่านนอก และ ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์
    ถนนเอเชีย หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 (บ้านคูหา - จะนะ) เป็นถนนที่ผ่านทางทิศเหนือสุดของเขตเทศบาลเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเทศบาลเมืองบ้านพรุกับเทศบาลเมืองคอหงส์ ถนนสายโปะหมอ – บ้านท่าหรั่ง (ถนนบ้านพรุธานี)  เป็นถนนที่เชื่อมเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุกับเขตอำเภอคลองหอยโข่งซึ่งสามารถใช้เป็นทางลัดไปสู่สนามบินนานาชาติหาดใหญ่ได้อีกเส้นทางหนึ่ง ถนนสราญราษฎร์ – ถนนพลพิชัย เป็นถนนที่เชื่อมเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุกับเทศบาลเมืองคอหงส์ และเทศบาลนครหาดใหญ่ ใช้เป็นเส้นทางลัดผ่านมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และเทศบาลนครหาดใหญ่   จำนวนถนนซอยภายในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ

  ประเภท  จำนวนสาย  ถนนยาว (กม.)   1. ถนน คสล.    125        72.97   2. ถนนลาดยาง  15        20.00   3. ถนนดินลูกรัง  12        4.91           รวม 152 97.88

ที่มา : ข้อมูลทะเบียนถนน กองช่าง ปีงบประมาณ 2564 ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2564

    5.2 การไฟฟ้า
    เทศบาลเมืองบ้านพรุ มีครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าประมาณ 12,000 ครัวเรือน และตามถนนสาธารณะเทศบาลก็ได้จัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะอย่างเพียงพอ โดยมีไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมถนนสายหลักทุกสาย จำนวน 147 สาย รวมจำนวน 3,500 จุด สำหรับถนนบางจุดที่ยังบริการไปไม่ถึงเทศบาลมีนโยบายที่จะจัดให้มีอย่างทั่วถึง 5.3 การประปา
ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำสำหรับอุปโภคบริโภคจากการขุดเจาะบ่อบาดาล ซึ่งเป็นการนำน้ำใต้ดินมาใช้ เนื่องจากมีน้ำตลอดทั้งปีจึงไม่มีความเดือดร้อนมากนัก ยกเว้นทางทิศตะวันออกของถนนกาญจนวนิช ซึ่งพื้นที่เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ จึงมีปัญหาการขาดน้ำบ้างในฤดูแล้ง แต่มีชุมชนอยู่ไม่หนาแน่นมากนัก จากข้อมูลการใช้น้ำประปา ประจำปี พ.ศ. 2564 (เดือนกรกฎาคม 2564) ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุที่ใช้น้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค หาดใหญ่ จำนวน 5,908 หลังคาเรือน พื้นที่ให้บริการน้ำประปาในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ กปภ. สาขาหาดใหญ่ (พ.) จำนวน 80 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย 3 เดือน รวม 112,700 ลูกบาศก์เมตร/เดือน โดยใช้แหล่งน้ำดิบ สำหรับผลิตน้ำประปา คือ แหล่งน้ำผิวดินจากคลองอู่ตะเภา นอกจากนี้ประชาชนในเขตการปกครองที่ 6 (บ้านบางศาลา) ใช้น้ำจากประปาหมู่บ้าน
5.4 โทรศัพท์
ในเขตเทศบาลมีการใช้บริการโทรศัพท์จากบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งอยู่ในพื้นที่บริการของศูนย์บริการลูกค้า ทศท. สาขานาหม่อม และบริษัท TT&T นอกจากนี้ยังมีบริการโทรศัพท์สาธารณะตลอดจนประชาชนได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่ายต่าง ๆ อย่างแพร่หลายอีกด้วยซึ่งทำให้การติดต่อสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ไปรษณีย์ ในเขตเทศบาลมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขบ้านพรุ ตั้งอยู่บริเวณถนนกาญจนวนิช
สถานีวิทยุ มีสถานีวิทยุกระจายเสียงพิทักษ์สินติราษฎร์ (ส.ว.พ.) สงขลา ระบบ A.47 ความถี่ 1098 kHz กำลังส่ง 10 kW  ที่ตั้ง ถนน ส.ว.พ. 2 เทศบาลเมืองบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่  สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทรศัพท์/โทรสาร 0-7421-0444
หน่วยงานที่มีเครือข่ายวิทยุสื่อสารในพื้นที่ ได้แก่ อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน และระบบกระจายเสียงของเทศบาล ปัจจุบันกระจายเสียง 2 ระบบ คือ 1. ระบบกระจายเสียงตามสาย โดยมีจุดกำเนิดเสียงจากห้องส่งเทศบาลผ่านสายไปตามจุดต่าง ๆ
2. ระบบกระจายเสียงแบบไร้สาย สามารถ เปิด – ปิดอัตโนมัติโดยผ่านสัญญาณตัวแม่จากห้องส่งเทศบาลมี คือ ใช้คลื่นความถี่ 420.200 MHz ทำการออกอากาศผ่านระบบตัวแม่ที่ห้องส่งเทศบาล ไปยังตัวรับจุดต่างๆ ในชุมชน ซึ่งมีความถี่เดียวกัน
  เวลาออกอากาศ วันจันทร์-วันศุกร์
ช่วงเวลาเช้า เวลา 06.30 น. – 07.00 น. ช่วงเวลาเย็น เวลา 17.00 น. – 17.30 น.
เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่สามารถกระจายเสียงได้ในภาวะฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือมีเหตุจำเป็นต้องแจ้งให้ประชาชนทราบ   6. ระบบเศรษฐกิจ ลักษณะพื้นที่ของเทศบาลเมืองบ้านพรุ เป็นที่ราบลุ่มจึงเหมาะสำหรับการประกอบเกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน ประชากรส่วนใหญ่จึงมีอาชีพ ทำไร่ ทำสวน โดยที่เทศบาลเมืองบ้านพรุ    มีพื้นที่ต่อเนื่องกับเทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจ จึงมีประชากรบางส่วนประกอบอาชีพ ประกอบการค้าและรับจ้างรองลงมา จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562 จังหวัดสงขลา สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายได้ของครัวเรือน ปี 2562 พบว่า ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,781 บาท ส่วนใหญ่เป็นรายได้จาก
  (1) การทำงานร้อยละ 71.5 ได้แก่ ค่าจ้าง และเงินเดือน ร้อยละ 43.0 , กำไรสุทธิจากการทำธุรกิจร้อยละ 17.3 และกำไรสุทธิจากการทำการเกษตร ร้อยละ 11.2
  (2) รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน ร้อยละ 11.6 ได้แก่ เงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น
  (3) รายได้จากทรัพย์สิน ได้แก่ ค่าเช่าบ้าน ดอกเบี้ย ร้อยละ 0.8 (4) รายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน ได้แก่ สินค้าและบริการที่ได้มาโดยไม่ต้องซื้อ ร้อยละ 15.8 และ (5) รายได้ไม่จำเป็น (ที่เป็นตัวเงิน) ร้อยละ 0.3 ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ปี 2562 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยนเดือนละ 18,017 บาท จ่ายเป็น (1) ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบและแอลกอฮอล์ ร้อยละ 36.5 (2) ค่าที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งบ้านและใช้ในบ้าน ร้อยละ 20.9 (3) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและการเดินทาง ร้อยละ 14.2
  (4) ของใช้ส่วนบุคคล/เครื่องนุ่มห่ม/รองเท้า ร้อยละ 5.6
  (5) ค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร ร้อยละ 4.1   (6) ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ร้อยละ 1.7
  (7) ค่าเวชภัณฑ์/ค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ 1.2   (8) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมทางศาสนา ร้อยละ 0.8   (9) ค่าใช้จ่ายเพื่อการบันเทิง/การจัดงานพิธี ร้อยละ 0.4 และ   (10) ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค เช่น ค่าภาษี เงินบริจาค ของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่ง ร้อยละ 14.6 หนี้สินของครัวเรือน ปี 2562 มีครัวเรือนทั้งสิ้นประมาณ 464,807 ครัวเรือน พบว่า เป็นครัวเรือนที่มีหนี้สินประมาณ 156,245 ครัวเรือน หรือ ร้อยละ 33.6 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือน ร้อยละ 77.3 เป็นหนี้เพื่อทำการเกษตร ร้อยละ 15.9 ใช้ทำธุรกิจ ร้อยละ 6.6 และหนี้อื่น ๆ ร้อยละ 0.2 ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเนื่องจากมีพื้นที่ต่อเนื่องกับตัวเมืองหาดใหญ่ ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจ จึงมีประชากรบางส่วนประกอบการค้าและรับจ้าง 6.1 การเกษตร
ลักษณะพื้นที่ของเทศบาลเมืองบ้านพรุ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำสวนยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของพื้นที่ และสวนผลไม้
6.2 การท่องเที่ยว   1. สวนสาธารณะพรุค้างคาว เทศบาลเมืองบ้านพรุ พื้นที่ประมาณ 300 ไร่เศษ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนภายในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ และประชาชนทั่วไป รวมทั้งเป็นสถานที่จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
  2. ตลาดน้ำบ้านพรุ ตั้งอยู่ภายในสวนสาธารณะพรุค้างคาว เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และออกกำลังกายของประชาชนในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียง 6.3 การอุตสาหกรรม
ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีโรงงานทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก เช่น โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ โรงงานผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลม โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ผลิตถุงพลาสติก ผลิตภัณฑ์โฟม เป็นต้น 6.4 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ   1. การพาณิชย์

    ตารางแสดงจำนวนและประเภทธุรกิจการค้าและการบริการในพื้นที่

ที่ ประเภทธุรกิจการค้าและการบริการ จำนวน (แห่ง) 1. ธนาคาร 3 2. บริษัท 68 3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด 16 4. ร้านค้าต่าง ๆ 350 5. ร้านอาหาร 90 5. สถานีบริการน้ำมัน 4 6. ตลาดสด 4 รวม 535
          2. กลุ่มอาชีพ
กลุ่มอาชีพในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ ที่เป็นที่รู้จักและเป็นสินค้าโอท็อป ได้แก่ กลุ่มจักสานกระเป๋าเชือกมัดฟาง ตำบลบ้านพรุ กลุ่มร้อยลูกปัดมโนราห์ กลุ่มแม่บ้าน กศน.วัดพระบาท กลุ่มเครื่องแกงบ้านโปะหมอ  กลุ่มจักรสานเชือกพลาสติก กลุ่มผลิตปุ๋ยวัดชินวงศ์ประดิษฐ์ ศูนย์สงเคราะห์และการเรียนรู้แม่ชีนิวิมุตตินันอาศรม

  1. ด้านศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 7.1 การนับถือศาสนา ประชาชนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 85% นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ 14% และนับถือศาสนาอื่น ๆ ประมาณ 1% ศาสนสถานจำแนกตามศาสนา  ดังนี้ ศาสนสถานของศาสนาพุทธ
    สังกัดมหานิกาย
    1. วัดเทพชุมนุม 2. วัดชินวงศ์ประดิษฐาราม
      สังกัดธรรมยุติ
    2. วัดพระบาท 4. วัดปทุมธาราวาส
      ศาสนสถานของศาสนาอิสลาม
  2. มัสยิดดารุลฮูดา สุสานและฌาปนสถาน

    1. สุสานจีน จำนวน  2  แห่ง
        (มูลนิธิจงฮั้ว และ มูลนิธิท่งเชียเซียงตึ้ง)
    2. ฌาปนสถานประจำวัด จำนวน  4  แห่ง
    3. กุโบร์โปะหมอ จำนวน  2  แห่ง
    4. สุสานคาทอลิก จำนวน  1  แห่ง 7.2 ประเพณีและงานประจำปี ประเพณีที่สำคัญในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ ได้แก่  วันขึ้นปีใหม่ วันเด็กแห่งชาติ    วันสงกรานต์ วันสมโภชและถวายเทียนพรรษา วันลอยกระทง วันเมาลิด  วันฮารีรายอ วันเทศกาลถือศีลอดเดือนรอมฎอน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประเพณีท้องถิ่น เช่น วันว่าง การไหว้ตายาย ทำบุญเดือนสิบ ประเพณีส่วนบุคคล เช่น งานบวช งานแต่งงาน และประเพณีเกี่ยวกับศิลปะและการละเล่น เช่น การไหว้ครูหมอโนราห์  เป็นต้น
  3. ทรัพยากรธรรมชาติ 8.1 แหล่งน้ำ ในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุ ปัจจุบันมีระบบประปาของการประปา    ส่วนภูมิภาค  ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงใช้น้ำบาดาลสำหรับใช้อุปโภคบ้านละ 1 บ่อ โดยใช้เครื่องปั๊มน้ำสูบน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำใต้ดินเพราะมีสายน้ำไหลผ่านทำให้มีบริโภคอย่างสมบูรณ์มีแหล่งน้ำที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย สระน้ำ 1 แห่ง (พรุค้างคาว) ลำคลอง 5 สาย ฝาย 1 แห่ง แหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ คลอง    อู่ตะเภา คลองหมอ คลองวัดพระบาท คลองหามนม คลองเมี๊ยะ และ พรุค้างคาว
    ปัญหาคุณภาพน้ำ ที่มีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง เนื่องจากในเขตเทศบาลมีสถานประกอบการประเภทโรงงาน ซึ่งการบำบัดน้ำเสียของโรงงานยังไม่ถูกสุขลักษณะ นอกจากนี้ยังมีความเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ค่อนข้างมาก โดยเปลี่ยนจากพื้นที่ทำการเกษตรเดิมไปเป็นบ้านจัดสรร ซึ่งมีการถมดินปิดทางน้ำ จนทำให้ทิศทางการไหลของน้ำเปลี่ยนไป ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
    8.2 การระบายน้ำ พื้นที่น้ำท่วมถึงภายในเขตเทศบาล จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย บ้านบางศาลา ทุ่งเค็ด และโปะหมอ ระยะเวลาที่น้ำท่วมขังนานที่สุด 7 วัน ท่อและการระบายน้ำ ความยาวทั้งสิ้น 72.57 กม. 8.3 ขยะมูลฝอย

  4. ปริมาณขยะ ประมาณ  25 - 30 ตัน/วัน
  5. รถยนต์และเครื่องจักรที่ใช้ในการรักษาความสะอาดและฝังกลบขยะมูลฝอย

- รถบรรทุกขยะ ขนาดความจุ 10 ลบ.หลา  จำนวน 5 คัน
-    รถบรรทุกขยะ ขนาดความจุ 8 ลบ.ม. จำนวน 3 คัน - รถบรรทุกขยะ ขนาดความจุ 3 ลบ.ม. จำนวน 2 คัน - รถบรรทุกน้ำ ขนาดความจุ 3,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
- รถขุดตีนตะขาบ จำนวน 1 คัน 3. พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย จำนวน 40 คน
4. ถังขยะจำนวน 2,500 ใบ ขยะที่เก็บขนได้ในพื้นที่ เฉลี่ย 25 - 30 ตัน/วัน
5. ขยะที่กำจัดได้ จำนวน 110 ตัน/วัน กำจัดโดยวิธีฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ 6. พื้นที่สำหรับกำจัดขยะ จำนวน 107 ไร่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่    จังหวัดสงขลา ห่างจากชุมชนเมืองเป็นระยะทาง 2.97 กม. ใช้พื้นที่ไปแล้ว 90% ของพื้นที่ทั้งหมด
7. การเก็บค่าธรรมเนียม กำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล - ขยะมูลฝอยจากท้องถิ่นอื่น ๆ จำนวน 300 บาท/ตัน
- เทศบาลตำบลบ้านไร่ จำนวน 120 บาท/ตัน - ตามเทศบัญญัติเทศบาลเมืองบ้านพรุ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 (หน้า 15)

  1. ปริมาณขยะมูลฝอยจากท้องถิ่นอื่น
      - เทศบาลเมืองคอหงส์ ปริมาณขยะเฉลี่ย 70 ตัน/วัน   - เทศบาลตำบลพะตง  ปริมาณขยะเฉลี่ย 9 ตัน/วัน   - เทศบาลตำบลบ้านไร่    ปริมาณขยะเฉลี่ย 6 ตัน/วัน   - องค์การบริหารส่วนตำบลพะตง ปริมาณขยะเฉลี่ย 3 ตัน/วัน
      - เทศบาลตำบลโคกม่วง ปริมาณขยะเฉลี่ย 1 ตัน/วัน   - เทศบาลตำบลทุ่งลาน    ปริมาณขยะเฉลี่ย 1 ตัน/วัน
    (ที่มา : กองช่าง ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564)

  2. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

    9.1 ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน

    เทศบาลได้กำหนดเขตชุมชนในพื้นที่เทศบาลออกเป็น 11 ชุมชน เพื่อประโยชน์ ในการบริหารจัดการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและปกครอง และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน แต่ละเขต โดยมีคณะกรรมการชุมชนที่มาจากการสรรหาของชุมชนแต่ละเขตประกอบด้วย คณะกรรมการ จำนวน 9 คน และที่ปรึกษาคณะกรรมการ จำนวน 5 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี
    9.2 ข้อมูลด้านการเกษตร ลักษณะพื้นที่ของเทศบาลเมืองบ้านพรุ แม้จะเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่มีพื้นที่ในการทำการเกษตรไม่มากนัก เนื่องจากได้พัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย เกษตรกรในพื้นที่ทำเกษตรในที่ดินซึ่งตั้งอยู่นอกเขตพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ เช่น ในเขตเทศบาลตำบลบ้านไร่ และอำเภอสะเดา เป็นต้น
    9.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร แหล่งน้ำสายหลักได้แก่คลองอู่ตะเภา และมีคลองสาขา ประกอบด้วย คลองหมอ,    คลองเมี๊ยะ, คลองหามนม, ฝายพระบาท และพรุค้างคาว 9.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค) ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำสำหรับอุปโภคบริโภคจากการขุดเจาะบ่อบาดาล ใช้น้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค หาดใหญ่ นอกจากนี้ประชาชนในเขตการปกครองที่ 6 (บ้านบางศาลา) ใช้น้ำจากประปาหมู่บ้าน

stars
ข้อมูลกองทุน

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองบ้านพรุ  ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...