กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2562 - กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว
ประจำปีงบประมาณ 2562

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
เทศบาลตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ตั้งอยู่ที่ Latitude 7.866576 Longitude 99.676354 (7°51'59.7"N 99°40'34.9"E) เป็นเทศบาลขนาดเล็ก ตั้งอยู่เลขที่ 55 หมู่ที่ 2 ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอห้วยยอด มีระยะทางห่างกันประมาณ 5 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวม 30,943.75 ไร่ หรือประมาณ 49.51 ตารางกิโลเมตร จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นเทศบาลตำบลท่างิ้ว ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556 โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ตำบลต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลหนองช้างแล่น ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของเทศบาลตำบลท่างิ้ว โดยทั่วไปจะเป็นที่ราบและภูเขา สามารถแยกได้ดังนี้ - พื้นที่ที่เป็นภูเขา จะอยู่ทางทิศตะวันออกของตำบล ซึ่งอยู่ในหมู่ที่ 1, 5, 7 พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาและป่าไม้ - พื้นที่ที่เป็นภูเขาจะอยู่กระจัดกระจายทั้งตำบล พื้นที่ส่วนใหญ่ประชาชนใช้ทำสวนยางพาราและทำนา 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง อยู่ภายใต้ อิทธิพลของลมมรสุมที่พัดผ่านประจำเป็นฤดูกาล 2 ชนิด คือ ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นลมเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย จังหวัดตรังซึ่งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันตกได้รับอิทธิพลของลมนี้จึงมีฝนตก เพียงเล็กน้อย และมีอากาศเย็น ลมมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดผ่านมหาสมุทรอินเดีย จึงพาเอาไอน้ำและความชุ่มชื้นมาสู่ประเทศไทย แต่เนื่องจากจังหวัดตรังอยู่ทางด้านรับลมจึงได้รับอิทธิพลจากลมนี้อย่างเต็ม ที่ จึงทำให้มีฝนตกชุกมากเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ทางตอนบนของประเทศ แต่ในภาคเดียวกันจังหวัดตรังมีฝนอยู่ในเกณฑ์แล้ง
ฤดูกาล ได้แก่ 1) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ระยะนี้เป็นช่วงว่างของฤดูมรสุม หลังจากสิ้นสุดฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว 2) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมร้อนและชื้นมากจากมหาสมุทรอินเดียพัดปกคลุมประเทศไทย 3) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะนี้จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปก คลุมประเทศไทย 1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การทำสวน 1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลาผ่านได้แก่ - คลองท่างิ้ว หมู่ที่ 1, 2, 7, 6
- คลองไสมะม่วง หมู่ที่ 3
- คลองมวน หมู่ที่ 4
- คลองโก หมู่ที่ 7
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ลักษณะป่าไม้เป็นป่าดิบชื้น
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลท่างิ้ว มีจำนวนหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาลตำบล เต็มหมู่บ้านทั้ง 8 หมู่บ้าน โดยแยกพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้ 1. บ้านท่างิ้ว 2. บ้านนาโพธิ์ 3. บ้านไสมะม่วง 4. บ้านปากห้วย 5. บ้านไทรงาม 6. บ้านทุ่งควน 7. บ้านหินงอม 8. บ้านเกาะยางแดง 2.2 การเลือกตั้ง
ประกอบด้วย 2 เขตได้แก่ เขตที่ 1 ได้แก่ หมู่ที่ 1, 2, 5, 7 เขตที่ 2 ได้แก่ หมู่ที่ 3, 4, 6, 8 3. ประชากร

stars
ข้อมูลกองทุน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๕๒ ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติและการให้บริการทางสาธารณสุขของรัฐ ต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพโดยจะต้องส่ง เสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน  มีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้”  และพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๕ มาตรา ๔๗ ระบุว่า  “ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม ตามความพร้อมความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ให้คณะกรรมการสนับสนุน และประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน”
การให้บริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จึงเป็นกลไกหลักที่ ตอบสนองต่อข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ และ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งต้องการการจัดการที่เข้มแข็ง ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ  จึงจะต้องมีการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้เข้มแข็งมากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อสร้างให้เกิดการบริการสุขภาพที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ และครอบคลุมการดูแลสุขภาพระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาสุขภาพประชาชนในที่สุด คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่างิ้วใช้แนวทางการบริหารงานโดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในด้านการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ และจากภาคประชาสังคม ในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ร่วมกัน ซึ่งในขณะนี้ทางคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่างิ้วได้ดำเนินงานมาครบรอบปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ทางคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่างิ้ว  จึงได้จัดทำสรุปผลการดำเนินงานประจำปีเพื่อเสนอต่อ สปสช. สาขาเขตพื้นที่ สปสช. จังหวัดสงขลา  และ เทศบาลตำบลท่างิ้ว ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสารสาธารณะต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบผลการดำเนินงานประจำปีของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่างิ้ว ต่อไป

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...