กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

นักเรียนในโรงเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีรู้จักการคัดแยกขยะ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปขยายผลต่อไปยังเพื่อนๆผู้ปกครอง และชุมชน ทำให้โรงเรียน สถานที่อยู่อาศัย และชุมชน มีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด และน่าอยู่ นักเรียนเห็นคุณค่าของขยะ การรีไซเคิล และการสร้างรายได้จากขยะต่อไปในอนาคต

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อสร้างควาใตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน 2.ลดมลพิษภายในโรงเรียน 3.นักเรียนเกิดแนวคิดที่ดีต่อการจัดการขยะ 4.เพื่อลดแหล่งกำเนิดโรคติดต่อจากยุงและหนู 5.เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน
ตัวชี้วัด : - สร้างความตระหนักและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเกิดกับนักเรียน ร้อยละ 100 - ลดมลพิษจากโรงเรียน รักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ร้อยละ 100 -นักเรียนเกิดแนวคิดที่ดีต่อการจัดการขยะ ร้อยละ 90
0.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 148
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 148
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะนับว่าเป็นปัญหาสำคัญมาทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่างๆมีมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะ ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย จนกระทั่งการกำจัดไม่สมดุลกับการเพิ่มขึ้น ของจำนวนขยะ ในแต่ละวันจะมีขยะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนนับร้อยล้านตัน แต่เราสามารถกำจัดขยะได้เพียงวันละไม่กี่สิบล้านตันเท่านั้น จึงมีขยะที่เหลือตกค้างรอการกำจัดอยู่จำนวนมาก แม้รัฐบาลจะมีพื้นที่ที่วางจัดไว้เพื่อรองรับขยะแต่ก็ไม่เพียงพอกับปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างปัญหาเป็นอย่างมากทั้งทางด้านทัศนวิสัย กลิ่น ความสะอาด ฯลฯ เกิดเป็นปัญหาขยะล้นเมือง ถึงแม้ว่าในปีนี้หนึ่งๆ ประเทศจะต้องเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากไปกับการจัดการด้านขยะ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากรัฐาบาลยังมีการบริหารการจัดการขยะยังไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับประชาชนในประเทศเองก็ยังขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะให้เป็นที่ การคัดแยกขยะก่อนทิ้ง รวมทั้งขาดความรู้เกี่ยวกับการนำขยะกลับมาใช้ใหม่เพราะพอได้ยินคำว่า ขยะ หลายๆคนก้ไม่สนใจ ละเลยและไม่เห็นคุณค่า ทั้งที่ขยะเหล่านั้นหากนำมาคัดแยกอย่าง๔ูกวิธีแล้วจะสร้างประโยชน์ได้ และยังสามารถนำกลับมาหมุนเวียนเข้ากระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นการประหยัดทรัพยากรและเงินงบประมาณแผ่นดินได้เป็นจำนวนมาก รวทั้งปริมาณขยะก็จะลดจำนวนลงได้มาก และที่สำคัญยังช่วยป้องกันโรคต่างๆซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนและคนในชุมชนต่อไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh