กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการการขยะ แบบ 3Rs /สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน/การจัดการขยะแบบ 3Rs/ สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน

กิจกรรม : กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการการขยะ แบบ 3Rs /สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน/การจัดการขยะแบบ 3Rs/ สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน
วันที่ 06/12/2021 - 31/01/2022
งบประมาณที่ตั้งไว้ 33,000.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 90 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชน อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 อมรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะต้นทาง/การจัดการขยะแบบ
3Rs/สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะฝังดิน
- บรรยายให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะต้นทาง
- บรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะแบบ 3Rs
- สอน/สาธิตการคัดแยกขยะแต่ละประเภท
- สอน/สาธิตการคัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อการจำหน่าย
- สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีทำถังขยะอินทรีย์ฝังดิน
กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกรคัดแยกขยะในครัวเรือน ดังนี้
1. การจัดการขยะตามหลัก 3Rs
- Reduce คือ ลดการใช้ การรบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง ลดการก่อให้เกิดขยะ
- Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้ที่ยังใช้ประโยชน์ได้กลับมาใช้ซ้ำให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด
- Recycle คือ การนำสิ่งของที่ใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้วหรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นขยะ
นำไปจัดการด้านกระบวนการต่าง ๆ แล้วแปรรูปมาเป็นสิ่งใหม่ จากนั้นก็นำกลับมาใช้ใหม่
2. การคัดแยกขยะตามประเภทขยะ
- ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจาการรับประทาน และการประกอบอาหาร สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้ ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังเขียว เพื่อจะนำไปทำปุ๋ยหมัก
- ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำไปขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งจากปริมาณขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังเหลือง เพื่อจะถูกนำไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่
- ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล เช่น ซองบะหมี่สำเร็จรูป เปลือกลูกอม ถุงขนม ถุงพลาสติกขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีน้ำเงิน เพื่อจะถูกนำไปฝังกลบ
รอการย่อยสลาย
- ขยะพิษ หรือขยะมีพิษที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น กระป๋อง
ยาฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่ายไฟฉาย ขยะประเภทนี้ให้แยกใส่ถังสีแดง เพื่อจะนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
3. ป้ายรณรงค์ให้ความรู้การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีชุมชนละ 1ป้าย รวม 6 ชุมชน
4. ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะทุกประเภทอย่างถูกวิธี ตามช่องทาง
ต่าง ๆ เช่น เสียงตามสายทุกวัน เป็นต้น
5. ผู้ผ่านอบรมสามารถนำความรู้ไปสาธิตการถังขยะอินทรีย์ฝังดินในชุมชนและขยายเครือข่าย
การทำถังขยะเปียกครัวเรือนในชุมชนได้
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการการขยะ
แบบ 3Rs /สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน/การจัดการขยะแบบ 3Rs/
สาธิตการจัดการขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธีถังขยะอินทรีย์ฝังดิน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าป้ายโครงการขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 432.-บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25.-บาท จำนวน 90 คน
เป็นเงิน 4,500.-บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 50.-บาท จำนวน 90 คน เป็นเงิน
4,500.-บาท
4. ค่าอุปกรณ์สาธิต ประกอบการอบรม การทำถังขยะอินทรีย์ ฝังดิน จำนวน 120 ใบ ใบละ 70.-บาท เป็นเงิน 7,200.-บาท
5. เอกสารประกอบการอบรม จำนวน 90 ชุด ๆละ 15.-บาท เป็นเงิน 1,350.-บาท
6. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 300.-บาท เป็นเงิน
2,400.-บาท
7. กระเป๋าผ้าพร้อมสกรีน ข้อความ”รณรงค์การคัดแยกขยะต้นทาง ” จำนวน 90 ใบ
ใบ ๆ ละ 80.-บาท เป็นเงิน 7,200.-บาท
8. ค่าเช่าเต้นท์ จำนวน 2 หลัง ๆ ละ 1,000.-บาท เป็นเงิน 2,000.-บาท
8. ป้ายรณรงค์การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 6 ป้าย
ป้ายละ 432.-บาท เป็นเงิน 2,592.-บาท
9. ค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ปากกา เชือก ลวด กระดาษขาวเทา กระดาษบรูฟ เป็นต้น
เป็นเงิน 826.-บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 33,000.-บาท (-สามหมื่นสองพันบาทถ้วน-)