กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน โดยปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้บรรยายเรื่อง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โรคโควิด-19 และวิธีการป้องกันโรคโควิด-19 มาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ของจังหวัดตรัง และแนวทางการดำเนินงานตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน โดยวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง
  2. ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 จำนวน  50 คน ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน 42 ชุด ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ  90.4  มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 โดยมีผลการประเมินแต่ละด้านดังนี้

- ด้านวิทยากร และสื่อที่ใช้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.56 คิดเป็นร้อยละ 91.2
- ด้านความรู้ ความเข้าใจ และการนำไปใช้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 คิดเป็นร้อยละ 90.4
- ด้านสถานที่/ระยะเวลา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 คิดเป็นร้อยละ 90.4
- ภาพรวมของโครงการ  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.48 คิดเป็นร้อยละ 89.6
3. จัดกิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน โดยได้ดำเนินการคือ
3.1 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น ป้ายไวนิลความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ป้ายโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 3.2 อสม. /แกนนำสุขภาพชุมชน ลงพื้นที่รณรงค์เคาะประตูบ้าน โดยการวัดอุณหภูมิให้กับประชาชนในชุมชน และเน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 4. กิจกรรมติดตาม ค้นหากลุ่มเสี่ยง/ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ โดย อสม./แกนนำสุขภาพชุมชน
4.1 สำรวจ ค้นหา และขึ้นทะเบียนผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2564 จำนวน 70 ราย
4.2 ติดตามวัดอุณหภูมิ/เฝ้าระวังสังเกตอาการ ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมรายงานผลการเฝ้าระวังให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบ ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2564 ดังนี้ - ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง จำนวน 70 ราย - กลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19  จำนวน 22 ราย
จากการดำเนินงานพบว่าประชาชนในชุมชนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ได้รับการคัดกรอง/เฝ้าระวังโรคโควิด-19 ร้อยละ 100 4.3 จากการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2564 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 10 ราย
5. สรุปค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ ทั้งสิ้นจำนวน 20,730.- บาท ดังนี้ 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน
- ค่าสมนาคุณวิทยากร  เป็นเงิน  3,600 บาท - ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม  เป็นเงิน  3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน  เป็นเงิน  3,500 บาท - ค่าป้ายโครงการ 1 ผืน  เป็นเงิน    380 บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเงิน    500 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์/อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน  1,210 บาท 2. กิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 2 ผืน เป็นเงิน    600 บาท - ค่าโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ 3 แผ่น เป็นเงิน  1,050 บาท 3. กิจกรรมติดตาม ค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน - ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด 2 เครื่อง เป็นเงิน  5,000 บาท - ค่าเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ขนาด 500 มล. 5 ขวด เป็นเงิน    750 บาท
- ค่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 2 กล่อง เป็นเงิน    250 บาท - ค่าถุงมือทางการแพทย์ 1 กล่อง เป็นเงิน    180 บาท - ค่าเอกสารแบบคัดกรอง/ติดตาม และวัสดุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน    560 บาท - ค่าหน้ากาก FACE SHIELD 5 ชิ้น เป็นเงิน    150 บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรค โควิด-19
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนในชุมชน  มีความรู้  และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรค โควิด-19 (2) เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้/รณรงค์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh