กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีก เช่น โรควัณโรค เป็นต้น  และที่สำคัญยังมีโรคติดต่อที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาสร้างปัญหาและเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก คือ โรคเอดส์  โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009  เป็นต้น การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่ในหลายปีที่ผ่านมา นโยบายและการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทำให้ในปัจจุบันอาสาสมัครสาธารณสุข ขาดแรงจูงใจ ความมั่นใจ ทักษะ วิชาการและองค์ความรู้ใหม่ ในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขตามนโยบายและกิจกรรมที่แปรเปลี่ยนไป การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ทางชมรมอาสาสมัครธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 7 ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 7 ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ขึ้นเพื่อส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆ ในระดับพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.อสม.มีความรู้ัและทักษะในการปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขภาพฯ 2.เพิ่มพัฒนาศักยภาพของ อสม.
ตัวชี้วัด : 1.อสม.มีความรู้ทักษะในการปฏิบัติงานด้าน สธ. 2.อสม.มีศักยภาพในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ

 

2
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.อสม.มีความรู้ัและทักษะในการปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขภาพฯ 2.เพิ่มพัฒนาศักยภาพของ อสม. (2)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh