กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนยั่งยืน บ้านบางหยีรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 2564

สรุป โครงการชุมชนยั่งยืน บ้านบางหยีรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 256430 กันยายน 2564
30
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ดวงดาว อุปสิทธิ์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สรุป โครงการชุมชนยั่งยืน บ้านบางหยีรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 2564 ส่งกองทุนฯ อบต.บางกล่ำ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีสรุป โครงการชุมชนยั่งยืน บ้านบางหยีรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 2564 ส่งกองทุนฯ อบต.บางกล่ำ


สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

๑. ชื่อโครงการ โครงการชุมชนยั่งยืน บ้านบางหยีรวมพลัง ต่อต้านยาเสพติด ปี 2564 ๒. วัตถุประสงค์
1. เพื่อคัดกรอง และนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด โดยชุมชนมีส่วนร่วม 2. เพื่อให้ผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดหยุดเสพซ้ำต่อเนื่อง 3 เดือนหลังเข้าร่วมกิจกรรม 3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องพิษภัยจากยาเสพติด ๓. เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน 50 คน ในพื้นที่ บ้านบางหยี หมู่ 4 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ๔. สถานที่ดำเนินงาน พื้นที่ บ้านบางหยี หมู่ที่ 4 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ๕. วันที่จัดกิจกรรม มิถุนายน 2564 – กันยายน 2564 ๖. งบประมาณที่ได้รับอนุมัติรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 36,700 บาท งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 36,700 บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง 18,000 บาท
งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ 18,700 บาท
7. ผลการดำเนินงาน จากการดำเนินโครงการชุมชนยั่งยืนบ้านบางหยีรวมพลังต่อต้านยาเสพติด ปี 2564 โดยผ่านการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนบ้านบางหยีอย่างต่อเนื่อง โดยมีโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา อำเภอบางกล่ำ โรงพยาบาลบางกล่ำ สถานีตำรวจภูธรบางกล่ำ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางกล่ำ ผู้นำชุมชน ภาคประชาชน พัฒนาชุมชนอำเภอบางกล่ำ สถานศึกษา และผู้นำศาสนา ร่วมดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติด ชุมชนบ้านบางหยีในครั้งนี้ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ เกิดผลสัมฤทธิ์คุ้มค่ากับการใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ดังนี้

1)สามารถคัดกรองและนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด โดยชุมชนมีส่วนร่วม คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งมีวิธีการคัดกรองหลากหลายมิติ ทั้งการนำกลุ่มเป้าหมายสู่กระบวนการบำบัด การให้ข้อมูลแก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัด การตรวจปัสสาวะ การเอกซเรย์ (x-ray) พื้นที่ การสัมภาษณ์ตามเอกสารการคัดกรองโดยวิทยากรให้ความรู้

2)กลุ่มเป้าหมายใช้สารเสพติด ทั้งหมด 11 ราย สามารถหยุดเสพซ้ำต่อเนื่อง 3 เดือนหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 64 และไม่สามารถหยุดเสพได้จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 36

3)ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องพิษภัยยาเสพติด คิดเป็นร้อยละ 77


จึงสรุปได้ว่า จากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังที่กล่าวข้างต้น ผ่านกระบวนการคัดกรอง ทั้งการให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่/ชุมชน, การเอ๊กซเรย์ (x-ray) พื้นที่, การสัมภาษณ์ตามเอกสารการคัดกรอง, การตรวจปัสสาวะและคุมประพฤติส่งตัวมาบำบัด รวมไปถึงการเข้าร่วมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ค่ายเปิด) กระบวนการดังกล่าวทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับประโยชน์และตระหนักถึงภัยอันตรายมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องยาเสพติดทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ไม่ให้กลับไปเสพซ้ำอีกส่งผลให้เกิดความมั่นใจที่สามารถดำรงชีวิตที่ปกติได้โดยไม่ใช้สารเสพติดในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 64 รองลงมา ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 36


8. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด

8.1) การบรรลุตามวัตถุประสงค์
  บรรลุตามวัตถุประสงค์

8.2) จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ๕๐ คน


9.ข้อเสนอแนะและสิ่งที่คาดว่าจะดำเนินการต่อไป

1)การดูแลต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอหลังจบโครงการ เพื่อป้องกันการกลับไปเสพซ้ำและสามารถหยุดการใช้สารเสพติดได้อย่างถาวร
2)การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน มองเห็นปัญหาตระหนักถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติดที่มีผลกระทบต่อชุมชนและได้เรียนรู้กระบวนการแก้ไขปัญหาในชุมชน สามารถประสาน ส่งต่อ ติดตามดูแลโดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

3)การเสริมพลังและเสริมศักยภาพของประชาชน ในด้านการดูแลและแก้ปัญหายาเสพติดร่วมกันของประชาชนในชุมชนเป็นระยะเพื่อให้มีความรู้เท่าทันปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้น

4)ส่งเสริมเกี่ยวกับครอบครัวบำบัด

5)การพบปะกลุ่มเป้าหมายเพื่อทบทวนแรงจูงใจในการเลิกใช้สารเสพติดนั้นทิ้งช่วงห่างมากเกินไป
ควรพบปะพูดคุยเกี่ยวกับแรงจูงใจมากขึ้น เพื่อป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ

6)กระบวนการค้นหาผู้ป่วยทำได้ยากเนื่องจากครอบครัวยังไม่ตระหนักถึงข้อดีของการบำบัดรักษา

7)ทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมจะมีการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะทุกครั้งซึ่งมีความเสี่ยงที่ผู้เข้าร่วม โครงการนำปัสสาวะผู้อื่นมาส่ง

8)ผู้ที่มีปัญหายาเสพติดในชุมชนยังเข้าร่วมโครงการไม่หมด ส่งผลให้ยังมีการมั่วสุมในชุมชน

9)มีการทำกิจกรรมกลุ่มบำบัดต่อเนื่องทุกสัปดาห์ อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและอุปสรรคต่อการเลิกใช้สารเสพติดของกลุ่มเป้าหมาย

10)ส่งเสริมการทำกิจกรรมกับเยาวชนเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดในอนาคต


10. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
  ไม่มี
  มี

ปัญหา/อุปสรรค : การดำเนินโครงการช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีการจำกัดผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ   แนวทางการแก้ไข : มีการจำกัดจำนวนและคัดกรองโรคผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทุกครั้ง