กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือระบาดเว้น2ปี สถานการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออกอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข ณ 2 พฤษภาคม 2560 พบว่ามีผู้ป่วยโรคติดต่อไข้เลือดออกทั้งหมด 9,229 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 14.11ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจำนวน 14 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.15 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคใต้มีอัตราป่วยสูงที่สุดเท่ากับ 58.54 ต่อประชากรแสนคน จํานวน ผู้ป่วย 5,415 รายรองลงมา ได้แก่ ภาคกลางอัตราป่วย 10.54 ต่อประชากรแสนคน จํานวน ผู้ป่วย 2,319 และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด  ในกลุ่มอายุ 10-14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 44.53 ต่อประชากรแสนคน แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี
จังหวัดสงขลาพบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมาเป็นอันดับ1 ของประเทศ ในปี2560 จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อสาธารณสุขจังหวัดสงขลา พบว่ามีผู้ป่วยโรคติดต่อไข้เลือดออกทั้งหมด 1,893 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 237.01 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.25 จากสำนักงานระบาดจังหวัดสงขลา ณ 2 พฤษภาคม 2560 และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด  ได้แก่  กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่  5 -24 ปี อยู่ที่ร้อยละ 55.22 ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม  การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยกิจกรรม  5 ส  เป็นกลยุทธ์อีกวิธีหนึ่งที่เน้นให้ประชาชนในชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชุมชน  กิจกรรมที่ทำแล้วเห็นผลเร็วและชัดเจน  จึงมีแนวคิดที่จะมีการดำเนินกิจกรรม 5 ส  ได้แก่  สะสาง  สะดวก  สะอาด  สุขลักษณะ และสร้างนิสัย  เพื่อสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือของประชาชน องค์กร หน่วยงานต่างๆ ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี จากข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ พบว่าในปี 2558 ผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 66.67 ต่อแสนประชากร ปี 2559 ผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด 7 ราย  คิดเป็นอัตราป่วย 66.67 ต่อแสนประชากร และ ปี 2560 ตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน 2560 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 38.1 ต่อแสนประชากร และจาการสำรวจลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เดือนมิถุนายน ปี 2560 จำนวน 287 หลังคาเรือน พบลูกน้ำยุงลาย 48 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 16.72 ดังนั้นทางชมรมพัฒนาสุขภาพ ตำบลระโนด จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง มุ่งป้องกันไข้เลือดออกและเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ 2.เพื่อลดอัตราป่วย 3.
ตัวชี้วัด : ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับในบ้านและบริเวณบ้าน อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 16

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ 2.เพื่อลดอัตราป่วย 3.

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh