โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดในพื้นที่ (โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-19) ประจำปี 2564
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดในพื้นที่ (โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-19) ประจำปี 2564 |
รหัสโครงการ | 64-L3009-05-14 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขฯ องค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ |
วันที่อนุมัติ | 14 พฤษภาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลรอแม มามะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลกอเดร์ การีนา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.845009,101.315683place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ในประเทศจีน เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น และต่อมาระบาดไปอีกหลายเมือง ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อในทุกมณฑล และยังพบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ทางการจีนรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 63,859 ราย เสียชีวิต 1,380 ราย และพบผู้ป่วยยืนยันนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ จำนวน 582 ราย รวมมีผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวน 67,088 ขณะนี้มีหลักฐานการติดต่อจากคนสู่คน พบผู้ป่วยยืนยันในผู้ที่ไม่มีประวัติการเดินทางไปประเทศจีน แต่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรค สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 33 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 14กุมภาพันธ์ 2563)
ด้วยสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด -19ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2564 จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด 19 จำนวนมากกว่าวันละ 3,000 คน ทำให้การจะรับรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำได้ ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและมีความจำเป็น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในต่างจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะมีการเคลื่อนย้าย ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิดสายพันธุ์แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด
อบต.ตำบลกะมิยอ รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในช่วงเดือนเมษายน ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีมีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้าง ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 2019 ในพื้นที่ตำบลกะมิยอ
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่อาจจะมีการแพร่ระบาดในพื้นทีองค์การบริหารส่วนตำบลกะมิยอ จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดในพื้นที่ (โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-19) เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และเฝ้าระวังควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเฝ้าระวังบุคคลกลุ่มเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 2019 ร้อยละ 100 ไม่มีประชาชนตำบลกะมิยอไม่ติดโรคโควิด 2019 |
0.00 | |
2 | เพื่อคัดกรองบุคคลที่เดินทางจากนอกพื้นที่ ร้อยละ 100 ได้คัดกรองกลุ่มเสี่ยง |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 500 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | |
2 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมเฝ้าระวังบุคคลกลุ่มเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 2019 ในพื้นที่ | 100 | 11,100.00 | - | ||
2 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เรื่องเกี่ยวกับวัคซีน | 100 | 1,800.00 | - | ||
2 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมลงพื้นที่ รณรงค์การฉีดวัคซีนในกลุ่มเปราะบาง | 100 | 800.00 | - | ||
2 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมให้ความรู้ผ่านรถกระจายเสียงในพื้นที่ตำบลกะมิยอ | 100 | 900.00 | - | ||
2 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 | กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดการศึกษาในสถานที่การศึกษาในสังกัดอบต.กะมิยอ | 100 | 5,400.00 | - |
- ประชุมชี้แจงนำเสนอโครงการ
- เสนอโครงการ
- ดำเนินการตามโครงการ
- กิจกรรมเฝ้าระวังบุคคลกลุ่มเสี่ยงและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 2019 ในพื้นที่ตำบลกะมิยอ
- กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เรื่องเกี่ยวกับวัคซีน
- กิจกรรมลงพื้นที่ รณรงค์การฉีดวัคซีนในกลุ่มเปราะบาง
- กิจกรรมให้ความรู้ผ่านรถกระจายเสียงในพื้นที่ตำบลกะมิยอ - กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดการศึกษาในสถานที่การศึกษาในสังกัดอบต.กะมิยอ - สรุปและประเมินผลโครงการ
- เกิดการเฝ้าระวังผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
- ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %
- ประชาชนในพื้นที่ตำบลกะมิยอฉีดวัคซีนครบ 100 %
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2564 15:29 น.