กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ในการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ

กิจกรรม : โครงการส่งเสริมและบูรณาการการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ในการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ
วันที่ 01/09/2020 - 31/10/2021
งบประมาณที่ตั้งไว้ 37,100.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 0 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม :
ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสำคัญคือการเข้าสังคมสูงวัย (Aging Society) ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นคือประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completed Aged Society) โดยสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาตามคาดการณ์แล้วนั้นทั้งนี้ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ในปี พ.ศ. 2578 ซึ่งประชากรที่สูงอายุจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมดและเมื่อพิจาณาจำนวนผู้สูงอายุในรายจังหวัด (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) พบว่าจังหวัดนครราชสีมามีประชากรสูงอายุมากที่สุดคือ 423,934 คนนอกจากนี้จากข้อมูลการสำรวจการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี พ.ศ. 2558 ยังพบว่าผู้สูงอายุชาวไทยที่ทำงานมีสัดส่วนอยู่ร้อยละ 36.3 หรือคิดเป็นแรงงานสูงอายุจำนวน 3.78 ล้านคนทั้งนี้เมื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุพบว่ามีผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่ดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่นร้อยละ 79.5 โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปีมีผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นในบางกิจกรรมของกิจวัตรประจำวันร้อยละ 19 โดยส่วนใหญ่อยู่ในวัยมากกว่า 80 ปีและมีผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมดร้อยละ 1.5 โดยส่วนใหญ่อยู่ในวัยมากกว่า 80 ปีเห็นได้ว่าผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ยังเป็นผู้สูงอายุที่ยังมีความสามารถดำเนินชีวิตได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลหรือยังสามารถเป็นพลังของสังคมได้ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาความพร้อมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมในการดูแลสุขภาพของตนเองการเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันรวมถึงการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนต่อผู้สูงอายุทางคลินิกหมอครอบครัวประปาได้เห็นถึงความสำคัญด้านการดูแลวัยผู้สูงอายุตลอดมาจึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาและวางแผนการจัดบริการสุขภาพเพื่อให้เกิดต้นแบบงานบูรณาการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพต่อไป